ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 22, 2024, 08:45:45 pm
หน้าแรก
•
ช่วยเหลือ
•
ค้นหา
•
เข้าสู่ระบบ
•
สมัครสมาชิก
สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์
ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
สายสัมพันธ์
>
บันทึกประวัติศาสตร์
>
ประวัติของนักร้องลูกทุ่ง-ลูกกรุง
(ผู้ดูแล:
กระต่าย
) >
ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์ (อ่าน 16690 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ป้าเขียว
น้องสาวจ๊าบ
คำขอบคุณ: 8400
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 2133
สมาชิก ID: 1453
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 37 : Exp 56%
HP: 0%
ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์
«
เมื่อ:
ตุลาคม 15, 2012, 05:00:20 am »
**ระยะนี้เห็นท่านประธาณวางเพลง ของ ลัดดา ศรีวรนันท์ ติดๆกันหลายเพลง ลัดดา ศรีวรนันท์ เป็นนักร้องในดวงใจของป้าเขียวเลยละ ขอขอบคุณ ท่านประธาณมากค่ะ..มาดูที่ประวัตินักร้อง ยังไม่มีประวัติ ของ ลัดดา ศรีวรนันท์ เลย ป้าเลยขอเอาประวัติ ลัดดา ศรีวรนันท์ มาวาง นำมาจาก "ชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า" ถึงแม้จะยาวไปหน่อย แต่ประวัติของท่าน น่าอ่านมากค่ะ...**
http://www.youtube.com/v/mKttBqpSdoI?version=3&hl=th_TH
เพลงแรกในชีวิตการร้องบันทึกเสียงของลัดดา ศรีวรนันท์ เพลงนี้สมยศ ทัศนพันธุ์ แต่งให้เป็นที่ระลึก แก่สถานี
วิทยุกรมการรักษาดินแดน ในสมัยที่ไปร้องเพลงออกอากาศบ่อยที่สุด และได้มอบให้ลัดดาใช้เป็นเพลงร้องประกวด
จนได้รับรางวัลชนะเลิศ ที่เวทีโรงภาพยนต์พัฒนากร คุณสวัสดิภาพ บุนนาค ผู้จัดการแผ่นเสียง ดี.ซี.เจ. ตราค้างคาว
ให้การสนับสนุนบันทึกเสียง เมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นเพลงสร้างชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ให้แก่ลัดดา ศรีวรนันท์
ลัดดา ศรีวรนันท์
เป็นชาวไทย มุสลิมธนบุรี ถือกำเนิดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ในวัยเด็กเธอชอบร้องเพลงและร้องด้วยเสียงอันดัง เละเข้าศึกษาที่โรงเรียนศึกษานารี เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในย่านฝั่งธนบุรี นักร้องในดวงใจของเธอคือ คุณมัณฑนา โมรากุล โดยทุกครั้งที่เธอได้ฟังของคุณมัณฑนาจากวิทยุเธอมักจะร้องคลอตาม โดยปรกติเวลาเธอพูดคุยกับเพื่อนเพื่อนเสียงของเธอจะดังมากจึงถูกขนานนามว่า “ ไอ้ดาเสียงดัง ” ทุกครั้งที่มีงานโรงเรียนมีการร้องเพลงจะต้องมีเธอร่วมปรากฏตัวด้วยเสมอ
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ขณะที่เธอมีอายุเพียง ๑๔ ปี และเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่ ๓ (ป.๗ ในสมัยต่อมา เพราะว่าปัจจุบันไม่มีแล้ว มีแค่ ป.๖ เท่า นั้น...ซินตึ๊ง) นคร มงคลายน นักดนตรี นักร้องและนักลีลาศเท้าไฟในยุคนั้น ได้จัดให้มีการประกวดร้องเพลงขึ้นที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ใกล้ๆ บริเวณที่เรียกกันว่าสามแยก ถนนเจริญกรุง (หรือที่เรียกว่าสิริรามาในยุคต่อมาและเป็นสถานที่จอดรถในยุคปัจจุบัน...ซินตึ๊ง) โดยได้เชิญนักแต่งเพลงและนักร้องชื่อดังสมัยนั้นมาเป็นกรรมการตัดสิน เช่น สมยศ ทัศนพันธ์ มงคล อมาตยกุล ป.ชื่นประโยชน์และอีกหลายท่านซึ่งต่างล้วนเป็นเพื่อนๆกันทั้งนั้น พี่ชายของเธอ เห็นน้องสาวชอบร้องเพลงจึงพาน้องสาวเข้าประกวดด้วย เธอได้ร้องเพลง "บัวกลางบึง" ของมัณฑณา โมรากุล ขับร้องในการประกวดรอบคัดเลือก เธอเล่าว่าด้วยหน้าตาที่ขี้ริ้วขี้เหร่และไม่ได้แต่งหน้าเสื้อสีเทามอมแมม และสวมกระโปรงนักเรียนทำให้ถูกโห่ฮาป่าและหลังจากข่มความประหม่าลงก็เริ่ม
ร้องเพลงไปด้สองสามวลีเสียงโห่ก็เงียบลงพบร้องจบเสียงปรบมีที่ทั้งหนักแน่น และยาวนานทำให้เธอถึงกับขนลุกและเธอก็ได้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วยคะแนนนำลิ่วจากน้ำเสียงที่มีพลังและสดใสสั่นพริ้ว ติดตามมาด้วยประเทือง บุญญประพันธ์ (นักร้องตาพิการ) วงจันทร์ ไพโรจน์ ลำเภาพรรณ บูรณพิมพ์ (น้องสาวสุพรรณ บูรณพิมพ์ นางเอกละครชื่อดังในขณะนั้น)
ในระหว่างรอเข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศอยู่นั้น สมยศ ทัศนพันธ์ ซึ่งเพิ่งแต่งเพลง "แดนมธุรส" ใหม่ ๆโดยแต่งให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการรักษาดินแดน (สมัยที่ตั้งอยู่ที่ตึกโดมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) สมยศได้นำเพลง "แดนมธุรส"นี้มาร้องในการสลับฉากในรายการ ลัดดาได้ยินปรากฏว่าเธอรู้สึกชอบขึ้นมาทันทีจึงขอต่อเพลงนี้จาก สมยศ ทัศนพันธ์ ซึ่งนักร้องเอกในขณะนั้นได้เมตตาและจัดการฝึกสอนให้ จากพรสวรรค์ของเธอในชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เธอก็ร้องได้คล่องแคล่ว เธอจึงใช้เพลง "แดนมธุรส" นี้ร้องในรอบชิงชนะเลิศ ผลปรากฏว่าเธอได้รับรางวัลชนะเลิศด้วยคะแนนท่วมท้น โดยมีลำเภาพรรณ บูรณพิมพ์ ได้ตำแหน่งที่ ๒ และวงจันทร์ ไพโรจน์ ครองตำแหน่งที่ ๓ ส่วนฝ่ายชายที่ ๑ ได้แก่นายทองดี ขาววิไล และมีประเทือง บุญญประพันธ์ ได้ที่ ๒
เธอได้รับรางวัลเป้นขันน้ำพานรองและขนมอีก ๑ กล่อง พร้อมกับบัตรทำผมฟรี ๑ ปี จากร้านเสริมสวยสุรนารี จากนั้นต่อมา สมยศ ทัศนพันธ์ได้นำเพลง "แดนมธุรส" ไปปรึกษาคุณสวัสดิภาพ บุนนาค ผู้จัดการห้างอัดแผ่นเสียงยักษ์ใหญ่ในขณะนั้นเพื่ออัดเป็นแผ่นเสียง ซึ่งทั้งสองก็มีความเห็นตรงกันว่าให้นำลัดดามาร้องอัดแผ่นเสียง ปรากฏว่าด้วยความประหม่าและความใหม่ต่อการร้องอัดแผ่นเสียง เธอต้องถูกขับเคี่ยวจากสมยศ ทัศนพันธ์ ให้เธอร้องแล้วร้องเล่าถึง ๓๐ เที่ยวจึงใช้ได้ พอผลงานชิ้นแรกจากเธอถูกนำไปออกอากาศกระจายเสียงทางวิทยุ ผลปรากฏว่าเสียงของเธอได้รับการต้อนรับจากมหาชนทั่วประเทศ ชื่อลัดดา ศรีวรนันท์ จึงดังระเบิดเป็นพลุแตกขึ้นมาในทันที
จากเด็กขี้ริ้วขี้เหร่กะโปโลที่ชอบตะโกนร้องเพลงจนเพื่อนบ้านเเละเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนรำคาญ กลายเป็น "ลัดดา ศรีวรนันท์" นักร้องหญิงที่มีเสียงฮิตติดอันดับ ๑ ของเมืองไทยไปเสียแล้ว วิทยุทุกสถานีสมัยนั้นต้องวิ่งหาซื้อแผ่นเสียงเพลงของเธอไปเปิดในรายการกันทุกรายการ ถ้ารายการไหนไม่มีเสียงของลัดดา ศรีวรนันท์ล่ะก็ต้องถือว่าเชยแหลก จากนั้น คุณอุไรพรรณ วิวิธสิริ หัวหน้าคณะละครวิทยุชื่อดังคณะ "สิริวิธ" และ " สามัคคีไตรรงค์" ได้นำเธอมาเล่นละครวิทยุในตำแหน่งนางเอก และเป็นผู้พาเธอไปฝากฝังกับไพบูลย์ บุตรขัน เพื่อแต่งเพลงให้เธอร้องเป็นผลให้เธอมีผลงานเพลงติดตามมาอีก และทุกเพลงก็ล้วนแต่ดังระเบิดทั้งสิ้น ต่อมาก็มีประเทือง บูญญประพันธ์ อีกผู้หนึ่งที่ร่วมแต่งเพลงให้เธอด้วย ทำให้ยุคนั้นไปทางไหนก็จะมีแต่เสียงเพลงของลัดดาแทรกไปในทุกอณูของอากาศ งานร้องเพลงตามคำเชิญและร้องอัดแผ่นก็ติดตามเธอมามากมาย นับว่าเป็นยุคทองของเธอทีเดียว และเหตุนี้เธอต้องขาดเรียนอยู่บ่อยๆ จึงทำให้เธอสอบตกต้องเรียนซ้ำชั้นอีก แต่เสียงที่สดใสและสั่นพริ้วของเธอก็ได้ขับกล่อมให้ความสุขแก่ผู้ฟังไปทั่วประเทศจากเพลง โอ้ ทูนกระหม่อม รอยรักรอยทราย รุ้งทองฟ่องฟ้า มัสยาหลงเหยื่อ ทะเลร่ำไห้ และอีกหลายเพลงซึ่งทำให้ชื่อเสียงของเธอติดลมบนในยุคนั้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เองได้แต่งงานและหยุดร้องเพลงเพื่อดูแลครอบครัว เธอเงียบหายไปนานทีเดียว แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ คุณมัณฑนา โมรากุล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์เรื่อง ” มารรัก ” ได้มาขอร้องให้เธอมาขับร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้คือเพลง ” ชีวิตลำเค็ญ ” และเมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้นำออกมาฉายชื่อเสียงของเธอจากการขับร้องเพลงนี้ก็ กลับมาโด่งดังอีกอย่างไม่น่าเชื่อ
ต่อมาชีวิตของเธอก็ประสพความชอกช้ำในความรักเธอต้องลำบากลูกของเธอ สามคนตามลำพัง และประกอบกับโรคประสาทที่รุกเร้าเธอ จนไดัรับความช่วยเหลือจากคุณวงจันทร์ ไพโรจน์ โดยให้มาร้องเพลงที่ห้องอาหารตาลเดี่ยวของเธอที่ย่านบางเขน ทำให้ทุกอย่างที่รุมเร้าคลายลง และได้รับเชิญไปขับร้องในที่ต่างต่างซึ่งก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและแล้วเมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ อยู่อยู่อาการโรคประสาทของเธอเกิดกำเริบขึ้นอีกอย่างกระทันหันก่อความตกตรึง ให้กับลูกลูกทั้งสามของเธอไม่มีใครทำอะไรถูก และเธอก็สิ้นใจในประมาณสี่โมงเย็นของวันนั้นเองโดยไม่มีใครคาดคิดและช่วย เหลือทัน
ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ คือวันรุ่งขึ้นร่างของเธอก็ถูกนำฝังที่สุเหร่า สี่แยกบ้านแขก ฝั่งธนบุรี อันเนื่องมาจากต้องทำตามประเพณีศาสนาอิสลามที่ต้องร่งของผู้ตายไปฝังภายใน ๒๔ ชั่วโมง ลัดดา ศรีวรนันท์ ผู้ล่วงลับ เป็นนักร้องเสียงดี และยังมีโอกาสร้องเพลงที่ล้วนแล้วแต่ปรมาจารย์เพลงในยุคนั้นเป็นผู้แต่ง จึงประสบความสำเร็จในชีวิตศิลปินเพลงในระดับสูง ลัดดา ศรีวรนันท์ ผู้ล่วงลับ เป็นนักร้องเสียงดี และยังมีโอกาสร้องเพลงของล้วนแล้วแต่ปรมาจารย์เพลงในยุคนั้นเป็นผู้แต่ง จึงประสบความสำเร็จในชีวิตศิลปินเพลงในระดับสูง
--------------------------------------------------------------------------------
"เพลงในอดีตพร้อมภาพประวัติ นริส - ลัดดา โดยชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า"
ในหนังสือเล่มนี้ ปรากฏว่ามีเรื่องราวหลายเรื่องพร้อมประวัตินักร้องนักแต่งเพลงหลายท่าน แต่ไม่ละเอียดมากมายนัก
สำหรับประวัติภาพของนักแต่งเพลง นักร้องที่มีอยู่ใหนังสือเล่มนี้ มีทั้งคุณสุรพล แสงเอก เชาว์ แคล่วคล่อง มงคล อมาตยกุล สนิท ศ ป.ชื่นประโยชน์ สมยศ ทัศนพันธ์ ร้อยแก้ว รักไทย พยงค์ มุกดา ประเทือง บุญญประพันธ์ สุรพล โทณะวณิก ไสล ไกรเลิศ สง่า อารัมภีร ชาตรี ศิลปสนอง
นอกจากนี้ยังมีข้อเขียนของ นริศ อารีย์ หรือ ร.ดาวรุ่ง และ ลัดดา ศรีวรนันท์ เขียนบันทึก "จากความทรงจำของดิฉัน" รวมทั้งยังมีเพลงอีกคนละ ๖๐ เพลง รวมเป็น ๑๒๐ เพลงในหนังสือเล่มนี้ ไม่น้อยที่เดียวสำหรับข้อมูลที่อัดแน่นในหนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้
ขอเขียนถึงคุณลัดดา ศรีวรนันท์ ที่ผมได้จั่วหัวเอาไว้ก่อนก็แล้วกัน โดยขอนำเอาบันทึกที่เจ้าตัวเขียนเอาไว้เป็นการนำร่องก่อน
คุณลัดดา ศรีวรนันท์ เขียนเอาไว้อย่างนี้ครับ
" ดิฉันต้องพบกับความตื่นเต้น ภาคภูมิใจและดีใจเป็นที่สุดในชีวิตอีกครั้ง เมื่อคุณนคร ถนอมทรัพย์ ได้มาบอกว่าจะทำการอนุรักษ์เพลงที่ดิฉันร้องบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้หาฟังไม่ได้อีกแล้ว นอกจากไม่กี่เพลงที่มีการบันทึกเป็นเทปขาย คุณนครมีแผ่นเก่า (แผ่นครั่ง) เก็บสะสมเพลงที่ดิฉันร้องไว้เกือบทุกเพลง ดิฉันเองก็เคยเก็บสะสมไว้บ้าง แต่ถูกเพื่อนๆ ยืมไปไม่ส่งคืน ประกอบกับดิฉันต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัยหลายครั้ง ทำให้แผ่นเสียงเหล่านั้นแตกหักและสูญหายไปหมด เมื่อได้ทราบจากคุณนครว่าจะมีการอนุรักษ์เพลงเหล่านี้โดยนำมากรองเสียงใหม่บันทึกลงแผ่นลองเพลย์และเทปตลับ ดิฉันจึงตื่นเต้นที่สุดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
จากเหตุนี้ทำให้ดิฉันอดไม่ได้ที่จะหวนกลับไปนึกถึงอดีตซึ่งยังคงอยู่ในความทรงจำของดิฉันตลอดมา ดิฉันจำได้ว่าเป็นคนที่ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เป็นเด็ก เพลงที่ประทับใจและชอบร้องส่วนมากเป็นเพลงจากวงดนตรีสุนทราภรณ์ ดิฉันชอบร้องหมดไม่ว่าจะเป็นเพลงของนักร้องชายหรือหญิง ทั้งๆที่สมัยนั้นไม่มีสิ่งเอื้ออำนวยเหมือนสมัยนี้เพราะไม่มีเทป อยากจะร้องเพลงไหนก็ต้องคอยฟังและจดจำเอาจากวิทยุเท่านั้น และสถานีวิทยุก็ไม่มีมากมายเหมือนสมัยนี้ ดิฉันร้องเพลงโดยไม่มีใครแนะนำ ร้องมันไปให้เต็มเสียง (เสียงดัง) ชนิดที่ได้ยินกันไปสามบ้านแปดบ้านที่เดียวไม่มีหนักเบา ซึ่งต่อมาดิฉันจึงทราบจากครูบาอาจารย์ว่า การร้องแบบนี้เป็นการร้องที่ไม่มีฟิลลิ่งหรือารมณ์เพลง อาศัยมีพรสวรรค์และเสียงดีเพียงอย่างเดียวนี่แหละ การที่จะทำอะไรนั้นจะขาดเสียซึ่งครูบาอาจารย์ย่อมจะทำให้ไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ขณะที่ดิฉันกลับจากโรงเรียนถึงบ้าน พี่ชายของดิฉันได้ชักชวนดิฉันให้ไปสมัครประกวดร้องเพลงที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ที่กลายมาเป็นโรงภาพยนตร์สิริรามา( ปัจจุบันรื้อทิ้งไปทำที่จอดรถแล้ว ...ซินตึ๊ง) โดยมีพี่นคร มงคลายน เป็นผู้จัดขึ้น จำได้ว่าวันนั้นมีผู้เข้าประกวดมากมาย พอถึงคิวที่ดิฉันจะต้องออกสู่เวที ดิฉันตื่นเต้นจนมือเท้าเย็นชาไปหมดทีเดียว ก็ดิฉันเคยแต่ขึ้นเวทีของโรงเรียน เมื่อมาขึ้นเวทีที่มีผู้ชมมากมายอย่างนี้เล่นเอาสั่นไปทั้งตัว และทันทีที่ดิฉันเดินออกสู่กลางเวทีก็ถูกผู้ชมโห่ฮาบ้างก็เป่าปากเปี๊ยวป๊าวแซดไปหมด ดิฉันพอจะเข้าใจในขณะนั้นว่า เรามันไม่สวยเอาเลย ผิวคล้ำ หน้าตาก็ขี้ริ้วขี้เหร่สิ้นดี เครื่องแต่งกายก็สุดแสนจะเชย คือนุ่งกระโปรงนักเรียนสีดำ สวมเสื้อสีเทามอมแมม แถมด้วยใบหน้าเปลือยๆ คือ ปราศจากเครื่องสำอางค์ใด ๆทั้งสิ้นแม้แต่แป้ง ดิฉันข่มความประหม่าตั้งใจร้องเพลงอย่างเดียว ทันทีที่เสียงร้องของดิฉันผ่านไมโครโฟนไป ๓-๔ วลีเท่านั้น เสียงโห่ฮาป่าทั้งหลายแหล่ก็เงียบกริบจนดิฉันร้องเพลงจบกลับมีเสียงปรบมือหนักแน่นและยาวนาน ดิฉันขนลุกซู่ทั้งตัว รู้สึกตัวเบาหวิวด้วยความตื้นตันใจ รีบสาวเท้าจ้ำอ้าวเข้าหลังเวที ผลปรากฏว่าดิฉันได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการให้ผ่านรอบคัดเลือก เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป
ในตอนนั้นบนเวทียังจัดให้มีการแสดงของวงดนตรีคณะนคร มงคลายน โดยมีนักร้องมีชื่อมาร้องหลายคน ดิฉันฟังพี่ยศ (สมยศ ทัศนพันธ) ร้องเพลงที่แต่งเองคือ เพลง "แดนมธุรส" รู้สึกชอบและประทับใจมากจึงไปขอให้พี่ยศช่วยต่อให้ ซึ่งได้รับความเมตตาจากพี่ยศเป็นอย่างดี ในที่สุดดิฉันก็ใช้เพลง "แดนมธุรส" นี้เป็นเพลงที่ใช้ร้องประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งผลก็ปรากฏว่าดิฉันได้รับการตัดสินให้เป็นผู้ชนะเลิศ นี่คือ ก้าวแรกที่ดิฉันได้ก้าวเข้ามาเป็นนักร้อง ซึ่งดิฉันยังจดจำได้ดีมาตราบเท่าทุกวันนี้"
นี่คือข้อเขียนที่มีไม่มากนักของนักร้องหญิงจากโรงเรียนศึกษานารีที่ต่อมาดังเป็นพลุยาวนานด้วยเพลงดังมากมาย นาม ลัดดา ศรีวรนันท์
ฉากจบ
ชีวิตของนักร้องสาวผู้นี้ในยามรู่งก็พุ่งทะยานเหมือนดาวจรัสแสง แต่ชีวิตของเธอกลับต้องประสบกับความล้มเหลวในชีวิตคู่ เธอรู้สึกอ้างว้างและเดียวดายเหมือนในเนื้อเพลงที่เธอร้องครั้งล่าสุด ซึ่งแต่งโดย สนิท ศ อย่างไม่ผิดเพี้ยน ชีวิตเธอต้องชอกช้ำจากการผิดหวังในความรักและความอบอุ่น ประกอบกับความรับผิดชอบในครอบครัว เธอต้องอยู่กับลูก ๆ ๓ คน โดยคนโตเป็นผู้หญิง อีก ๒ คนเป็นชายตามลำพัง เธอต้องหาเงินเพื่อเลี้ยงดูลูก ให้การศึกษาแก่ลูกและค่าใช้จ่ายทุกอย่างภายในครอบครัว ตั้งแต่ค่าเช่าแฟลต ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่นๆ เธอต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียว โดยมีรายได้จากการช่วยเหลือของเพื่อนรักที่ชื่อ "วงจันทร์ ไพโรจน์" ด้วยการให้เธอไปร้องเพลงประจำที่ห้องอาหาร "ตาลเดี่ยว" ย่านบางเขน (เยื้อง ๆ แดนเนรมิตรที่ปัจจุบันรื้อทิ้งไปแล้ว) ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักอึ้งของผู้หญิงคนหนึ่ง ในเวลาต่อมาเธอเริ่มคิดมากจนกระทั่งล้มป่วยด้วยโรคประสาททำงานไมได้ นับเป็นมรสุมที่กระหนำเธอให้จมลง เสมือนฟ้าดินไม่ปราณีต่อเธอเสียเลย ตลอดระยะเวลาที่เธอต้องผจญกับความยากไร้และเจ็บป่วยนี้ วงการเพลงเกือบไม่มีใครรู้เรื่องของเธอเลย นอกจากเพื่อนรักที่ให้ความช่วยเหลือเธอตลอดมา คือ วงจันทร์ ไพโรจน์ นั่นเอง บางครั้งอาการเธอทุเลา และมีโอกาสพบกับคนในวงการเพลง เธอก็เก็บความรู้สึกภายในไว้ เมื่อถูกถามถึงสภาพความเป็นอยู่ เธอก็จะยิ้มระรื่นและตอบว่า "ดาทำใจได้แล้ว" อยู่เสมอ ดูเธอช่างเป็นหญิงที่มีความทรหดอดทนมาก เธอสามารถเก็บความรู้สึกกล้ำกลืนความขมขื่นและชอกช้ำนี้ท่ามกลางความยากไร้และความทรมานจากโรคร้ายมาเกือบ ๑๐ ปี โดยไม่เคยที่จะประพฤติผิดศีลธรรมหรือประเพณีเลย นับว่าเป็นกุลสตรีที่น่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
จนกระทั่งในราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทางชมรมอนุรักษ์เพลงเก่าได้จัดทำอนุรักษ์เพลงเก่าชุดเสียงร้องของ "นริส อารีย์ กับ ลัดดา ศรีวรนันท์" ขึ้น โดยค้นหาเพลงของนักร้องทั้งสองที่ได้สูญหายไปจากตลาดเพลงแล้ว นำแผ่นเสียงเก่ามาอัด โดยกรองเสียงเสียใหม่ทั้งหมด ๑๒๐ เพลง บังเอิญมีอยู่ ๒ เพลงที่ช่างอัดเสียงได้ทำแผ่นเดิมซึ่งเป็นแผ่นครั่งตกแตก คุณนคร ถนอมทรัพย์ จึงติดต่อให้คุณลัดดา ศรีวรนันท์มาร้องอัดเสียงใหม่ โดยร้องกับเปียโนทีมีคุณนครเป็นผู้เล่น ปรากฏว่าเธอยังร้องได้ดีมาก แม้เธอจะมีอายุมากขึ้น แต่พลังเสียงยังคงสดใสและสั่นพริ้วอยู่เกือบเหมือนเดิม นั่นคือเพลงหนามในใจและทางทางชั่วดี คุณนครจึงชักชวนเธอให้กลับมาเป็นนักร้องใหม่โดยนัดหมายกันว่าจะทำการอัดเสียงกันในราวเดือนมีนาคม ๒๕๒๘ นี้ ซึ่งรู้สึกว่าเธอดีใจมากที่จะได้กลับมามีอาชีพเป็ฯผู้กล่อมโลกใหม่อีก ต่อมาเมื่อคืนวันปีใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘ ที่ผ่านมา ทางสมาคมดนตรีฯได้จัดงานฉลองปีใหม่ขึ้นที่สวนอัมพร เธอถูกเชิญให้ไปร้องเพลงร่วมกับนักร้องเก่าอีกหลายคน เช่น คุณบุญช่วย หิรัญสุนทร ทัศนัย ชอุ่มงาม สมยศ ทัศนพันธ์ สวลี ผกาพันธ์ สมศรี ม่วงศรเขียว สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร และคนอื่นๆ อีกมากโดยมีคุณนคร ถนอมทรัพย์ และคุณพยงค์ มุกดา เป็นพิธีกร ผู้ที่ได้เข้าชมในคืนนั้นย่อมเป็นพยานได้ดีว่า เธอยังร้องเพลงได้แจ๋วจริงๆ เสียงปรบมือจากผู้ฟังที่กระหึ่มทำให้เธอดูร่าเริงแจ่มใส และมีความหวังอย่างมั่นใจว่า เธอจะกลับมารับใช้แฟนเพลงอีกแน่นอน
จากวันนั้นจนกระทั่งเมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ โดยไม่คาดฝัน อาการโรคร้ายทางประสาทของเธอได้กำเริบขึ้นอีกอย่างกะทันหันและรุนแรง เธอมีอาการเพ้อ และชักกระตุกทุรนทุรายท่ามกลางความตื่นตะลึงของลูก ๆ ทั้ง ๓ คนและก่อนที่ทุกคนจะทำอะไรถูก เธอก็ได้สิ้นใจลงเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.(๔ โมงเย็น) วันนั้นเอง เธอจากทุกคนอย่างรวดเร็วเกินไปชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดและช่วยเหลือเธอได้ทัน และโดยที่เธอเป็นชาวไทยมุสลิม ศพของเธอจึงต้องถูกนำไปฝังภายใน ๒๔ ชั่วโมง ตามประเพณีทางศาสนาในบ่ายวันรุ่งขึ้น คือวันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ ณ สุเหร่าสี่แยกบ้านแขก ฝั่งธนบุรี ท่ามกลางความโศกเศร้าอาดูรของญาติๆและมิตรสหายในวงการเพลงที่ได้ทราบข่าว
ร่างของเธอ ลัดดา ศรีวรนันท์ อดีตนักร้องเสียงทองอันดัน ๑ ของเมืองไทย นอนสงบอยู่ใต้ดิน หมดสิ้นกันทีกับความทุกข์ทรมานและชอกช้ำที่เธอต้องทนต่อสู้มายาวนานถึง ๑๐ ปี ทิ้งความโศกเศร้าอาลัยไว้ให้กับญาติและมิตรสหายในวงการเพลง กับความว้าเหว่อ้างว้างของลูกๆ สุดที่รักของเธอทั้ง ๓ คน ที่จู่ๆก็ต้องมาขาดร่มไทรอันเป็นที่พึ่งไปอย่างกระทันหัน คุณนคร ถนอมทรัพย์ โต้โผของชมรมอนุรักษ์เพลงเก่าได้นำข่าวนี้ไปออกอากาศทางรายการ "อดีตรำลึก" ที่สถานีวิทยุ จ.ส. ภาคเอฟเอ็มโดยทันที พร้อมกับเสียสละยอมตัดเทปเสียงเพลงของลัดดา ศรีวรนันท์ที่กำลังจัดทำอนุรักษ์ไว้ในชุด "นริส - ลัดดา" ออกมา ๓ ม้วน (๖๐ เพลง) เพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกและผู้สนใจในราคา ๒๐๐ บาท ที้งนี้เพื่อที่จะนำเงินรายได้ส่วนนี้ไปช่วยเหลือครอบครัวของเธอเป็นการด่วน เพราะลูกๆของเธอก็มีเพียงลูกสาวคนโตของเธอเพียงคนเดียวที่เพิ่งทำงาน ส่วนอีก ๒ คนที่เป็นชายยังเรียนอยู่ ผลปรากฏว่าผู้ที่ทราบข่าวต่างมาซื้อเทปชุดดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และยังมีผู้ร่วมบริจาคเป็นเงินสดอีกหลายราย แม้บางรายอยู่ถึงต่างจังหวัดยังอุตส่าห์เดินทางมาซื้อเทป และร่วมบริจาคสิ่งของ และเงินก็มี ทางสมาคมดนตรีฯ โดยคุณไพบูลย์ ศุภวารี นายกสมาคมได้เรียกกรรมการเพื่อประชุมโดยด่วน และได้มีมติให้มอบเงินช่วยเหลือทันทีตามระเบียบของสมาคม (๑,๕๐๐ บาท) ซึ่งทางชมรมฯต้องขอขอบคุณในกุศลจิตของผู้ที่ร่วมซื้อเทปและบริจาคในครั้งนี้ด้วยเป็นอย่างยิ่ง
ไปแล้ว ไปสู่สุคติเถิด "ลัดดา ศรีวรนันท์" นักร้องเสียงทองผู้ยากไร้และอาภัพ ต่อแต่นี้ไปไม่มีร่างของเธออีกแล้ว จะคงเหลือก็แต่เสียงขับกล่อมอันไพเราะและพริ้วพรายของเธอที่ทางชมรมอนุรักษ์เพลงเก่าได้นำมาอนุรักษ์ไว้ในแผ่นลองเพลย์และเทปเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เสียงของเธอจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน
บทความชิ้นนี้ คุณตรี ทศเทพ ได้บันทึกไว้กว่า ๒๐ ปีแล้ว เพราะว่าเมื่อนับวันเวลาการจากไปของนักร้องสาวผู้นี้ถึงปัจจุบัน (๒๕๕๒) ก็เป็นเวลา ๒๔ ปีแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่กล่าวถึงชีวิตของนักร้องสาว นาม "ลัดดา ศรีวรนันท์" ได้ดี ทำให้รู้จักชีวิตของนักร้องผู้นี้ได้ดียิ่งขึ้น ส่วนตัวแล้วผมชื่นชอบเสียงร้องของนักร้องผู้นี้มานานกี่ปีก็ไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่าชอบมานาน โดยเฉพาะเพลงที่สร้างชื่อให้เธอมาก นั่นคือ โอ้ ทูนกระหม่อม ซึ่งน่าจะเป็นเพลงหนึ่งที่ทำให้เธอได้รับความนิยมมานาน และยังมีอีกหลายเพลงที่น่าฟังมาก อย่างเช่นเพลง สิ่งที่ปรารถนา อาณาจักรใจ โอ้บุพการี รักนิรันดร์ รวมทั้งเพลงที่ร้องคู่กับนริส อารีย์ในเพลง จูบประทับใจ ผกาฟ้า ใครที่ได้ฟังเสียงเธอ ต้องชื่นชอบเสียงของเธออย่างแน่นอน เพราะเสียงของเธอนั้นมีเอกลักษณ์ ที่ฟังเมื่อใดก็ต้องรู้ว่า นี่แหละ "ลัดดา ศรีวรนันท์" นักร้องเสียงอมตะที่ยังอยู่ในใจคนฟังอีกมากมาย
"เพลงในอดีตพร้อมภาพประวัติ นริส - ลัดดา โดยชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า"
คนรักดี2012
,
อ้อย อรรถยา
, ,
พรเพชร
,
to
, ,
Deja
,
Tender
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2014, 07:53:16 am โดย ป้าเขียว
»
บันทึกการเข้า
http://saisampan.net/demo/data/flash/mm74lt-f6c32c.swf
http://www.clocklink.com/clocks/5012-pink.swf?TimeZone=Thailand_Bangkok&
คนรักดี2012
สมาชิกเต็มตัว
คำขอบคุณ: 1917
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 505
สมาชิก ID: 1921
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 18 : Exp 21%
HP: 0.1%
Re: ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์
«
ตอบ #1 เมื่อ:
ตุลาคม 23, 2012, 04:26:52 am »
วาว ป้าเขียว ยอดเยี่ยมมากครับ
ขอบคุณครับที่สรรหาบทความดีๆเช่นนี้มาให้ทราบ
เยี่ยมจริงๆ ตอนนี้ผมกำลังทำสารคดีเพลงเก่าอยู่พอดีครับ
มีประโยชน์มากเลยครับ
พรเพชร
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
อย่าท้อใจในการทำดี พลิกวิถีชีวี ไปสู่การเป็นยอดคน
พรเพชร
สมาชิก
คำขอบคุณ: 863
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 256
สมาชิก ID: 1983
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 12 : Exp 95%
HP: 0.1%
Re: ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์
«
ตอบ #2 เมื่อ:
พฤศจิกายน 01, 2012, 08:25:40 am »
โอพระเจ้าอ่านจนตายลายไปเหมินเลย ประวัติการนำทางสู่เส้นทางดนตรีนักร้องเพลง
ขอบคุณมากๆครับป้าเขียว วันหน้านำมาให้ใหม่นะครับท่านอื่นๆ.....
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
กินขนม }} ชมเด็กสาว
ฟังเพลงเก่า }} เล่าความหลัง
ขอให้สนุกกับเสียงเพลงนะครั๊บ
** เกิดมาเป็นคนจะมีหรือจนมันก็คนเหมือนกัน เกิดมากี่ชาตินั้นอย่าเปียบตัวนั้นว่าเองนั้นเกิดคน **
ทวีป
ปลดออกจากสมาชิก
คำขอบคุณ: 75
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 63
สมาชิก ID: 2138
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 6 : Exp 40%
HP: 0%
Re: ประวัติ - ลัดดา ศรีวรนันท์
«
ตอบ #3 เมื่อ:
พฤษภาคม 22, 2013, 02:09:54 am »
เคยอ่านประวัติของท่านเหมือนกันครับ เพลงของท่านก็มีหลายเพลที่ชอบมาก เช่นมัสยาหลงเหยื่อ แดนมธุรส ทะเลร่ำไห้ โอ้ทูลกระหม่อม อาณาจักรใจ อีกหลายๆเพลงครับ น่าฟังทั้งนั้น
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ห้องฟังเพลง
-----------------------------
=> ห้องฟังเพลง
===> ฟังเพลงจากแผ่นครั่ง
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง+ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงลูกทุ่งลูกกรุงใหม่ๆ หรือเก่าดนตรีใหม่
===> ฟังเพลงนานาชาติ (เก่ามาก - ปี 1960)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1961-1990)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1991-ปัจจุบัน)
===> ฟังเพลงบรรเลง
===> ฟังเพลงเพื่อชีวิต
===> ฟังเพลงไทยสากล(สตริง)
===> ฟังเพลงพื้นบ้าน
===> MV
===> ฟังเพลงจากสมาชิกขับร้อง
=====> preem
=====> หมื่นกระบี่ไร้พ่าย
=====> lakkana
=====> J.R.
=====> ดาวิกา
=====> nirutboon
=====> เมธา
=====> ป๋องศักดิ์
=====> petcharat
=====> sonka
=====> ป้าเขียว
-----------------------------
ห้องทั่วไป
-----------------------------
=> แวดวงบันเทิง
=> เรื่อง/ภาพ ทั่วไป
=> เรื่องเล่า/ภาพ ขำขำ
=> เรื่องเล่าอื่นๆ
=> เรื่องของศิลปะ/ภาพจิตรกรรม/ประติมากรรม
-----------------------------
ห้องธรรมะ
-----------------------------
=> ธรรมะและพระสูตร
=> นิทานบันเทิงธรรม
-----------------------------
Health Advice (สุขภาพ)
-----------------------------
=> พลานามัย
=> รักษาตัวให้ห่างจากโรคร้าย
=> โภชนาการ
-----------------------------
บันทึกประวัติศาสตร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ เรื่องชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง
===> ชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง ได้รับคำตอบแล้ว
=> เรื่องของบทเพลง (ไทย)
=> เรื่องของบทเพลง (เพลงไทยเดิม)
=> เรื่องของบทเพลง (สากล)
=> ผลงานเพลงของนักร้องแต่ละท่าน
=> ประวัติของนักร้องลูกทุ่ง-ลูกกรุง
=> ประวัติของนักร้อง ศิลปินสากล
=> ประวัติของนักแต่งเพลง และ นักปั้นมือทอง
=> รูปภาพนักร้อง+นักแต่งเพลง+นักแสดง
=> ภาพปกแผ่นเสียง
-----------------------------
คอมพิวเตอร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ ปัญหาคอม
=> เทคนิคและเครื่องเสียง
-----------------------------
เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
-----------------------------
=> เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
Your browser does not support iframes.
Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
กำลังโหลด...