ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 07:21:26 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณมีแหวนหรือยัง  (อ่าน 3587 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongna
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 1731
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 589
สมาชิก ID: 1301


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 19 : Exp 68%
HP: 0%

สวัสดีค่ะ


« เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 09:38:34 pm »

แหวนประดับกาย

 

         เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ที่ประดิษฐ์จากโลหะมีค่าประกอบพลอยสี รูปร่างเป็นวงกลมเล็ก ๆ ใช้ประดับสำหรับสวมนิ้วมือ ที่เราคุ้นเคยเรียกว่า “แหวน” นั้นแท้ที่จริงการประดับมิได้ทำเพียงแค่นิ้วอย่างเดียวแต่สามารถนำมาประดับข้อมือ ตามเพลงกล่อมเด็ก “จันทร์เจ้า” กล่าวไว้ชัดเจนถึงการประดับแหวนอีกตำแหน่งหนึ่งคือ “จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า...” แหวนผูกมือชนิดนี้ในยุคต่อ ๆ มา ได้ลดขนาดลงสำหรับใช้รับขวัญ หรือตกแต่งเป็นส่วนประกอบเครื่องแต่งตัวจึงได้ชื่ออีกอย่างว่า “แหวนขวัญ”

    แหวนผูกข้อมือ หรือ แหวนขวัญ เป็นแหวนวงเล็ก ๆ ขนาดสวมนิ้วก้อยได้ฝังเพชรบ้าง ฝังทับทิมบ้าง หรือฝังมรกตบ้างไว้รอบวง นอกจากใช้ร้อยกับสายสร้อยแล้ว ยังใช้ตรึงส่วนที่เรียกว่า “กรองคอ” ของเครื่องแต่งกายตัวพระหรือตัวนาง เพื่อเตรียมไว้ให้เด็ก ๆ ใช้ยืนเครื่องในพิธีโกนจุก แทนการปักลายวูบวาบ บ่งบอกถึงยศศักดิ์ และฐานะทางบิดา มารดาของผู้โกนจุกโดยตรง

    แหวนไขว้ เป็นแหวนวงเล็ก แต่ไม่ค่อยมีราคามากนัก ให้เด็กใส่เล่นติดนิ้ว จะเป็นนิ้วไหนก็ได้ (คนธรรมดาจะไม่นิยมสวมนิ้วหัวแม่มือกัน)เวลาทำหายจะได้ไม่เสียดาย เพราะเด็กเจริญวัยโตเร็ว แหวนมักคับเร็วตามไปด้วย ผู้ใหญ่มักสั่งทำให้วงโตกว่านิ้ว แล้วเอาแหวนมาหุ้มด้วยสีผึ้งที่ด้านล่างเพื่อให้วงแคบลง จะได้ไม่หลุดจนกว่านิ้วจะโตได้ขนาดพอดีกับแหวน เด็กคนใดมีแหวนใส่ต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย วิ่งเล่นซุกซนมากไม่ได้ อาจเป็นเหตุทำแหวนสูญหาย เท่ากับเป็นการกำราบเหล่าทโมนอีกวิธีหนึ่ง
 


    สาวรุ่นวัยกระเตาะสมัยโน้นใครที่มีความสามารถด้านดนตรีไทย หรือการทำอาหาร เธอจะบรรจงสวมแหวนหัวพลอยวงเล็กจิ๋ว น่ารักติดนิ้วก้อย เมื่อสีซอ ดีดจะเข้หรือแม้แต่นั่งละเลงขนมเบื้องจะกระทำการด้วยกิริยาที่... เปิดโอกาสให้ได้ขยับนิ้วที่มี “แหวนก้อย” ให้วิบวับวูบวาบเข้าตาคนมอง

    ผู้ใหญ่มักจะใช้แหวนฝังเพชร หรือพลอยเม็ดใหญ่เดี่ยว ๆ นูนขึ้นสูง เรือนแหวนค่อนข้างเทอะทะ เรียกกันว่า แหวนหัว รูปแบบของแหวนที่มีการฝังหัวเพชรพลอยอย่างนี้ มีหลายแบบ มีชื่อเรียกไปตามลักษณะรูปพรรณ เช่น ถ้าหัวฝังสูงขึ้น แล้วมีเพชรล้อมเป็นหลั่น ๆ ลงมา โบราณเรียกว่า “แหวนรังแตน”

    หากมีเพชรล้อมเป็นหลั่น แต่หัวมีลักษณะเป็นรูปรี ๆ เหมือนหยดน้ำ ก็เรียกอีกอย่างว่า “แหวนแมงดา” อย่างนี้เป็นต้น

     ธรรมเนียมการสวมแหวนนอกจากเพื่อความสวยงาม บ่งบอกฐานะยศศักดิ์แล้ว ยังสวมเพื่อประกอบพิธีกรรมบางอย่างด้วย ผู้มีหน้าที่แต้มจุดเพียง 3 จุด กึ่งกลางหน้าผากคู่บ่าวสาว โดยหมายเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ซึ่งเรียกว่าการเจิมแป้งกระแจะนั้นคนเจิมมักสวมแหวนนพเก้า เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยหมายเอาเสียงเก้าคือความก้าวหน้า
 


   
            เราสวมแหวนตั้งแต่วงเดียวหรือหลายวงในมือแต่ละข้าง หากไม่เท่ากับเจ้านาย โดยเฉพาะเวลาโสกันต์ หรือพิธีโกนจุก ท่านจะทรงเต็มที่ข้างละ 4 นิ้วพระหัตถ์ ในพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินแต่งพระองค์ออกศึกจะทรงทั้ง 10 นิ้วพระหัตถ์ เป็นพระธำรงฝังพลอยสี 9 อย่าง 9 ชนิด ส่วนองค์ที่ 10 ฝังพลอยทั้ง 9 สี รวมอยู่ในพระธำรงองค์เดียวกัน เรียกว่าพระธำรงนพเก้า

     แหวนนพเก้ามี 2 ลักษณะ ถ้าตัวแหวนเรือนคล้ายปลอกมีด ฝังพลอยเรียงตามเรือน 9 ชนิด เรียกกันว่า แหวนนพเก้า ซึ่งเป็นแหวนในรูปแบบเก่า หากเป็นแหวนหัวมียอดบนสุดฝังเพชร แล้วลดหลั่นลงมารอบ ๆ เป็นพลอยสี 8 ชนิด ได้แก่ มณีแดง เขียวมรกต เหลืองบุษราคัม แดงแก่ ก่ำโกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย และไพฑูรย์ เป็นคติความเชื่อที่รับมาจากพราหมณ์ อันเป็นสีของดาวฤกษ์ทั้ง 9 ในนพเคราะห์ ทางโหรเรียกกันว่า มหาทักษา นับว่าเป็นสีอันมงคลล้ำเลิศ เราเรียกแหวนชนิดนี้ว่า แหวนมณฑปนพเก้า

     สมัยโบราณจริง ๆ นั้น ชาวบ้านธรรมดาไม่มีสิทธิและโอกาสที่จะใช้เครื่องประดับเป็นแหวนทองคำ เพราะมีกฎห้ามไว้ ถือว่าเป็นการเทียมหน้าเทียมตาเจ้านาย อย่างดีที่สุดใช้เพียงแหวนทองแดงเท่านั้น แม้แต่แหวนที่ทำจากทองคำ ลงยาสีฟ้าคือแหวนลงยาราชาวดี ก็ถูกห้ามขาดไม่ให้ชาวบ้านสวมใส่ ในสมัยรัชกาลที่ 1

    คนในราชสำนัก หรือแม้แต่คนที่คุ้นเคยกับราชสำนักมาก่อน ถ้าคืนชีวิตฟื้นมาได้ แล้วเห็นคนสมัยใหม่ประดับแหวนกันอย่างวิลิศมาหรา เข้าชุดกันทั้งสร้อยคอ ต่างหู คงหัวใจวายตายอีกรอบเป็นแน่แท้ 
   

          รู้ชนิดของแหวนมาพอควรแล้ว คราวนี้อ่านความเป็นมาของแหวนดูบ้าง ผู้รู้ท่านสันนิษฐานว่า แหวนมีที่มาจากจักรพระนารายณ์ของอินเดียโบราณ วิธีการทรงจักรของพระนารายณ์คือ สวมไว้ที่นิ้วชี้ หรือพระดรรชนี ทำเป็นรูปจักรหมุนได้รอบตัว

    การขุดพบหลุมศพมนุษย์ดึกดำบรรพ์ของนักโบราณคดี มักพบหินที่ทำเป็นรูปวงแหวน มีลักษณะเป็นจักรสวมอยู่ในข้อมือของซากโครงกระดูกแหวนจึงใช้ได้ทั้งสวมนิ้ว สวมข้อมือและประดับเครื่องแต่งกาย อย่างที่เล่ามาแต่ต้น

    เคยมีคนสรุปว่า คนโบราณรูปร่างน่ากลัว จะใหญ่โตเป็นยักษ์ปักหลั่น เพราะแหวนที่ปรากฏในหลุมศพวงโตกว่าที่จะใช้สวมนิ้วธรรมดา ๆ ถึง 2 เท่า แต่ผู้รู้กลับยืนยันว่าคนในสมัยไหน ๆ รูปร่างให้ใหญ่โตอย่างไรก็คงไม่หนีกันเท่าไรนัก แหวนที่ดูเหมือนว่ามีขนาดโตเกินเหตุนั้น แท้ที่จริงเป็นแหวนสำหรับทำขวัญ หรือรับขวัญโดยใช้ผูกข้อมือต่างหาก
 
 

   
             ปัจจุบันแหวนกลายเป็นเครื่องประดับตกทอดมาจากโบราณ ซึ่งยังเป็นที่นิยมตลอดมา ถึงขนาดก่อตั้งสถาบันออกแบบอัญมณีโดยเฉพาะ เพื่อออกแบบแหวนสมัยใหม่ ประกวดประชันกันเต็มที่ มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์วัสดุ เรียนรู้เกี่ยวกับการเลือก และเจียระไนเพชรพลอย ไว้รองรับตลาด เครื่องประดับอัญมณี แม่เม้าเห็นว่าเข้าท่าดี จบแล้วมีงานทำแน่ ๆ

     ถึงอย่างก็ตาม เครื่องประดับในรูปแบบโบราณที่ทำจากทอง กำลังเป็นที่ฮือฮา โดยเฉพาะทองโบราณของจังหวัดสุโขทัย ดูเหมือนว่าบางคนหลงใหลถึงขั้นขวนขวายหามาเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นแหวน สร้อย หรือเข็มขัด เพราะลวดลายสวย ฝีมือประณีต แลดูขลัง ควรค่าแก่การประดับเพื่อความภูมิฐาน บ่งบอกฐานะของผู้สวมใส่
 

   
       
 
 
 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีค่ะคุณผู้เยี่ยมชมยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!