prisana
ปลดออกจากสมาชิก
คำขอบคุณ: 5306
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1271
สมาชิก ID: 1256
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 28 : Exp 97%
HP: 0%
อนุรักษ์บทเพลงดีมีคุณค่าให้คงอยู่คู่แผ่นดินสืบไป
|
|
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 04:12:39 am » |
|
ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2468 ชื่อจริงคือ เกียรติพงศ์ กาญจนภี เป็นคนกรุงเทพฯ บิดา - มารดา
ชื่อ หลวงพินิจดุลอัฏ (พุฒ กาญจนภี) และนางเกษม กาญจนภี เรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนจับชั้นมัธยมปีที่ 6
ในปี พ.ศ. 2491 ก่อนจะไปเรียนต่อประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสแต่งเพลงกับครูสมาน กาญจนะผลิน
เพลงแรกที่แต่งคือเพลงดอกโศก
และปีเดียวกันนั้นเองก็ได้แต่งเพลงความรักเรียกหา ประกอบภาพยนตร์ให้กับจรี อมาตยกุล
ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องสุภาพบุรุษจากอเวจี
ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เขียนเล่าเอาไว้ในหนังสือ 100 ปี เกษม พินิจดุลอัฎ ว่า
"เมื่อจบการศึกษา จาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ได้เข้ามาช่วยงานในคณะละครศิวารมณ์ ซึ่งเป็นของ น.อ.สวัสดิ์ ฑิฆัมพร (ส.ฑิฆัมพร)
ได้เริ่มแต่งเพลงกับครูสง่า อารัมภีร โดยร่วมแต่งคำร้องมีครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้ให้ทำนอง จนถึงประมาณปี พ.ศ.2496 ก็หมดยุคละครเวที..."
นามปากกาสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ที่ใช้ในการแต่งเพลงนั้น
นาวาอากาศเอก สวัสดิ์ ฑิฆัมพร ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ตั้งให้
คำว่า สุนทรียะมาจากคำว่า aesthetic คือความรู้สึก อันรู้จักค่าของความงาม ทำให้ไพเราะ อ่อนโยน น่ารัก
ซึ่งตั้งให้ตามเค้าของนิสัย
แต่คำว่าสุนทรียะ แล้วแปลงเป็นสุนทรียานั้นเพื่อให้ดูอ่อนโยนลง
ส่วน ณ เวียงกาญจน์ หมายถึงแดนทอง หรือเมืองทอง นั้น ตั้งให้ตามเค้าของตระกูล
ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสมาน กาญจนะผลิน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2538 ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
เขียนบอกไว้ว่า "...ผมเริ่มแต่งเพลงร่วมกับหมานมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2491 แล้วก็แต่งด้วยกันเรื่อยมาแทบจะไม่ขาดตอน
จะมีเว้นไปบ้างก็ช่วงที่ผมออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
แม้กระนั้นก็ดี หมานก็ยังอุตส่าห์ส่งทำนองตามไปให้แบบนานๆ ครั้ง โดยเขียนบอกไปว่า
"ถ้ามีเวลาก็ลองขยับๆ ส่งไปให้ด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวนายจะลืมเสียหมด"
เพลงที่ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์แต่งคู่กับครูสมาน กาญจนะผลิน ส่วนมากจะมอบให้ชาญ เย็นแข
เป็นผู้ขับร้องในยุคละครเวทีสมัยแรก เช่นเพลงกลับมาหาพี่เถิด เพลงกลิ่นเนื้อนาง เพลงกลิ่นไม้แซมผม เพลงคะนึงนาง
เพลงจำปาทองเทศ เพลงดาวใจร้าย เพลงดาวประดับฟ้า เพลงโธ่เอ๋ยดวงใจ เพลงทูนหัวหลอกพี่ เพลงเทวีในฝัน
เพลงพี่ฝันร้าย เพลงรักเขาข้างเดียวเสียแล้ว เพลงรักพี่นะ เพลงรักที่ต้องรอคอย เพลงรักสุมอก เพลงลาที ความรัก
เพลงสายใยแห่งความรัก เพลงอ้อมอกน้องนาง ฯลฯ
... เพลงนี้เป็นเพลงที่ชาญ เย็นแข ขับร้องบันทึกเสียงไว้เป็นคนแรก มีความไพเราะและเป็นอมตะอีกเพลงหนึ่งในแบบของสังคีตประยุกต์
คาดว่า เป็นเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นในราว พ.ศ.2497
ต่อมา พ.ศ.2494 ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานเป็นคนบอกบทละครให้คณะละครศิวารมณ์ของนาวาอากาศเอกส วัสดิ์ ฑิฆัมพรซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่
เลยได้แต่งเพลงร่วมกันกับครูสง่า อารัมภีร อีกหลายเพลง เช่น เพลงนางแก้วในดวงใจ ที่บุญช่วย หิรัญสุนทร ซึ่งเป็นนักร้องประจำวง
และเคยชนะการประกวดการร้องเพลงมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2492 เป็นผู้ขับร้อง
หลังจากกลับจากอังกฤษ สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เข้าทำงานฝ่ายวิชาการ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
พร้อมเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็แต่ยังร่วมแต่งเพลงกับครูเพลง อาทิ ครูเอื้อ สุนทรสนาน,
ครูเวส สุนทรจามร, ครูสมาน นภายน, ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์, และ ม.ล.ประพันธ์ สนิทวงศ์
แต่เพลงที่ได้รับความนิยม คือ เพลงรักคุณเข้าแล้ว สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ แต่งคำร้อง ส่วนทำนองเป็นของ ครูสมาน กาญจนะผลิน
โดยได้ สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นผู้ขับร้อง เพลงนี้เป็นเพลงแรกของวงการเพลงไทยสากล ที่ใช้สรรพนาม คุณ แทนคำว่า เธอ และใช้ ผม แทนคำว่า ฉัน
สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ แต่งเพลงมากกว่า 1,000 เพลง อาทิ รักปักใจ, แน่หรือคุณขา, วิหคเหินลม, รักคุณเข้าแล้ว,
เพียงคำเดียว, ความรักเจ้าขา, จำพราก, ที่รัก, ชีวิตเมื่อคิดไป, ใจพี่, เกิดมาอาภัพ, สัญญารัก, นกเขาคูรัก, อุทยานรักไทรโยค,
รัก, วอนรัก และออเซาะรัก
แต่ก็ยังคงทำงานด้านการเงิน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารแห่งเอเชีย, ผู้จัดการฝ่ายการเงินบริษัทอิตาเลี่ยนไทย,
หัวหน้าฝ่ายบัญชีเครือซิเมนต์ไทย และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารสหธนาคาร
นอกจากเคยแต่งเพลงพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ให้จังหวัดนราธิวาส ยังแต่งเพลงให้กับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย,
สมาคมภริยาแพทย์แห่งประเทศไทย, งานครบรอบ 50 ปีธรรมศาสตร์, เพลงธนาคารแห่งประเทศไทย
ในชุด แด่เธอผู้เป็นที่รัก จัดทำโดยกองกำลังรักษาพระนคร หารายได้สมทบทุนมูลนิธิ ท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก
จำนวน 3 เพลงคือ เพลงแด่เธอผู้เป็นที่รัก, แม่ และช่างกระไรใจคน
ปีพ.ศ.2543 สุนทรียา ณเวียงกาญจน์ แต่งเพลงนางสาวไทย ให้สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ใช้ในการประกวดนางสาวไทย และแต่งเพลง 72 พรรษา พระเมตตาปกเกล้า เฉลิมพระชนมายุ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ส่วนผลงานรางวัลทรงเกียรติได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ชนะเลิศคำร้องเพลงประเภท ก. จากเพลงใจพี่,
รางวัลรองชนะเลิศคำร้องเพลงวิหคเหิรลม งานประกวดแผ่นเสียงทองคำ ครั้งที่ 1,
รางวัลเสาอากาศทองคำ สถานีวิทยุเสียงสามยอด ในเพลงเพียงคำเดียว
และรางวัลนราธิป เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักเขียน ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ปีพ.ศ.2549 สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ก่อนได้รับเลือกจากคณะอนุกรรมการจัดทำเพลงเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เป็นหนึ่งใน 4 นักประพันธ์เพลงศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับ อาจินต์ ปัญจพรรค์,
ชาลี อินทรวิจิตร และสุรพล โทณะวณิก ประพันธ์คำร้องเพลงพ่อแห่งแผ่นดิน เพื่อจัดทำเป็นซีดีเผยแพร่ไปสู่ประชาชน
โดยการบันทึกเสียงจะใช้นักร้องจำนวน 80 คน ประกอบด้วย ศิลปินแห่งชาติ และนักร้องยอดนิยม อาทิ สวลี ผกาพันธุ์,
รวงทอง ทองลั่นทม, สุเทพ วงศ์กำแหง, ธงชัย แมคอินไตย์ และไมค์ ภิรมย์พร
ปัจจุบันสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ในวัย 81 ปี ดำรงตำแหน่งกรรมการบัญญัติศัพท์เศรษฐศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทไทยบรรจุภัณฑ์ และการพิมพ์ จำกัด (มหาชน)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.janicha.net/forum/index.php?topic=398.0
|