สันติ ลุนเผ่
เรือตรีสันติ ลุนเผ่ นักร้องในแนวเพลงปลุกใจ และเพลงคลาสสิก ที่มีชื่อเสียงของไทย ผลงานที่มีชื่อเสียงคืองานขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงรักชาติ เช่น ความฝันอันสูงสุด ทหารพระนเรศวร ดุจบิดามารดร เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย แด่ทหารหาญในสมรภูมิ มาร์ชทหารไทย หนักแผ่นดิน
สันติ ลุนเผ่ มีชื่อเดิมว่า ไพศาล ลุนเผ่ เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ที่บ้านย่านวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของหม่องลุนเผ่ นักร้องละครชาวพม่า ที่อพยพมาอยู่ที่จังหวัดลำปาง และนำชื่อ ลุนเผ่ มาใช้เป็นชื่อสกุล ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาในปี 2496 ไพศาลได้ศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไพศาลชื่นชอบดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่เด็ก โดยบิดาซึ่งชอบฟังคารูโซ เป็นผู้สอนร้องเพลงให้ ขณะเรียนที่ธรรมศาสตร์ได้ร่วมวงดนตรีวายุบุตร ของครูเชาว์ แคล่วคล่อง และสอบชิงทุนยูธ ลีดเดอร์ชิพ ไปศึกษาด้านการเรียบเรียงเสียงประสานที่ประเทศอิสราเอล จากนั้นกลับมาร่วมวงดนตรีวายุบุตรในตำแหน่งนักกีตาร์ เล่นประจำที่โรงแรมเอราวัณ
ไพศาลได้รับการฝึกฝนดนตรีคลาสสิกจากการร้องเพลงในโบสถ์คริสต์ ฝึกสอนโดยแมรี คลิฟฟอร์ด เจฟฟรีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน จากการฝากฝังโดยหม่อมดุษฎี บริพัฒน์ ณ อยุธยา และได้ร่วมเป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ใน วงดนตรี The Bangkok Combined Choir (BBC) เป็นคนไทยเพียงคนเดียวใน
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชทานยศเรือตรีให้ “สันติ ลุนเผ่” ศิลปินผู้ร้องเพลงปลุกใจชื่อดัง
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเรือตรีเป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ พันจ่าเอก สันติ ลุนเผ่ ทหารพ้นราชการ สังกัดกองทัพเรือ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้อุทิศตนประกอบคุณงามความดี เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของกองทัพ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง
ราชกิจจานุเบกษาประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเรือตรีเป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ พันจ่าเอก สันติ ลุนเผ่ ทหารพ้นราชการ สังกัดกองทัพเรือ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้อุทิศตนประกอบคุณงามความดี เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของกองทัพ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2552 ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี
ที่มา: มติชนออนไลน์ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553