ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
มีนาคม 19, 2024, 03:40:20 PM

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม  (อ่าน 9059 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Sakarin
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2009, 09:14:03 PM »

ป.ฉลาดน้อย หรือ ฉลาด ส่งเสริม   ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ ) ปี 2548



       นายฉลาด ส่งเสริม เป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน ที่มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักในด้านน้ำเสียงที่ก้องกังวาลแจ่มใส คำร้องมีการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ยากที่คนอื่นจะลอกเลียนแบบได้ โดยเฉพาะความสามารถแต่งกลอนลำทำนองเมืองอุบล จะนำเอาสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติตามท้องถิ่น เช่น ดิน ลม ฟ้า อากาศ ต้นไม้ มาแต่งเป็นกลอนลำ กลอนลำแต่ละกลอนจะมีคติสอนใจผู้ฟังอยู่เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง และสามารถร้องหมอลำได้หลายประเภท ทั้งลำยาว ลำเพลิน ลำเรื่อง ลำต่อกลอน ผลงานเด่น ได้แก่ นางนกกระยางขาว ท้าวก่ำกาดำ พระเวสสันดรชาดก องคุลีมาลสำนึกบาป พุทธประวัติตอนสิทธัตถะกุมารออกบวช นางนกกระจอกน้อย ผาแดงนางไอ่ ลูกเขยไทยสะใภ้ลาว เพลงรักบุญบั้งไฟ เป็นต้น

       ได้รับรางวัลทองคำฝังเพชร ในการประกวดหมอลำเรื่องต่อกลอน เรื่อง "นางนกกระยางขาว" จากกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นสุดยอดศิลปินอีสาน ในวาระ 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายฉลาด ส่งเสริม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พุทธศักราช 2548


ประวัติชีวิตและผลงาน

         นายฉลาด ส่งเสริม (ป. ฉลาดน้อย) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สมรสกับนางสมบูรณ์ ส่งเสริม มีบุตร 3 คน คือ นายอติชาติ ส่งเสริม นางสาววาสนา ส่งเสริม และเด็กหญิงจารุวรรณ ส่งเสริม

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2500    จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนวิจิตรราษฎร์สามัคคี ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และบิดาได้นำไปฝากพระครูเจียม วัดบูรพาพิสัย บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบวชเรียนพระธรรมวินัยบาลีไวยากร อักษรขอม และฝึกเทศน์เสียงตามบุญมหาชาติเกือบทุกหมู่บ้านในตำบลหนองบ่อ
พ.ศ. 2502    จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสมเด็จ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2503    บิดาได้นำไปฝากเจ้าอาวาสวัดบูรพาพิสัย เพื่อเข้าเรียนนักธรรมโท
พ.ศ. 2504    ศึกษานักธรรมชั้นเอก และในขณะเดียวกันยังเทศน์เสียงในงานบุญมหาชาติในอำเภอเมืองอุบลราชธานีด้วยน้ำเสียงไพเราะ
พ.ศ. 2505    ขณะที่เป็นสามเณร ได้ฝึกร้องหมอลำตามเสียงทางวิทยุ ว.ป.ก. 6 ในแนวเสียงของหมอลำทองคำ เพ็งดี และหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน โดยเฉพาะลำล่องนิทานนางแตงอ่อน
พ.ศ. 2506    ลา สิกขาบทจากสามเณร บิดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์อาจารย์สุวรรณ ติ่งทอง ให้ฝึกลำกลอน (ลำทางสั้น) และลำคู่ ฝึกได้ 4 เดือน ไม่เกิดความชำนาญ เพราะต้องท่องกลอนยาวซึ่งยาวมากจึงหยุดพักระยะหนึ่ง แล้วหันไปร้องหมอลำหมู่ที่บ้านหนองบ่อ กับคณะ ก.สำราญศิลป์ โดยมีอาจารย์กิ่ง ทิมา เป็นผู้ฝึกสอน

ประวัติการทำงาน

    นายฉลาด ส่งเสริม เมื่อเยาว์วัยอยู่ในท้องถิ่นที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมของชาวชนบทควบคู่การละเล่นการแสดง ความบันเทิง ตามเทศกาลงานประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะการเล่นหนังตะลุง (หนังบักตื้อ) ลิเกลาว (หมอลำหมู่ หมอลำกลอน) ชอบที่จะจดจำมาแสดงท่าทางเลียนแบบการร้อง การเต้น หนังตะลุง หมอลำหมู่ หมอลำกลอน ประกอบกับบิดาเคยบวชเป็นนักเทศน์เสียงดีมาก่อน จึงฝังใจอยากมีเสียงที่กังวานไพเราะ และเป็นนักเทศน์เสียงดีเจริญรอยตามบิดาผู้ให้กำเนิด

    ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การเป็นหมอลำกลอนผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในแถบภาคอีสาน เจ้าตัวกล่าวว่า ชื่นชอบการร้องรำทำเพลงมาแต่เด็ก ทุกครั้งที่มีหมอลำมาเล่นในหมู่บ้านก็จะมี ด.ช.ฉลาด ส่งเสริม ไปเล่นไปนอน อยู่หน้าเวทีหมอลำเสมอ



      กระทั่งอายุประมาณ 16 ปี จึงขอฝากตัวและฝึกหมอลำกับ อ.ติ่งทอง และ อ.กิ่ง ทิมา ฝึกเรียนประมาณ 1 ปี จึงพอจะจับทิศทางของหมอลำได้ว่าตัวเองควรจะไปจุดไหน กระทั่งปี 2507 ได้เริ่มออกรับงานลำตามงานต่างๆ ในนามของ คณะ ส.สำนึกศิลป์ ซึ่งช่วงนั้นยังไม่มีชื่อเสียง จนเกิดความชำนาญ คนเริ่มขนานนามว่า ป.ฉลาดน้อย ซึ่งเสียงเหมือนกับ "ทองคำ เพ็งดี" หมอลำกลอนที่มีชื่อเสียงซึ่งลำคู่กับ "ฉวีวรรณ ดำเนิน" ในสมัยนั้น  พอการร้องลำชำนาญมากขึ้น ก็เข้าสู่ปีที่ 5 จึงร่วมกับเพื่อนๆ คิดหาทางออกไปตั้งวงของตัวเอง คือ คณะ "ป.ฉลาดน้อยรุ่งเรืองศิลป์" เป็นพระเอก

พ.ศ. 2514 ได้รับการติดต่อให้ไปร่วมแสดงเป็นพระเอกกับคณะอุบลพัฒนา โดยมีอังคนางค์ คุณไชย เป็นนางเอกบันทึกเสียงลำเป็นครั้งแรกเรื่อง นางประกายแก้ว นางนกกระยางขาว ท้าวก่ำกาดำ จนได้รับความนิยม เมื่อปี พ.ศ. 2518 ลาออกจากคณะอุบลพัฒนากลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อดูแลบิดามารดา จากนั้นตั้งคณะหมอลำ ของตนเอง ชื่อ "คณะเพชรอุบล" รับแสดงหมอลำทั่วทุกภาคในประเทศไทย แสดงเป็นพระเอกหมอลำ มีนางเอกโฉมไสว แสนทวีสุข เป็นคู่ลำ มีชื่อเสียงและรุ่งเรืองที่สุด ดังมาก หลังจากนั้นจะเริ่มตกลงเรื่อยๆ เนื่องจากกระแสของหมอลำสมัยใหม่เริ่มเข้ามาแทนที่

พ.ศ. 2530 หันไปประกอบอาชีพวิ่งรถสองแถวเล็กในสหกรณ์รถยนต์บริการอุบล จำกัด ที่อำเภอเมืองอุบลราชานี จังหวัดอุบลราชธานี ใน พ.ศ. 2535 ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกรรมการ สหกรณ์รถยนต์บริการอุบลราชธานี

พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้เป็น ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองอุบลราชธานี  ดูแลงานวัฒนธรรม ส่งเสริมและผลักดันให้เยาวชนเกิดความรักและสนใจในวัฒนธรรม พ.ศ. 2544- 2545 ดำรงตำแหน่ง "ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรม" ดำเนินการสืบค้นวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การละเล่น วรรณกรรม ของดีของเก่า ทุกตำบลในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี ตามโครงการวัฒนธรรมสัญจรการสร้างสรรค์ผลงานเผยแพร่ต่อสาธารณชน

   ป.ฉลาดน้อย ได้เข้าเป็นศิลปินร่วมรณรงค์ให้กับกระทรวงสาธารณสุข ทั้งเรื่องการรณรงค์ไม่กินปลาดิบ, ต้านโรคเอดส์, ไข้เลือดออก, ฉี่หนู และอื่นๆ รวมไปถึงการเป็นอาจารย์สอนพิเศษเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน ว่าด้วยการแสดงหมอลำที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และยังเป็นประธานสภาวัฒนธรรม จ.อุบลราชธานี
ผลงานการแสดง

    นายฉลาด ส่งเสริม มีผลงานทั้งทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ เป็นผู้รับงานแสดง จัดการแสดง รวมทั้งร่วมงานกุศลต่างๆ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 40 ปี ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ เริ่ม ประกอบอาชีพหมอลำ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากประชาชนทั่วทุกภาคทั้งในประเทศและต่างประเทศ







ผลงานวิชาการ

    * เป็นผู้วางแนวคิดในการแต่งกลอนลำประกอบการแสดงลำเรื่องต่อกลอนทุกเรื่องที่แสดง
    * เป็นผู้คิดค้นทำนองลำ "ทำนองเมืองอุบล" ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะสำนวนการ้องที่นำเอาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมาเป็นเนื้อหาประกอบ เช่น การบรรยายถึงลักษณะภูมิอากาศ ฟ้า ลม ฝน น้ำ ซึ่งนักแสดงทั้งหลายโดยเฉพาะนักแสดงตลกชอบนำคำร้องและทำนองลำเมืองอุบลไปล้อเลียน จากทำนองกลอนลำคิดค้นนี้ประชาชนชื่นชอบจนพากันเรียกว่า "ทำนอง ป.ฉลาดน้อย"
    * เขียนกลอนลำ ลำเรื่องต่อกลอน เช่น อยากให้เพิ่นตาย โตตาย (สีโคตรพระตะบอง) ท้าวบัง โฮมบังฮอง (ขุนช้างขุนแผน) พระเวสสันดร (ท้าวกำพร้าปลาหลด) สุทนมโนราห์ ขูลูนางอั้ว จำปาสี่ต้น น้ำตาสาวลาว ผู้บ่าวไทย นางนกกระยางขาว น้ำตาสาวจีน
    * แต่งกลอนลำส่งเสริมรณรงค์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
    * ฝึกสอนหมอลำให้กับหมอลำรุ่นหลัง จนมีลูกศิษย์หมอลำที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ป.ประยุทธ วิไลศรี คณะขวัญอุบล ป.ประหยัด นามศรี คณะศรีอุบล นิคมน้อย อุทะศรี คณะเพชรอุบล สำเภา ภู่ใหญ่ คณะก้องอุบล ขวัญฟ้า ดุลประยูร คณะอุดรมิตรนิยม เป็นต้น
    * ประดิษฐ์ท่ารำ และบทร้องชุด นางนกกระยางขาว ท้าวก่ำกาดำ น้ำตาสาวจีน โดยเฉพาะ ท่ารำนางนกกระยางขาวยังคงใช้เป็นท่าแม่แบบในการแสดง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ "กางเขนเหมือนนกถลาบิน ซอยเท้าถี่รุกเร้า สนุกสนาน"
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
kroonpan
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2009, 03:52:04 PM »

ปาด...ข้อมูลเพียบแล้วกะแม่นยำอีหลีอ้าย....
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
thailoei
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2009, 10:34:58 AM »

สุดยอดครับข้อมูลเยอะจริงๆ อยกรู้ประวัติ พรศักดิ์ ส่องแสง แบบละเอียดบ้างครับ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
Sakarin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2009, 01:54:16 PM »

สุดยอดครับข้อมูลเยอะจริงๆ อยกรู้ประวัติ พรศักดิ์ ส่องแสง แบบละเอียดบ้างครับ

ปาด...ข้อมูลเพียบแล้วกะแม่นยำอีหลีอ้าย....


ขอบคุณมากครับ สำหรับคำชม ดีใจเป็นธรมดา หายเหนื่อยเลยนะครับ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!