คำรณ สัมปุณณานนท์ - ลูกทุ่งคนแรกของประเทศไทย คำรณ สัมปุณณานนท์ เป็นชื่อจริงนามสกุลจริง เขาเป็นชาวกรุงเทพฯโดยกำเนิด เกิดเมื่อ 7 มกราคม
2463 ที่บ้านหลังวัดเกาะสัมพันธวงศ์ ถนนทรงวาด ( ทรงสวัสดิ์ ) แต่บางคนบอกว่าเขาน่าจะเป็นชาว
สุพรรณบุรี โดยวิเคราะห์เอาจากสำเนียงที่ร้องออกมา เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอุเทน
ถวาย (บางตำราก็ว่าเรียนไม่จบ เพราะจิตใจฝักใฝ่ในเรื่องบันเทิงมากเกินไป )
ในยุคนั้นวงการเพลงเมืองไทยยังไม่มีการแบ่งออกเป็นลูกทุ่งลูกกรุงชัดเจนอย่างเช่นปัจจุบันโดยที่
พัฒนามาจากเพลงลูกกรุงเป็นลำดับแรก ก็คือเพลงชีวิต หรือที่เรียกกันว่า เพลงตลาดซึ่งไม่ได้มี
ความหมายว่าเพลงต่ำๆ แต่หมายถึงเพลงลูกกรุงที่ชาวบ้านร้านตลาดนิยมฟังกัน เพราะมีเนื้อหา
พูดถึงชีวิตจริงของคนธรรมดาสามัญ ที่ถูกใจคนยากจน คนระดับล่างของสังคมมากกว่าเพลงลูก
กรุงธรรมดา แต่ท่วงทำนองและลีลาของดนตรียังเป็นแบบลูกกรุงอยู่
และคำรณ ก็มุ่งหน้าเข้าสู่วงการเพลงแนวนี้โดยได้รับอิทธิพลมาจากครูแสงนภา บุญราศรี นักร้องดัง
ในเพลงแนวนี้ โดยเส้นทางการเป็นนักร้องของคำรณอาศัยไต่เต้ามาจากเวทีการประกวดตามที่ต่างๆ
ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้างตามเรื่องตามราว แต่หลังจากที่เขาหันมาร้องเพลงโห่( แบบตะวันตก ไม่ใช่โห่...
ฮิ้ว แบบตามงานบวช ) ที่มีท่วงทำนองสนุกสนาน การประกวดของเขาก็พบกับชัยชนะทุกครั้ง
ในยุคที่หนังคาวบอยกำลังเฟื่องฟู คำรณก็มักจะแต่งชุดชาวนา เป็นคาวบอยเมืองไทย เที่ยวร้องเพลง
สลับฉากตามโรงละคร บางวันก็ประกาศตัวว่าเขาคือ แฮงค์ วิลเลี่ยม เมืองไทยและต่อมานักร้องหลายคน ก็หันมาร้องเพลงโห่ตามเขาหลายคน
ต่อมาคำรณก็พลิกลูกกระเดือก หันมาร้องเพลงชีวิต เนื้อหาเครียดๆแบบแสงนภา บุญราศรี อย่าง
ชายสามโบสถ์,กรรมกรรถราง ฯลฯ และก็ได้รับความนิยมอีกเช่นเคย
ในหนังสือผดุงศิลป์ คอลัมน์เผยชีวิตศิลปิน ที่ตีพิมพ์ช่วงปี 2496 เขียนเอาไว้ว่า ครั้นพอถึงปี 2481
ขณะเมื่อมีอายุได้ 18 ปี คำรณก็มีโอกาสได้ร้องเพลงเผยแพร่เป็นครั้งแรก (ไม่นับการประกวด) เมื่อ
ได้เล่นละครวิทยุ โดยได้รับบทเป็นผู้ร้ายในเรื่อง “สาวชาวไร่ “ ของเหม เวชกร งานนี้เขาได้ร้องเพลง
นำของละครด้วย ซึ่งเพลงนั้นมีชื่อว่า “ โอ้เจ้าสาวบ้านไร่ “ แต่งโดยเหม เวชกร และการที่ผู้ร้ายออก
มาร้องเพลงด้วย ก็เลยทำให้เขาดูไม่ร้ายเท่าไหร่
และ เมื่อต่อมาเพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงแรกที่มีลีลาของการเป็นเพลง ลูกทุ่ง คำรณจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวงการเพลงลูกทุ่งไทยตามไปด้วย
ลูกคอแบบชนบทของคำรณคือเสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชนนิยมชมชอบเขามากและ อีกประ
การหนึ่ง ก็คือความถึงลูกถึงคนเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเข้ามากระทบเขามักจะร่าย ออกมาเป็นเพลงใน
ทันทีทันใด
นอกจากร้องเพลงดี ร้องเพลงแปลกแล้ว คำรณยังมีลีลาการแสดงหน้าเวทีที่แปลกและสมจริงสมจัง
มาก ประกอบกับการมีหน้าตาคมคาย เขาจึงโด่งดังอย่างมาก และเคยถูกนำตัวไปแสดงเป็นพระเอก
ภาพยนตร์หลายเรื่องเช่นรอยไถ ,เลือดทรยศ , หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์ , ขุนโจรใจเพชร , เกวียน
หัก ตั้งแต่ปี 2495
สม ยศ ทัศนพันธ์ ขุนพลเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับไปแล้วได้กล่าวถึงความโดดเด่นของคำรณไว้ทำนองว่า เขาเป็นคนมีความเป็นศิลปินสูงจึงอยู่ในวงดนตรีดุริยางค์ทหารเรือร่วมกับตน ได้ไม่นาน
และในยุคที่กำลังโด่งดังสุดฤทธิ์ เขาเคยโดนทำร้ายโดยถูกสาดน้ำกรดมาแล้ว บางคนก็ว่าเป็นเพราะ
ความเจ้าชู้ของเขา หรือไม่ก็เพราะคนดูคล้อยตามไปกับบทบาทการแสดงของเขามากเกินไป หรืออาจจะเป็นเพราะว่าทางการรู้สึกไม่พอใจเขาจากการร้องเพลงเสียดสีการเมือง ของเขา
คำ รณ มีโอกาสบันทึกเสียงเพลงแรกคือ ชมหมู่ไม้ เพลงในแนวโห่ของครูไพบูลย์ บุตรขัน จากนั้นก็มีเพลงดังตามมาอีกมากมายนับไม่ถ้วนทั้งชายสามโบสถ์ , น้ำตาเสือตก , ตาสีกำสรวล ,
หนุ่มสุพรรณฝันเพ้อ , บ้านนาป่าร้าง ,หวยใต้ดิน , มนต์การเมือง , ชายใจพระ
ใน เรื่องของเพลงนั้น ปรากฏว่าคำรณได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในเรื่องเพลงเสียดสีการเมือง ซึ่งสร้างความไม่ค่อยพอใจให้กับฝ่ายปกครองในขณะนั้นไม่น้อย และเป็นเหตุให้เขาต้องเข้าไปใช้
ชีวิตอยู่ในคุกเป็นบางครั้งจากเรื่องนี้
ครู ไพบูลย์ บุตรขันธ์ เป็นคนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในงานเพลงการเมืองของคำรณ โดยเป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวทางการเมืองของคำรณ อีกคนที่แต่งเพลงป้อนให้กับ
คำรณคนสำคัญก็คือ เสน่ห์ โกมารชุน ที่ยังเป็นคนให้ความคิดทางการเมือง และเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
ของคำรณด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมี ป.ชื่นประโยชน์ และสุรพล พรภักดี เป็นต้น
แต่คำรณมามีชื่อในเรื่องเพลงการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมาจับคู่กันกับ เสน่ห์ โกมารชุน ขุน
พลเพลงผู้ยิ่งใหญ่อีกคนในเวลานั้น โดยในช่วงก่อนปี 2500 ทั้งสองเคยร่วมกันทำเพลง สามล้อแค้น
จนกระทั่งดังไปถึงโรงพัก เสน่ห์ โกมารชุนนั้นเป็นคนพูดจาจริงจังโผงผาง ส่วนคำรณ เป็นคนที่กล้าร้องเพลงที่บอกถึงเรื่องราวการเมืองและเสียดสีอำนาจรัฐในยุค นั้น เพราะถือว่าชีวิตนี้
เขาไม่มีอะไรสูญเสียต่อไป เพราะคุกก็เข้ามาแล้ว ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏก็เคยมาแล้ว นี่เองที่ทุกคน
กล่าวขวัญถึงเขาว่าเป็นนักร้องอันตราย เพลงการเมืองดังๆของเขาก็อย่างเช่น มนต์การเมือง , สาม
ล้อแค้น และอสูรกินเมือง ที่กล่าวถึงการ สังหารโหดทางการเมือง ที่มีเอ่ยชื่อของนักการเมืองคนหนึ่ง
อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง หรืออย่างเพลง ใครค้านท่านฆ่าที่คำรณร่วมแต่งกับพี่ชายที่ชื่อ อรุณ
และมิใช่จะมีแต่เพียงเพลงสะท้อนภาพทางการเมืองเท่านั้น คำรณยังมีเพลงสะท้อนภาพชนชั้นล่าง
ในสังคมทั่วไปอย่างเพลง ชีวิตครู , คนขายยา , คนเพนจร , พ่อค้าหาบเร่ , ชีวิตคนเครื่องไฟ ฯลฯ
และแน่นอน ในจำนวนนั้นเพลงที่กล่าวถึงชาวนา ชนชั้นล่างของประเทศ ก็มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ว่า
จะเป็นเพลง ตาสีกำสรวล , หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน , ชาวนากำสรวล , ยอมดับคาดินเป็นต้น
ในบรรดาเพลงที่มีมากมายของคำรณ ส่วนใหญ่รุ่นหลังๆจะนึกถึงและจำเขาได้จากเพลงคนบ้ากัญ
ชา เพลงนี้แต่งโดยดอกดิน กัญญามาลย์ นักสร้างและผู้กำกับภาพยนต์ไทย เจ้าของวลี.............ล้าน
แล้วจ้าๆๆๆๆๆ...นั่นเอง...
คำรณเสียชีวิตที่โรงพยาบาลทรวงอกด้วยโรคปอด เพราะเขาเสพย์ทั้งกัญชา ยาฝิ่น และบุหรี่ใบจาก
เมื่อ 30 กันยายน 2512
ผลงานเพลงบางส่วน
1.หาเช้ากินค่ำ (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 2.หนุ่มเหนือแอ่วนาง (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 3.ชมหมู่ไม้ (ไพบูลย์ บุตรขัน )
4.ลูกสาวตาสี (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 5.สวรรค์ชาวนา (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 6.ชายสามโบสถ์ (ไพบูลย์
บุตรขัน ) 7.สายลมโชย (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 8.จดหมายแค้นสีเลือด (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 9.ยอมดับคาดิน
(ไพบูลย์ บุตรขัน ) 10.กรรมกรรถราง (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 11.บ้านผมผมรัก (ไพบูลย์ บุตรขัน )
12.บุรุษไปรษณีย์ (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 13.ไอ้ทุยแถลงการณ์ (ไพบูลย์ บุตร ขัน ) 14.สาบานหน้าพระ
(ไพบูลย์ บุตรขัน ) 15.วังเวงเพลงขลุ่ย (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 16.มึงมันกาลี (ไพบูลย์ บุตรขัน )
17.บ้านนาป่าร้าง (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 18.ทิดสึกใหม่ (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 19.น้ำตาเสือตก (ไพบูลย์
บุตรขัน ) 20.ชีวิตครูประชาบาล (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 21.รักสาวเมืองสิงห์ (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 22.คน
เหมือนกัน (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 23.หนุ่มสุพรรณฝันเพ้อ (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 24.ขวานทองของไทย
(ไพบูลย์ บุตรขัน ) 25.เทวดาขี้โกง (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 26.เหมือนข้ามิใช่คน (ไพบูลย์ บุตรขัน )
27.ตาสีกำสรวล 1 (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 28.ตาสีกำสรวล 2 (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 29.ชายใจพระ (ไพบูลย์
บุตรขัน ) 30.ทรยศขบถรัก (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 31.ลูกข้าวเหนียว (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 32.ลูกทุ่งลืมถิ่น
(ไพบูลย์ บุตรขัน ) 33.เขาพระวิหารแห่งความหลัง (ไพบูลย์ บุตรขัน ) 34.ชีวิตคำรณ (ไพบูลย์
บุตรขัน ) 35.คนที่มองไม่เห็นโลก 36.สวรรค์คนจน 37.พ่อค้าหาบเร่ 38.คนนอกสังคม 39.คนพเนจร
40.คนไทยเมืองทอง 41.สอนลูกให้เป็นโจร 42.สายลมโชย 43.ชีวิตบ้านนา 44.หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
45.คนบ้ากัญชา 46.กระท่อมกัญชา 47.หวยใต้ดิน 48.ชีวิตคนเครื่องไฟ 49.ชีวิตครู 50.คนขายยา
51.คนไม่รักดี 52.เสือสั่งถ้ำ 53.เสือแค้น 54.รอยแค้นของคนคุก 55.ตามน้องกลับนา 56.บ้านยาย
หอม 57.คนแก่โลก 58.ลูกเขยนะลูกเขย 59.บ้านนาลาบวช 60.รวมท่ารวมบาง 61.เว้าสาว 62.หมอ
ลำร็อค 63.ขวัญใจตาสา 64.รำวงเมียสาวเมียแก่ 65.น้ำตาชาวนา 66.คนบ้าจี้ 67.เศรษฐีเงินถัง
68.ชีวิตช่างตัดผม 69.คนรอบกรุง 70.ลุงเชยชอบใจ 71.โจรกลับใจ 72.นักโทษประหาร 73.เสือ
สำนึกบาป 74.นักบุญใจบาป 75.เกิดมาจน 76.จนเงินก็จนรัก 77.ความหลัง 78.คำสั่งของพ่อ
79.นางฟ้าในฝัน 80.รำวงอย่าโกรธฉันเลย
ผมว่าคนไทยมากมายหลายคน รู้จักและรักเพลง "ท่าฉลอม " ที่ขึ้นต้นว่า " พี่อยู่ไกลถึงท่าฉลอม
แต่พี่ไม่ตรอมเพราะรักพยอมยามยาก "
เพลงนี้ร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร แต่งเนื้องร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร และ ใส่ทำนองโดยสง่า
อารัมภีร์ ( บ้างก็ว่า เป็น สมาน กาญจนผลิน ) เพลงนี้กำเนิดขึ้นมาประมาณปี 2503 - 2504
ครูชาลี เล่าถึงประวัติความเป็นมา ของเพลงนี้เอาไว้ในหนังสือ " บันเทิง - บางที " ว่า เพลงนี้เป็น
ชีวิตจริงของกระทาชายนายหนึ่งนามกรว่า " นายบุญเย็น " ที่ในชีวิต ท่านเคยพบกับนายบุญเย็น
ที่ว่านี้แค่ครั้งเดียว
เรื่อง มีอยู่ว่า ตัวครูชาลีเองเป็นคนท่าฉลอม มีอยู่วันหนึ่ง ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด และถูกพี่สาวของท่านตำหนิเรื่องที่ท่านแต่งเพลงให้กับชุมชนอื่นมากมาย อย่างทุ่งรวงทอง หรือ
แสนแสบ แต่สำหรับท่าฉลอม กลับไม่เคยคิดจะแต่ง
ด้วยความคิดน้อยใจ เมื่อจะต้องเดินทางกลับ ก็มองเหตุการณ์รอบตัว เพื่อหาพล็อตเรื่องสำหรับ
เพลงเกี่ยวกับท่าฉลอม ครั้นเดินมาถึงท่าเรือเพื่อกลับไปฝั่งมหาชัย ก็ไม่ทันเรือข้ามฟากที่เพิ่งออก
จากท่าไป จำเป็นต้องรอเรือลำที่เพิ่งออกไป วนกลับมาเที่ยวใหม่ เพราะเวลากลางค่ำกลางคืนแบบนี้
เรือข้ามฟากมีให้บริการเพียงลำเดียว
ระหว่างนั้น ครูชาลีก็ได้พบกับนายท่าเรือ ท่าทางล่ำสันบึกบึม ผมขาว จึงนั่งลงคุยสารทุกข์สุกดิบฆ่า
เวลา ตามประสาคนบ้านเดียวกันแต่เพิ่งรู้จักกัน ลุงแกก็เลยเล่าประวัติการเป็นชาวเลของแกให้ฟัง
พร้อมกับชีวิตรักกับสาวพยอมที่ไม่สมหวัง เพราะสาวเจ้าจากไปแต่งงานกับไอ้หนุ่มถิ่นอื่น แม้ว่าฝ่าย
พระเอกของเราจะเทียวว่ายน้ำข้ามฝั่ง ท่าฉลอม - มหาชัย เพื่อเอาปลามาบำเรอสาวเจ้าอยู่มิได้ขาด
ระหว่างที่เล่าอยู่นั้น ในหัวครูชาลี จึงผุดท่อนแรกของเพลงอันเป็นอมตะ " พี่อยู่ไกลถึงท่าฉลอม แต่พี่
ไม่ตรอมเพราะรักพยอมยามยาก "
แต่จู่ๆเรือข้ามฟากก็ได้เวลาออกจากท่า ครูชาลีจึงรีบกระโดดขึ้นเรือ พร้อมกับตะโกนถามชื่อลุงคน
นี้ ลุงบอกว่าแกชื่อบุญเย็น
ครูชาลี ถือโอกาสช่วงนั้น ขออนุญาตเอาชีวิตรักของลุงบุญเย็นมาเขียนเป็นเพลง ลุงแกก็ถามว่า
เพลงอะไร
ครูชาลี บอกว่า " ท่าฉลอม "
แม้เนื้อหาจะออกมาในแนวทางของลูกทุ่ง แต่เพลงนี้เป็นเพลงลูกกรุง เมื่อนักร้อง คนแต่งอยู่ในกลุ่มศิล
ปินลูกกรุง แต่เพราะความดังของเพลงนี้ ทำให้วงการลูกทุ่ง หยิบเอาทำนอง และเนื้อหาของเพลง
" ท่าฉลอม " มาล้อเล่น โดยให้ชื่อว่า " บ้านยายหอม " ร้องโดย คำรณ สัมปุณณานนท์ สำหรับคน
แต่งนั้น บ้างก็ว่า เป็นครูไพบูลย์ บุตรขัน บ้างก็ว่าถ้าคนร้องไม่แต่งเองก็น่าจะเป็นชาญชัย บัวบังศร
บ้านยายหอม เคยถูก คาราบาว หยิบมาปัดฝุ่น นำมาบันทึกเสียงกันใหม่ครั้งหนึ่งในชุด" รอยคำรณ "
(2537 )
ที่มา.ชมรมอนุรักษณ์เพลงลูกทุ่งไทย