ประวัติคุณบุปผา สายชลสังเขป
ประวัติ
ชื่อจริง สงกรานต์ พยนต์เลิศ
ชื่อเล่น เล็ก
เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2490
ชลบุรี
เสียชีวิต 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (อายุ 43 ปี)
ชลบุรี
คู่สมรส ศรีไพร ใจพระ
สิงหา สุริยงค์
ชื่ออื่น บุปผา สายชล
อาชีพ นักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดง พ.ศ. 2508 - 2517
บุปผา สายชล (13 เมษายน พ.ศ. 2490 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชื่อดังในครั้งอดีตที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และนอกจากจะมีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมายหลายสิบเพลงแล้ว ก็ยังมีผลงานทางด้านการแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง
บุ ปผา สายชล มีชื่อจริงว่า สงกรานต์ พยนต์เลิศ เพราะเกิดในวันสงกรานต์ เมื่อ 13 เมษายน 2490 มีชื่อเล่นว่า “ เล็ก “ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 6 คนของนายสายพิณ พยนต์เลิศ และนางบุญมี พยนต์เลิศ บิดามารดาเป็นเจ้าของคณะลิเกชื่อ สายพิณวัฒนา และมีอาชีพทำนาอยู่ที่ ต.มาบโป่ง อ. พานทอง จ. ชลบุรี
บุปผา สายชล มีพี่น้อง 6 คนคือ
1. นายมงคล พยนต์เลิศ (ถึงแก่กรรม)
2. นางสงกรานต์ พยนต์เลิศ ( บุปผา สายชล / ถึงแก่กรรม)
3. นายสินพร พยนต์เลิศ
4. นายสัมพันธ์ พยนต์เลิศ (ถึงแก่กรรม)
5. นางโสภา พยนต์เลิศ (ปิ่นมณี)
6. นางณัฐวดี พยนต์เลิศ (จุลละบุษปะ)
เข้าสู่วงการ
บุปผา สายชล เล่นลิเกในคณะสายพิณวัฒนา ของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่จะรับบท กัณหา-ชาลี เล่นคู่กับพี่ชาย บุปผา สายชล ชื่นชอบการร้องเพลง เข้าสู่วงการด้วยการเป็นร้องร้องเชียร์รำวง ก่อนจะเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งเต็มตัวเมื่ออายุ 14 ปี จากการชักชวนของ สุชาติ เทียนทอง โดยได้มาอยู่กับวงจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล และได้มีโอกาสบันทึกเสียงเพลงแรกชื่อ “ แก้มนวล “ แก้กับเพลง “ หอมหวน “ ของโฆษิต นพคุณ ที่แต่งโดยชาย เมืองสิงห์ ทั้งสองเพลง แต่อาชีพการงานของเธอในวงจุฬารัตน์นั้นไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนัก เพราะการที่เธอไม่ค่อยมีโอกาสบันทึกเสียง ตอนที่ออกไปแสดงหน้าเวที ก็จึงต้องหยิบยืมเพลงของ ดวงใจ เมืองสิงห์ไปขับร้อง แต่ปรากฏว่าเธอร้องได้ดีกว่าเจ้าของเพลง ทำให้ชาย เมืองสิงห์ ไม่ค่อยกล้าป้อนเพลงให้
โด่งดัง
ระหว่าง นั้น เมื่อมีปัญหา เธอก็ได้หันหน้าไปปรึกษาหารือกับศรีไพร ใจพระ หรือเก่งกาจ จงใจพระในปัจจุบันบัน ซึ่งตอนนั้นเป็นโฆษกของวง จนกลายเป็นคู่รักกันในที่สุด ในที่สุด ศรีไพร ใจพระ ก็หอบหิ้ว บุปผาออกมาตั้งวงเองในปี 2508 ชื่อวง กระดิ่งทอง และหาวิธีผลักดันบุปผา สายชน ด้วยการให้ บุปผา สายชล มีโอกาสเล่นลิเก กับชาย เมืองสิงห์ แต่เมื่อเห็นว่าไม่มีหวังได้เพลงจากชาย เมืองสิงห์ ศรีไพร ใจพระ ก็หันไปขอเพลงจากครูไพบูลย์ บุตรขัน
จาก ที่เคยมีชื่อเสียงมาบ้างจากเพลงหวานอย่าง "แก้มนวล" ครูไพบูลย์ บุตรขัน เปลี่ยนทางให้บุปผา สายชล หันมาร้องเพลงแนวโฉบเฉี่ยวอย่างเพลง "รักคนแก่ดีกว่า" ซึ่งงานนี้ก็ไม่พลาดอีกเช่นกัน เมื่อเธอมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว จน รังสี ทัศนพยัคฆ์ ต้องนำเธอไปร่วมแสดงในภาพยนตร์หลายสิบเรื่อง เริ่มจาก "ชาติลำชี" และตามมาด้วย “ มนต์รักลูกทุ่ง “ อันลือลั่นในยุคขายนักร้องลูกทุ่ง และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้เธอโด่งดังมากขึ้นไปอีก เพราะได้บทดี และได้ร้องเพลงหลายเพลง
หลังการเสียชีวิตของมิตร ชัยบัญชา พระเอกภาพยนตร์ ระดับตำนานของฟ้าเมืองไทย ครูไพบูลย์ บุตรขัน ก็แต่งเพลง “ ยมบาลเจ้า ขา “ เพื่อปรับทุกข์เรื่องการที่คนดีตายเร็ว คนชั่วตายช้า และก็ไม่ผิดหวังอีก เมื่อเพลงดังระเบิด รวมแล้วเธอมีผลงานบันทึกเสียงราว 500 เพลง
ผลงานภาพยนตร์
* มนต์รักลูกทุ่ง
* แก้วกลางนา(2516)
* อำนาจเงิน(2516)
ปัญหาครอบครัว
ปี 2517 ชีวิตครอบครัวของบุปผา สายชล และ ศรีไพร ใจพระ เริ่มมีปัญหาก็เลยเลิกกัน ศรีไพร ใจพระ หันไปทำวงดนตรีหงษ์ทอง ดาวอุดร ส่วนบุปผา สายชล ก็มุ่งไปสู่วงการภาพยนตร์ และพบรักใหม่กับ สิงหา สุริยงค์ พระเอกภาพยนตร์ที่มีโอกาสร่วมงานกัน และมีบุตรกับสิงหา สุริยงค์ 1 คน ซึ่งก่อนหน้านี้มีบุตรกับ ศรีไพร ใจพระ 1 คน
ในปี 2524 บุปผา สายชล ที่ไม่มี ศรีไพร ใจพระผลักดัน ได้พยายามกลับเข้าสู่วงการลูกทุ่งอีกครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เสียชีวิต
บุ ปผา สายชล เสียชีวิต เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลเอกชล ชลบุรี เสียชีวิตในปีเดียวกับนางบุญมี พยนต์เลิศ คุณแม่ของเธอ ซึ่งเสียชีวิตในวันที่ 3 มกราคม 2533)
ปัจจุบัน สุรชัย สายชล ทายาทคนหนึ่งของบุปผา สายชล ก็ได้ผลิตผลงานลูกทุ่งตามรอยผู้เป็นมารดา แต่ไม่ได้รับความนิยมนัก
คัดลอกมาจาก วิถิพิเดีย สารานุกรมเสรี