ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 08:42:53 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เพลงเถา เพลงตับ เพลงอัตราสามชั้น สองชั้น ชั้นเดียว  (อ่าน 8171 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tanay2507
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 5543
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1931
สมาชิก ID: 27


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 35 : Exp 73%
HP: 0%


เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 31, 2012, 04:39:51 pm »

ต้องออกตัวกันไว้ก่อนว่า ไม่ใช่ผู้รู้ขนานแท้ในเรื่องเพลงไทยเดิมครับ
แค่เพียงว่าในช่วงหนึ่งของชีวิต มีคนรอบข้างเคยชอบเพลงไทยเดิม
อย่างคุณพ่อก็ชอบ พอถึงช่วงเวลารายการเพลงไทยของ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
เปิดรายการมาเป็นต้องมานั่งฟัง เพราะอยู่ในแชนนอนของธานินทร์ ซึ่งระบบสเตริโอในยุคนั้น ทำให้ฟังเพลงไทยเดิมได้ไพเราะมาก
ก็เลยพอได้ความรู้จากรายการมาบ้าง บางครั้งก็เห่อ ถึงขนาดซื้อขลุ่ยกับตำราโน้ตเพลงไทยเดิมมาหัดเป่าเล่น
ก็เลยพอจะมีพื้นฐานให้ชอบฟังเพลงไทยเดิมอยู่บ้าง นอกนั้นก็เป็นความรู้เก็บตก หาเอาเองจากในอินเตอร์เน็ตนี่แหละ

จะฟังเพลงไทยเดิม ก็คงต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาเทคเนคบางอย่างของเพลงไทยเดิมบ้างนะครับ


เพลงเถา

      เพลงเถา คือระเบียบวิธีการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยที่มีอัตราลดหลั่นกัน ประกอบด้วยอัตราสามชั้น สองชั้น และ ชั้นเดียว อัตราที่ลดหลั่นกันนี้ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 3 ขั้น จึงเรียกได้ว่า เพลงเถา ส่วนอัตราสี่ชั้น และอัตราครึ่งชั้นนั้นในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมบรรเลงกันแล้ว เพราะอัตราสี่ชั้นจะมีท่วงทำนองช้ายืดยาด อัตราครึ่งชั้นก็เร็วเกินไป ทำให้ไม่ได้รับความนิยมดังกล่าว


เพลงอัตราสามชั้น

        เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาเชื่องช้าใช้เวลาบรรเลงยาวกว่าอัตราอื่นๆ มี 2 ลักษณะ ดังนี้คือ เพลงอัตราสามชั้นโดยกำเนิด เป็นเพลงที่ครูเพลงได้ประพันธ์ขึ้นโดยตรง เช่นพวกเพลงเสภาต่างๆ ที่กำเนิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้คิดประดิษฐ์เพลงไทยในอัตราสามชั้นไว้มากมาย จนถือได้ว่าท่านเป็น "บิดาแห่งเพลงสามชั้น" ที่เดียวนอกจากนั้น ลักษณะเพลงอัตราสามชั้นอีกประเภทหนึ่งคือ เพลงอัตราสามชั้นที่ถือกำเนิด มาจากเพลงอื่น โดยอาศัยทำนองเพลงดั้งเดิมในอัตราสองชั้น แล้วแต่งขยายขึ้นในภายหลัง


เพลงอัตราสองชั้น

      เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลากลางๆ ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป แยกพิจารณาว่าเป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยกำเนิด ซึ่งครูเพลงได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยตรงเพื่อใช้ในการบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร ส่วนเพลงอัตราสองชั้นที่ถือกำเนิดจากเพลงอื่น ก็หมายถึง เพลงที่ครูได้นำเพลงเร็วชั้นเดียวของเก่ามาขยายขึ้นอีกเท่าตัวเป็นเพลงเร็ว สองชั้น เพื่อใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนละคร


เพลงอัตราชั้นเดียว

       เป็นชื่อเรียกอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาด้วยประโยคสั้นๆ และรวดเร็วในสมัยโบราณ จัดอยู่ในประเภทเพลงเร็ว ต่างๆ รวมทั้งเพลงเกร็ด เพลงหางเครื่องก็นำมารวมไว้ในประเภทชั้นเดียวนี้ด้วย

     *** (หมายเหตุส่วนตัว) เรื่องของความเร็วในเพลงไทยเดิมนั้น ผมเคยฟังจากรายการเพลงของดร.อุทิศ ท่านให้หลักสังเกตไว้ ให้ดูฟังจากจังหวะเสียงตีฉิ่งครับ ถ้าเป็นอัตราสามชั้น ช่วงห่างของเสียงตีฉิ่งเราจะนับเลขในใจได้ถึง 3  แต่ถ้าเป็นความเร็วอัตราสองชั้น จังหวะเสียงตีฉิ่ง เราจะนับเลขในใจได้ 2 ถ้าเป็นอัตราความเร็วชั้นเดียว เราก็นับเลขในใจได้แค่ครั้งเดียวครับ  เสียดายดร.อุทิศ ท่านอายุไม่ยืน ท่านทำให้การฟังเพลงไทยเดิมนั้น ไม่น่าเบื่อ ยิ่งฟังก็เห็นคุณค่าของเพลงไทยเดิมครับ

       ส่วนเพลงตับ หมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง และตับเพลง

         ๑. ตับเรื่อง  หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตรา คนละประเภท หรือหมายถึง เพลงที่ร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครที่เป็นเรื่อง เป็นชุด หรือเป็นตอน ตัวอย่างของเพลงตับเรื่อง เช่น ตับนางลอย  ตับพระลอ(ตับเจริญศรี)
 และตับนางซินเดอริลลา
        ตับนางลอย ได้แก่เพลง ยานี  เชิดฉิ่ง  แขกต่อยหม้อ  โล้  ช้าปี่  หรุ่ม  ร่าย  เต่าเห่  ตะลุ่มโปง  พ้อ  ขวัญอ่อน  กล่อมพญา
 พราหมณ์เก็บหัวแหวน  แขกบรเทศ  เชิดนอก
        ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) ได้แก่เพลง เกริ่น  ลาวเล็กตัดสร้อย  ลาวเล่นน้ำ  สาวกระตุกกี่  กระแตเล็ก  ดอกไม้เหนือ  ลาวเฉียง
  ลาวครวญ  ลาวกระแช
        ตับนางซินเดอริลลา  ได้แก่เพลง วิลันดาโอด  ฝรั่งจรกา  ครอบจักรวาล  ฝรั่งรำเท้า  เวสสุกรรม  หงส์ทอง


เพลงยานี
    
เมื่อนั้นองค์ท้าวทศพักตร์ยักษา
แลเห็นเบญกายแปลงมาได้อย่างสีดาไม่คลาดคลาย
แย้มยิ้มพริ้มพักตร์พยักตรัสแม้นหลานตัดศึกสมอารมณ์หมาย
เมืองมารจะเป็นสุขสนุกกายเจ้าเร่งผันผายไปให้ทันกาล

           ๒. ตับเพลง  หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนทำนองสอดคล้องต้องกัน คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงคล้ายๆ กัน คือ สำเนียงคล้ายๆ กัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะเดียวกัน เช่น เป็นสองชั้นเหมือนกัน หรือสามชั้นเหมือนกัน  ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวอย่างตับเพลง เช่น ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น)  ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น)  และตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น)
        ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น)  ได้แก่เพลง ลมพัดชายเขา  แขกมอญบางช้าง  ลมหวน  เหราเล่นน้ำ
        ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น)  ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง  จระเข้หางยาว  ตวงพระธาตุ  นกขมิ้น
        ตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น)  ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง  สามเส้า  ตวงพระธาตุ  นกขมิ้น  ธรณีร้องไห้


ลมพัดชายเขา
พระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา

    
เวลาดึกเดือนตกนกร้องระวังไพรไก่ก้องกระชั้นขัน
เสียงดุเหว่าเร้าเรียกหากันฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย
พระลุกขึ้นเหลียวแลชะแง้หาเจ้าตามาร้องเรียกหรือไฉน
ลมชวยรวยรสสุมาลัยหอมกลิ่นเหมือนสไบบังอร
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2012, 04:43:32 pm โดย tanay2507 » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!