ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 02:04:44 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เบญจมินทร์  (อ่าน 9139 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
preem
preem
*

คำขอบคุณ: 44011
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4565
สมาชิก ID: 8


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 55 : Exp 1%
HP: 13.3%


เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 05, 2009, 09:31:48 pm »



ประวัติ

เบญจมินทร์ มีชื่อจริงว่า " ตุ้มทอง โชคชนะ " (ในช่วงหลังเปลี่ยนมาเป็น " คนชม " เกิดเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 ที่ จ.อุบลราชธานีเป็นบุตรสิบเอก บุญชู และนางคูณ โชคชนะ ผู้เป็นแม่นั้นเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ นับถือศาสนาคริสต์ และทำหน้าที่ต้นเสียงการขับร้องในโบสถ์ ทำให้เบญจมินทร์ได้รับมรดกด้านการร้องเพลงมาจากผู้เป็นแม่ และเขาเองก็ชื่นชอบการร้องเพลงอย่างมากด้วย

เบญจมินทร์ จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชที่บ้านเกิด ซึ่งต่อมา เขาก็ได้นำชื่อโรงเรียนมาดัดแปลงเป็นชื่อในวงการบันเทิงของเขา สมัยที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่นี่ เบญจมินทร์ ชื่นชอบวิชาภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนอย่างมาก ระหว่างนั้น เขาเริ่มศึกษาเรื่องการแต่งเพลงโดยศึกษาจากผลงานของครูเพลงอย่าง"พราหมณ์" ,"นารถ ถาวรบุต" ,"พุฒ นันทพล" , "จำรัส รวยนิรันทร์" และ"มานิต เสนะวีนิน" โดยการนำเนื้อเพลงมาอ่านท่อง จนเกิดความรู้เรื่องการสัมผัสคำ อักขระ พยัญชนะ วรรคตอน โดยไม่มีครูที่ไหนมาสอน

หลัง จบการศึกษา เบญจมินทร์สมัครเป็นตำรวจ และได้รับยศเป็นพลตำรวจ แต่ก็เป็นอยู่ได้แค่ปีเดียวก็ลาออก และเข้ากรุงเทพฯ ในปี 2480 ก่อนจะสมัครเป็นครูเทศบาล ได้สอนชั้นประถมปีที่ 3 ที่โรงเรียนแถบปทุมวัน เขาเป็นครูอยู่ 2 ปี ก็อพยพมาอยู่นครนายก แต่ต่อมาก็ย้ายกลับเมืองหลวงอีกครั้ง และทำงานหลากหลาย ทั้งครู นักหนังสือพิมพ์ พนักงานที่ดิน พนักงานเทศบาล
เข้าวงการ
เบญจมินทร์ ทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ รุ่นเดียวกับ อิศรา อมันตกุล ต่อมาย้ายมาอยู่ หนังสือพิมพ์เอกราช และเมื่อมีการสังสรรค์หลังเลิกงาน เขาก็หาโอกาสแสดงความสามารถด้านการร้องเพลงและแต่งเพลง(ในวงเหล้า)จน อิงอร หรือ ศักดิ์เกษม หุตาคม เห็นแวว จึงชวนมาร้องเพลงสลับฉากในละครที่เขาทำ เบญจมินทร์ ได้ร้องเพลงสลับฉากในเรื่อง " ดัชนีไฉไล " เป็นเรื่องแรก (บางตำราบอกว่าเขาร้องเพลงแรกในชีวิต ชือเพลง "ชายฝั่งโขง" ประพันธ์โดย "จำรัส รวย นิรันดร์ )"จากนั้นเขาก็ร้องเพลงเรื่อยมา เบญจมินทร์เริ่มเป็นที่รู้จัก และชื่นชอบของแฟนเพลงจากเพลง " ชายฝั่งโขง" ขณะที่ร้องอยู่กับวงดนตรีดุริยโยธิน แต่มาโด่งดังสุดขีดหลังจากหันมาร้องเพลงรำวงอย่างจริงจัง เขาจึงจับแนวเพลงประเภทนี้มาตลอด จนถึงยุคที่เพลงรำวงเสื่อมความนิยม และถูกเพลงลูกทุ่งเข้ามาแทนที่ นักร้องคนอื่นๆหันไปร้องเพลงลูกทุ่งกันหมด เบญจมินทร์ ก็ยังคงร้องเพลงรำวงอยู่เช่นเดิม

แต่งเพลง

ก่อน เข้ากรุงเทพฯ เบญจมินทร์หลงไหลเพลงรำวง - รำโทนอย่างมาก ทั้งยังเคยเข้าร่วมร้องเพลงในวงรำวง - รำโทนแถวบ้านด้วย ทำให้เขาเชี่ยวชาญเรื่องบทเพลงทำนองนี้อย่างมาก เมื่อได้รับการติดต่อจากบริษัทแผ่นเสียง เขาจึงนำความเชี่ยวชาญนี้มาใช้อย่างจริงจัง

เบญจมินทร์ บอกว่า การแต่งเพลงของเขาได้รับอิทธิพลมาจาก " พรานบูรพ์ " (จวงจันทร์ จันทรคณา) ที่เขาชื่นชอบอย่างมาก

เพลง แรกที่เขาแต่งอย่างเป็นจริงเป็นจังมีชื่อว่า " กล่อมขวัญใจ " แต่ไม่ได้ถูกนำไปบันทึกเสียง หากแต่หลังแต่งเสร็จ เขานำไปร้องกล่อมเด็กข้างบ้านให้นอน

เบญจ มินทร์หันมาแต่งเพลงอย่างจริงจังราวปี 2488 ซึ่งช่วงนั้น รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามให้การสนับสนุนเพลงรำวง - รำโทนอย่างมาก เพลงที่เขาแต่งจึงเป็นเพลงรำวง โดยชุดแรกมีอยู่ 10 เพลง หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือเพลง "เมฆขลาล่อแก้ว" ในช่วงแรกเขาแต่งให้กับห้างแผ่นเสียง บริษัท กมลสุโกศล ในสนนราคาเพลงละ 500 บาท เพลงรำวงในยุคแรกๆ ของเขา ยังใกล้เคียงกับของเดิม คือเป็นเพลงสั้นๆ ประมาณ 2 ท่อน เป็นการหยิบเอามรดกดั้งเดิม ของรำโทนอีสานมาปรับปรุงตกแต่งให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ปี 2491 เมื่อเริ่มมีการบันทึกแผ่นเสียงเพลงรำวง - รำโทน เบญจมินทร์จึงเร่งผลิตผลงานอย่างเอาจริงเอาจัง เขาแต่งเพลงให้ห้างแผ่นเสียงคาเธ่ย์ราว 50 เพลงในสนนราคาเพลงละ 500 บาทในช่วงนี้ เขาได้สร้างแบบฉบับของตัวเองขึ้นมาอย่างโดดเด่น จากเพลงรำวงแบบเดิม ที่มีอยู่ 2 ท่อน เขาก็เพิ่มเป็น 3 - 4 ท่อน รวมทั้งใส่พล็อตเรื่องลงไปในเพลง มีการเพิ่มเครื่องดนตรีลงไป แทนที่จะมีแต่กลองโทนเป็นหลัก และก็ได้รับความนิยมอย่างสูง จน สาหัส บุญหลง (พฤหัส บุญหลง) เพื่อนร่วมคณะละคร ตั้งฉายาให้เขาว่า ราชาเพลงรำวง

จาก นั้น เบญจมินทร์ก็มีผลงานตามมาอีกมาก โดยมีทั้งประเภทแต่งเองร้องเอง ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี โดยเพลงดังที่สุดของเขาในยุคนั้นก็คือเพลง " รำเต้ย " ที่ขึ้นต้นว่า " สวยก็จริงนะสาว ขาวก็จริงนะน้อง....." นอกจากนั้นก็ยังมีเพลงที่แต่งให้คนอื่นร้อง และร้องเพลงของครูเพลงท่านอื่นด้วย

แม้ กระทั่งบริษัทอัศวินแผ่นเสียงและการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ก็ยังรับสั่งให้ช่วยแต่เพลงให้ เป็นความปราบปล้มของเบญจมินทร์อย่าง
เป็นทหาร - บุกแดนอารีดัง
ตอนที่ร้องเพลงสลับฉาก โชคชะตาทำให้เขาได้เจอกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเขาไปร่วมในงานวันเกิดของท่าน และเพราะความเมาประกอบกับน้ำเสียงในการร้องเพลง ทำให้จอมพลเกิดถูกชะตา และรับเขาเข้าเป็นทหาร ต่อมาเขาก็ตัดสินใจสมัครไปสมรภูมิเกาหลีตาม คำชวนของนายทหารกองดุริยางค์ทหารในปี 2499 เบญจมินทร์ไปอยู่ที่เกาหลีนาน 6 เดือน เมื่อกลับมา เขาก็แต่งเพลงเกี่ยวกับเกาหลีมากมายหลายเพลง ทั้ง " อารีดัง " , " เสียงครวญจากเกาหลี " " รักแท้จากหนุ่มไทย " และ "เกาหลีแห่งความหลัง" ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมสูงสุด เบญจมินทร์รับราชการทหารอยู่ 5 ปีก็ ลาออกจากกองทัพ

ปั้น ทูล ทองใจ

นอก จากเพลงรำวงสนุกสนานแล้ว เบญจมินทร์ ยังประพันธ์เพลงช้า หรือเพลงหวานได้ในระดับดีเยี่ยม และในช่วงปี 2499 - 2500 เขาเป็นคนสร้างให้ ทูล ทองใจ โด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทยจากเพลงช้าของเขาหลายเพลง เช่น " โปรดเถิดดวงใจ " , "นวลปรางนางหอม " , " ในฝัน " และ " เหนือฝัน "

และ ด้วยความทรนง อันเป็นนิสัยสำคัญของเขา เมื่อความนิยมในผลงานเพลงของเขาสู้กับนักร้องรุ่นใหม่อย่าง สุรพล สมบัติเจริญไม่ได้ รวมทั้งเกิดกรณีการแต่งเพลงตอบโต้กัน โดยเบญจมินทร์ เขียนเพลง " อย่าเถียงกันเลย " ต่อว่าว่าสุรพลกรณีที่ร้องเพลงตำหนิ ผ่องศรี วรนุช ที่ลาอกจากวงไป และสุรพล ก็แต่งเพลงตอบโต้เขาชื่อ " สิบนิ้วขอขมา " ซึ่งเสียงตอบรับของแฟนเพลงก็หันไปทางสรุพลมากกว่า ดังนั้น เบญจมินทร์ ก็จึงยกกิจการวงดนตรี " เบญจมินทร์และสหาย " ที่เพิ่งตั้งเมื่อปี 2507 ให้กับลูกศิษย์รักคนที่ 2 กุศล กมลสิงห์ เจ้าของฉายา ขุนพลเพลงรำวง และหันหลังให้กับวงการเพลงทันทีโดยไม่แยแส ในปี 2508 ก่อนจะหันไปจับงานบันเทิงสาขาใหม่
ทำหนัง - ละคร , งานเขียน
เบญจมินทร์หันมาสร้างภาพยนตร์เรื่อง " เสือเฒ่า " , " ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ " และ " แสนงอน " เคยเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง " เพื่อนตาย" และพระรองเรื่อง " สุภาพบุรุษเสือไทย " และเคยเป็นตัวประกอบในเรื่อง " ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น " เคยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง " ไอ้โต้ง " , " แผลหัวใจ " เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง " ขุนแผนผจญภัย " นอกจากนี้ก็ยังเคยเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บ้านเมือง รวมทั้งเขียนเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง
ชีวิตครอบครัว
เบญจมินทร์ สมรสกับนางทองขาว มีบุตรธิดารวม 5 คน ได้แก่ เบญจมินทร์ , มณเฑียร ,ขวัญทิพย์ , มณฑล และ อาริยา และตลอดชีวิต เขาไม่เคยมีบ้านเป็นของตนเองแม้แต่หลังเดียว จนกระทั่งในช่วงบั้นปลายชีวิต เขาไปขอเจียดที่ดินเจ้าของที่ดินย่านคลองประปา เจ้าของร้านข้าวแกงที่เขาติดอกติดใจ ปลูกบ้านหลังเล็กๆ บนพื้นที่ขนาด 3 คูณ 4 เมตร เพื่อใช้อาศัยอยู่ตามลำพัง แยกจากครอบครัว แม้ว่าตัวเองจะป่วยเป็นอัมพฤกษ์

ลาลับ
เบญจมินทร์ ทิ้งชีวิตและผลงานมากมายประดับวงการบันเทิงไปเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2537 บนรถแท็กซี่ ระหว่างการนำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี แพทย์ระบุว่าเขาเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลว





ที่มา.ชมรมอนุรักษณ์เพลงลูกทุ่งไทย
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า


อนิจจา มนุษย์ นี่หนอ >
 : ขาดเงิน อยากได้เงิน พอมีเงิน อยากมีอำนาจ
 : ขาดเมีย อยากได้เมีย พอมีเมีย อยากหาเมียน้อยๆ
 : ขาดเพลง อยากได้เพลง พอมีเพลง อยากสร้างชื่อให้ระบือโลก
lek1902
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2009, 11:58:36 am »

ขอบคุณ..คุณพรีมคะ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
midroad
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2009, 09:43:21 pm »

เอาข้อมูลมาเพิ่มเติมครับ ผมชอบสะสม
ครูเบญจมินทร์

ระลึกถึง “ครูเบญจมินทร์”
      เปรียบราชาเพลงรำวงโด่งดังก้อง
   ชนยกย่องเป็นยอดครูผู้สร้างสรรค์
   เพลงรำเต้ยเคยรำร่ายอีกอายจันทร์
   ปลูกชีวันให้สดชื่นรื่นดวงมาลย์
      สิบมีนาครูลาลับไม่กลับแน่
   เหลือเพียงแต่บทเพลงบรรเลงขาน
   ตราบสำเนียงเสียงเพลงร้องก้องกังวาน
   เหมือนครูท่านนั้นเคียงใกล้ไม่ลับลา (ประพันธ์โดย พรสันต์ ส.ห้องเงิน)

   วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2540 ครบ 3 ปี ที่วงการเพลงไทยโดยเฉพาะนักเพลงลูกทุ่งต้องสูญเสียบรมครูเพลงลูกทุ่งผู้ยิ่งใหญ่ไป หลายท่านยังจำได้ถึงเพลงรำลงที่มีเนื้อหาว่า “สวยจริงนะสาว ขาวก็จริงนะน้องแม้มีทองจะให้เจ้าแต่ง ครั้นเมื่อถึงยามแลงจะพาน้องแต่งตัวเดิน” เพลงนี้เป็นที่รู้จักของนักฟังเพลงโดยทั่วไป พอขึ้นดนตรีของเพลงนี้เราจะได้ยินเสียงดนตรีที่นำขึ้นมาก่อนคือหีบเพลงชักหรือที่เรียกกันว่า “แอคคอเดี้ยน” อย่างไพเราะเพราะพริ้งมาก ใช่แล้วครับ เพลงรำเต้ยที่โด่งดังทั่วเมืองไทยจากเสียงร้องของ ราชาเพลงรำวง “ครูเบญจมินทร์”
   ครูเบญจมินทร์มีชื่อจริงว่า ตุ้มทอง  โชคชนะ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2464 บิดาชื่อ สิบเอกบุญชู  โชคชนะ มารดาชื่อ นางคูน  โชคชนะ เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี
   จบการศึกษามัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบญจม  มหาราช อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หลังจากจบการศึกษาก็เข้ากรุงเทพฯ เหมือนเช่นคนอื่น ๆ ที่มีความหวังจะมาหาประสบการณ์และความสำเร็จในเมืองหลวง ได้รับการสนับสนุนจากคุณพร้อมสิน (พันคำ) สีบุญเรืองและคุณหญิงน้อมจิตร อรรถไกวัลที เข้าสู่วงการบันเทิง
   ทำงานมาหลายอย่าง เคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ แสงละคร เขียนบทลิเก เขียนบทภาพยนตร์ บทละคร เป็นนักร้องสลับฉากหน้าม่านโรงละคร และยังเคยแสดงภาพยนตร์และรับราชการตำรวจที่จังหวัดปราจีนบุรี
   ในชีวิตที่เป็นนักร้อง บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกจากการประพันธ์ของ คุณจำรัส  รวยนิรันดร์ ร่วมกับคุณนารถ  ถาวรบุตร ในเพลง “ชายฝั่งแม่น้ำโขง” ในปี พ.ศ.2499 ได้เข้ารับการทหารและสมัครไปรบที่เกาหลีในปีนี้เอง ไปเกาหลีเป็นแห่งแรกที่เดินทางไปก็คือ “หมู่บ้านอารีดัง” ณ ที่แห่งนี้เองก็เป็นตำนานบทเพลงอมตะที่ครูเบญจมินทร์ได้แต่งเพลงขึ้น คือเพลง เสียงครวญจากเกาหลี “โอ้อารีดัง ก่อนยังเคยชื่นบาน ทุก ๆ วันรื่นรมย์สมใจ ถึงยามราตรีเหล่านารีทั่วไป ระเริงใจร้องรำตามเสียงเพลง” และได้ให้คุณสมศรี  ม่วงศรเขียว ร้องบันทึกแผ่นเสียง ส่วนครูเบญจมินทร์ก็ได้ร้องเพลงโต้ตอบกันจากการแต่งของท่านเองในเพลง “รักแท้จากหนุ่มไทย” ที่มีเนื้อเพลงท่อนแรกเป็นภาษีเกาหลีว่า “อเมริกา ตะคื่อดังเหร่ ชายีนาคื่อรี” และเนื้อภาษาไทย “โอ้ความรักเอย ใครเลยหรือจะรู้สิ้น อยู่แดนดินหรือถิ่นสวรรค์ ก็ยังมีรักเคียงรักกันเพียงชีวัน ถึงพรากจากกันก็ยังคงรัก” ซึ่งให้ความหมายเป็นอันมากสำหรับความรักต่างแดนที่เกิดขึ้นและเชื่อได้ว่าท่านนักรบที่ผ่านสมรภูมิเกาหลีมาแล้วนั้น จะต้องจดจำจารึกบทเพลงทั้ง 2 เพลง นี้ไม่รู้ลืมกันทีเดียว
   นอกจากท่านจะร้องเองแล้ว ครูเบญจมินทร์ก็ยังได้สร้างลูกศิษย์ให้เกิดขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่งอีกหลายคน ยกตัวอย่างเช่น คุณทูล  ทองใจ นักร้องลูกทุ่งเสียงหวาน ที่ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกในชีวิตจากการแต่งของท่านในเพลง “พี่ทุยหน้าทื่อ” และเพลงที่ทำให้คุณทูล  ทองใจมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศก็คือ “เพลงโปรดเถิดดวงใจ” และได้สร้างศิษย์รักอีกคนหนึ่งเพื่อสืบทอดแนวเพลงรำวงก็คือ “คุณกุศล  กมลสิงห์” เป็นศิษย์คนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ร้องเพลงที่ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงไว้หลายเพลง เช่น รักริษยา รอยจูบ เสน่ห์ตา วาจาเศรษฐี เป็นต้น
   ผลงานเพลงที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีอีกหลายเพลงที่รู้จักกันเป็นอย่างดีโดยที่ท่านเป็นผู้ร้องเองคือ เพลงขันจมบ่อ อายจันทร์ รักเมียหลวงห่วงเมียน้อย เกาหลีแห่งความหลัง กระต่ายเพ้อ และยังมีอีกมากมาย
   ผู้เขียนเคยได้พบเห็นท่านในงานเชิดชูครูเพลงครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่เวทีกลางแจ้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2536 ซึ่งตอนนั้นสุขภาพท่านก็ไม่สู้ดีนักเป็นอัมพฤกษ์ ตอนขึ้นเวทีแสดงก็ต้องช่วยกันพยุงขึ้น หลังจากนั้นก็ไม่ได้พบท่านอีกเลย มาทราบข่าวอีกครั้งก็เมื่อท่านได้เสียชีวิตแล้ว บทเพลงของครูเบญจมินทร์ยังคงอยู่ในภิภพของเสียงเพลงตลอดไป ถึงแม้ว่าบทเพลงจะมีอายุถึง 40 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังได้รับความนิยมจากผู้ฟังตลอดมา มีนักร้องอีกหลายท่านที่นำบทเพลงของท่านมาบันทึกกันใหม่คนแล้วคนเล่า แต่ก็ไม่ได้ทำให้เราลืม เจ้าของเพลงดั้งเดิมไปได้เลย
   เพลงซึ่งเราภูมิใจและเรียกได้อย่างเต็มปากว่า เพลงก็คือเพลงที่มีลักษณะของภาษาไทย ที่มีคำร้องเป็นบทร้อยกรอง-บทกวี ที่มีความหมายที่ถูกต้องตามอักขระและบันไดเสียงธรรมชาติ ของผู้ขับร้องด้วยอารมณ์ของศิลปินผู้ที่ร้องเพลง และให้เกียรติต่อผู้ฟัง แน่นอนครูเบญจมินทร์ก็เป็นหนึ่งในศิลปินเหล่านั้น




   สุดท้ายนี้ขอคารวะแก่ดวงวิญญาณของครูเพลง ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ที่ได้สร้างตำนานบทเพลงลูกทุ่งไทยไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและค้นคว้า ในนามของชมรมอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งไทย ขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่เล็งเห็นถึงคุณค่าของเพลงไทยลูกทุ่งร่วมกันส่งเสริมอนุรักษ์และสืบทอดเจตนารมณ์ของครูเพลงทุกท่านทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นที่ยอมรับของทุกคนตลอดไป
                  สารกิจ  พนามงคล
               เลขานุการชมรมอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งไทย
                  
ข้อมูลเพิ่มเติม
   ผลงานเพลง ประมาณ 500 เพลง
   ผลงานเกียรติยศ ได้รับพระพุทธรูปจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นนักร้องเก่าแก่ของเมืองไทย เมื่อพ.ศ.2525 เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2532 ได้รับรางวัลพระราชทานประพันธ์เพลงดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในเพลง “โปรดเถิดดวงใจ” ขับร้องโดยคุณทูล  ทองใจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 2 รางวัล คือ ประพันธ์เพลงดีเด่น และขับร้องเพลงดีเด่นจากพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยภาค 2 ในเพลง “รำเต้ย” ซึ่งแต่งเองขับร้องเอง ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงในจังหวะรำวงมากและชอบเพลงจังหวะรำวงเป็นชีวิตจิตใจ “สาหัส  บุญหลง” ซึ่งอยู่ในละครูคณะเดียวกันจึงขนานนามให้ว่า “ราชาเพลงรำวง” หลังจากนั้นมาในวงการเพลงก็เรียกครูเบญจมินทร์ว่า “ราชาเพลงรำวง” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2537 เวลาประมาณ 02.00 น.
   ที่มาของข้อมูลบางส่วน    – สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
            - คุณอารียา  โชคชนะ  บุตรสาว


, , , , ภาวัช
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
อำนวย
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 24593
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4852
สมาชิก ID: 362


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 56 : Exp 72%
HP: 3.1%

คนไทยโชคดีที่สุดในโลก ที่มีพระเจ้าอยู่หัว


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2009, 10:48:47 am »

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลประวัติศิลปิน ซึ่งผมยอมรับว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มากนัก
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!