ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 02:48:41 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: “ใช้ยาด้วยตนเอง” ผลร้ายเกินคาด  (อ่าน 3603 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongna
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 1731
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 589
สมาชิก ID: 1301


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 19 : Exp 68%
HP: 0%

สวัสดีค่ะ


« เมื่อ: กันยายน 08, 2011, 10:35:04 am »

“ใช้ยาด้วยตนเอง” ผลร้ายเกินคาด

        การ "ใช้ยาด้วยตนเอง"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการปฏิบัติกันทั่วไปซึ่งหลายคนทำจนเคยชินด้วยเห็นว่าสะดวก ประหยัดกว่าการไปหาหมอแต่ในบางกรณีอาจเป็นความ "เสี่ยง" อย่างมาก ซึ่งในงานสัมมนา"เปิดผลการสำรวจเกี่ยวกับการใช้ยาด้วยตนเอง เพื่อควบคุมความเจ็บปวดเรื้อรังในเอเชีย(Asian survey onSelf-medication for Chronic pain) เมื่อวันที่ 21ก.ย.ที่ผ่านมา ณ กัวลาลัมเปอร์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ มาเลเซีย ก็มีข้อมูลบ่งชี้

        นพ.อเล็ก ซ์ เหยา โซ-นัมประธานสมาคมความปวดแห่งประเทศสิงคโปร์ประธานสถาบันความปวดโลกประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่ปรึกษาด้านการจัดการกับความปวดของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศสิงคโปร์ระบุในงานสัมมนาว่า...จากการสำรวจออนไลน์ ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม 1,220 คนทั้งคนจีน คนไต้หวัน คนไทย พบว่า ประเภทความเจ็บปวดของ 3 กลุ่มนี้แตกต่างกันโดยชาวจีน และไต้หวัน จะประสบกับอาการปวดหัวบ่อยๆ และไมเกรนมากที่สุดรองลงมาคือปวดหลัง ส่วนคนไทยจะมีอาการปวดหลังมากที่สุด รองลงมาคือ ปวดหัวบ่อยๆและไมเกรน และคนไทยมีความอดทนในความเจ็บป่วยเรื้อรังน้อยที่สุด

       ผลการสำรวจลักษณะการรักษาเมื่อเผชิญกับความเจ็บ ปวดเรื้อรัง ชี้ว่า กว่า60% ของผู้ตอบคำถามชาวจีน ไต้หวัน และชาวไทยซื้อยากินเอง เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ได้มีการปรึกษาหมอ

       ในส่วนของความตระหนักถึงผลข้างเคียงของการใช้ยาคนส่วนมากรับทราบและรับรู้ว่ากลุ่มยาแก้ปวดมีผลข้างเคียงต่อไตแต่มีผู้ตอบคำถามเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่รู้ว่า กลุ่มยาแก้ปวดมีผลต่อการเป็นแผลเลือดออกในท้องและลำไส้ ทั้งนี้ นอกเหนือจากผลข้างเคียงต่อไตแล้วยาแก้ปวดยังมีผลข้างเคียงอีกหลายอย่าง อาทิ ผลข้างเคียงต่อตับ, อาการแพ้ต่างๆ, ระบบย่อยอาหาร, เวียนหัวและผื่นคัน

        สำหรับวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกบ้างก็รักษาด้วยการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ และซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไปโดยการใช้การแพทย์ทางเลือก ก็เช่น การใช้ยาสมุนไพรต่างๆรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจให้เหตุผลว่า มีผลข้างเคียงน้อยกว่าอย่างไรก็ตาม อาจมีความเข้าใจที่ผิดพลาดว่ายาทางเลือกมีความปลอดภัย 100%หรือกินแล้วไม่ติด

        บทบาทของหมอยังมีน้อยมาก ร้อยละ 27.3ของผู้ตอบคำถามทั้ง 3 ประเทศ ไม่เคยไปหาหมอเลย ร้อยละ 47.9 เลิกหาหมอไปแล้ว และ 3ใน 4 ของผู้ตอบคำถาม ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของหมอระหว่างการทำสำรวจ โดยมีจำนวน 3ใน 5 ของผู้ตอบคำถาม ที่ยอมรับว่าเคยใช้ยาบางประเภทส่วนสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยไม่ไปหาหมอ คือคิดว่าความเจ็บป่วยนั้นๆสามารถบริหารจัดการได้เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

        ผู้ตอบคำถามชาวจีนร้อยละ 28.4มีประสบการณ์จากผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มยาแก้ปวด ขณะที่ร้อยละ 35ของชาวจีนชาวไต้หวันและร้อยละ 12.4 ของคนไทยไม่เคยรู้เลยว่าเคยมีอาการข้างเคียงจากยาแก้ปวดหรือไม่ ทั้งนี้ความเจ็บปวดในช่องท้องและลำไส้เป็นผลข้างเคียงสามัญซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเคยได้รับผลข้างเคียง ดังนั้นเป็นที่สรุปได้ว่ายังคงมีความเชื่อที่จำกัดเกี่ยวกับผลข้างเคียงในหมู่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งนำไปสู่การบรรเทาความเจ็บปวดที่ไม่ปลอดภัยเพียงลำพังและใช้ยาอื่นๆ ผสมรวมกัน

       "นอกจากเจ็บปวดในช่องท้องและลำไส้ที่พบมากแล้ว ยังมีอาการผลข้างเคียงอื่นๆอีกมาก อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน,หน้ามืด ปวดหัว, มึนงง, มีอาการแพ้เช่น ผื่นคันต่างๆ และใจสั่นในเมื่อกลุ่มยาแก้ปวดซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้กันเองอย่างแพร่หลาย มีผลข้างเคียงดังนั้น วิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ไมเกรนข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ หรืออื่นๆ ควรปรึกษาหมอทุก 2-3 เดือนไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม จะเป็นวิธีที่ดีที่ปลอดภัยที่สุด"
        นพ.อเล็กซ์ ระบุว่า ด้าน ศ.ฟรานซิสกา-เหลียง ชาน ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์บำบัดหัวหน้าหน่วยระบบทางเดินอาหารและตับ และรองคณบดีทางคลินิกแห่งมหาวิทยาลัยไชนีสยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮ่องกง กล่าวในงานสัมมนาว่า การมีอาการเจ็บป่วยต่างๆแล้วไม่ไปหาหมอ แต่ซื้อยากินเองเป็นสิ่งที่ผิดที่ถูกต้องคือต้องหาหมอและติดตามผลทุก ๆ 2-3 เดือน ซึ่งยาประเภทกลุ่มแก้ปวดมีผลข้างเคียงบางคนก็เลือดออกในกระเพาะอาหารและยังมีผลต่อหัวใจ และระบบทางเดินอาหารอีกด้วยดังนั้น เรื่องการปรึกษาแพทย์จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

        ทั้งนี้ ศ.นพ.โก๊ะ เคียน ลีหัวหน้าหน่วยระบบทางเดินอาหารและตับ และหัวหน้าฝ่ายการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารมหาวิทยาลัยการแพทย์มาลายา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานการสัมมนาครั้งนี้ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมพร้อมทั้งชี้ว่า ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดด้วยตนเอง ถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและทำให้สังคมโดยรวมเกิดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก

       "ใช้ยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาหมอ" มีความ "เสี่ยง!!"คนไทยอย่าประมาท...อาจมีผลเสียร้ายแรงเกินคาด!





สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2011, 10:36:46 am โดย nongna » บันทึกการเข้า

สวัสดีค่ะคุณผู้เยี่ยมชมยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!