ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 08:36:29 am
หน้าแรก
•
ช่วยเหลือ
•
ค้นหา
•
เข้าสู่ระบบ
•
สมัครสมาชิก
สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์
ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
สายสัมพันธ์
>
ห้องทั่วไป
>
เรื่อง/ภาพ ทั่วไป
(ผู้ดูแล:
ดาวิกา
) >
ไอไอดีนป้องกันกัมมันตภาพรังสี
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ผู้เขียน
หัวข้อ: ไอไอดีนป้องกันกัมมันตภาพรังสี (อ่าน 2762 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongna
ปลดออกจากสมาชิก
คำขอบคุณ: 1731
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 589
สมาชิก ID: 1301
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 19 : Exp 68%
HP: 0%
สวัสดีค่ะ
ไอไอดีนป้องกันกัมมันตภาพรังสี
«
เมื่อ:
เมษายน 03, 2011, 01:56:42 pm »
--------------------------------------------------------------------------------
จากข่าวการระเบิดของโรงงานกัมมันตรังสีที่ฟูกูชิมาในประเทศญี่ปุ่นที่สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีหลายชนิดเช่น ซีเซียม 137 (Cesium-137 [137Ce]), (ไอโอดีน 131 (Iodine-131 [131I]) มีการฟุ้งกระจายและออกมาปะปนกับชั้นบรรยากาศของพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะ ไอโอดีน 131 ที่มีความสามารถในฟุ้งกระจายในอากาศได้สูงกว่าสารกัมมันตรังสีชนิดอื่นๆ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงมีมาตรการป้องกันการได้รับสารกัมมันตรังสีดังกล่าวตามหลักการสากล โดยมาตรการป้องกันดังกล่าวแนะนำสำหรับประชาชนที่มีความเสี่ยงสูง
Iodine-131 (131I) คือ แร่ธาตุไอโอดีนที่มีคุณสมบัติเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีความคงตัวต่ำ มีค่าครึ่งชีวิตของการสลายตัวประมาณ 8 วัน โดยการสลายตัวของไอโอดีน 131 สามารถสลายตัวได้อนุภาคหลายชนิดรวมถึงรังสีเบต้าและรังสีแกมมา ซึ่งรังสีเบต้าดังกล่าวนี้เองที่มีคุณสมบัติในการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี จึงมีการประยุกต์ใช้คุณสมบัติดังกล่าวของไอโอดีน 131 มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทั้งนี้มีการนำเอาไอโอดีน 131 มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นคอหอยพอกซึ่งมีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ เนื่องจากโดยปกติ เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อเยื่อที่มีความสามารถสูงในการจับกับไอโอดีน (ซึ่งหมายความรวมถึงไอโอดีนทุกชนิด) เพื่อนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ในการทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ดังนั้นเมื่อต่อมไทรอยด์มีขนาดโตผิดปกติเนื่องจากมะเร็งหรือเป็นคอหอยพอก ไอโอดีน 131 ที่ให้เข้าไปก็จะถูกจับไว้ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์และไปทำลายมะเร็งหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกตินั้นได้
หลายคนคงสงสัยว่า ในคนปกติหากได้รับไอโอดีน 131 แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเราสามารถหาวิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงนั้นได้อย่างไร จากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ไอโอดีน 131 สลายตัวได้รังสีที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อได้ ดังนั้นหากในคนปกติที่ได้รับสารกัมมันตรังสีชนิดนี้ ร่างกายจะมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและถูกดักจับเพื่อขนส่งเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ต่อไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์อาจถูกทำลาย และกลายไปเป็นภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดผลในอีกด้านหนึ่งคือทำให้เป็นมะเร็ง การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มประชากรที่อยู่บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีชนิดไอโอดีน 131 สูง โดยเฉพาะเด็กทารก มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้สูงกว่าคนทั่วไป อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ได้อีกด้วย จากความเสี่ยงดังกล่าวนี้เอง มาตรการการป้องกันต่างๆ จึงถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด โดยวิธีการลดความเสี่ยงที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในขณะนี้คือการใช้ไอโอดีนทั้งในรูปแบบการรับประทานและการทาผิวหนังนั่นเอง
เกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ (potassium iodide) ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้สำหรับการป้องกันการได้รับไอโอดีน 131 (radiation exposure) แต่ไม่มีผลป้องกันในสารกัมมันตรังสีชนิดอื่นๆ โดยขนาดที่แนะนำคือ โปแตสเซียม ไอโอไดด์ 130 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานก่อนที่จะเข้าเขตกัมมันตภาพรังสีอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 90 และแนะนำให้รับประทานต่อเนื่องจนกว่าจะออกจากบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม หากรับประทานโปแตสเซียม ไอโอไดด์ หลังจากที่ได้รับไอโอดีน 131 แล้วภายใน 3-4 ชั่วโมง ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ร้อยละ 50 แต่หากรับประทานหลังจากนั้นเกิน 6 ชั่วโมง ยังไม่มีการศึกษายืนยันถึงประสิทธิภาพ
สำหรับประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจาก ไอโอดีน 131 นั้นสามารถอธิบายได้จากการที่ต่อมไทรอยด์นั้นสามารถดักจับแร่ธาตุไอโอดีนได้ในทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตามต่อมไทรอยด์นั้นจะจับกับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัด ดังนั้นจึงอาศัยหลักการนี้ในการให้แร่ธาตุไอโอดีนในรูปที่มีความคงตัวสูงในปริมาณสูง เพื่อให้เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์จับกับไอโอดีนจนอิ่มตัว ดังนั้นหากมีการเข้าพื้นที่ที่มีสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 จะไม่สามารถจับกับเนื้อเยื่อในต่อมไทรอยด์ได้อีก แต่จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตามการรับประทานไอโอดีนในปริมาณสูงนั้นมีข้อควรระวังหลายประการ เช่น เกิดการแพ้อย่างรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ นอกจากนี้ควรพิจารณาใช้ในกรณีที่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน ซี่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่สามารถหา เกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ได้ มีบางคำแนะนำที่แนะนำให้ใช้ lugol’s solution ซึ่งเป็นสารละลายที่มีเกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์อยู่ร้อยละ 10
ในปัจจุบันมีการกล่าวกันว่า การใช้ยาเบตาดีนซึ่งเป็นยาทาแผล หากนำมาทาผิวหนังจะสามารถป้องกันอันตรายจาก ไอโอดีน 131 คำกล่าวนี้มีข้อควรพิจารณาหลายประเด็น เช่น การใช้ยาทาจะได้ผลหรือไม่ ขนาดใช้ควรเป็นเท่าใด
เบตาดีน คืออะไร? เบตาดีน (betadine) เป็นชื่อการค้าของยาโพวิโดนไอโอดีน (povidone iodine) ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลายมีความเข้มข้น 10%
โพวิโดน ไอโอดีน คืออะไร? โพวิโดน ไอโอดีน เป็นยาฆ่าเชื้อใช้ภายนอก (topical antiseptic) ที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน มีประสิทธิภาพดีต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และโปรโตซัว
โพวิโดน ไอโอดีน ชนิดสารละลาย ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีความเข้มข้นของโพวิโดน ไอโอดีน 10% ซึ่งเทียบเท่ากับไอโอดีนความเข้มข้น 1%
โพวิโดน ไอโอดีนมีการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างไร เนื่องจากโพวิโดน ไอโอดีนเป็นยาฆ่าเชื้อใช้ภายนอกที่มีประสิทธิภาพดี จึงนิยมนำมาใช้เพื่อรักษาแผลสด หรือใช้ในโรงพยาบาลเพื่อฆ่าเชื้อก่อนและ/หลังผ่าตัด เป็นต้น
มีข้อควระวังการใช้โพวิโดน ไอโอดีนอะไรบ้าง การใช้โพวิโดน ไอโอดีนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นได้ ซึ่งมีตั้งแต่ผื่นคัน ไปจนถึงปากบวม หายใจไม่ออก นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ และมารดาที่ให้นมบุตรก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้โพวิโดน ไอโอดีน
การใช้โพวิโดน ไอโอดีนเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสี การใช้โพวิโดน ไอโอดีน ทาที่ผิวหนัง เช่น แขน หรือคอ โดยหวังว่าจะป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีดูดซึมเข้าไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์ได้นั้น ไม่ใช่วิธีที่เป็นมาตรฐาน การทายาดังกล่าวอาจมีไอโอดีนดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดได้บ้าง แต่ปริมาณไอโอดีนที่เข้าสู่กระแสเลือดดังกล่าวต่ำกว่าการรับประทานยาโปแตสเซียมไอโอไดด์ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อการดูดซึมของโพวิโดนไอโอดีน เช่น ขนาดความเข้มข้นของตัวยา ปริมาณยา รูปแบบของยาเตรียม บริเวณที่ทายา หากทายาบริเวณที่มีชั้นไขมันมาก การดูดซึมจะต่ำ นอกจากนี้สภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ขณะทายายังมีผลต่อการดูดซึมยาได้อีกด้วย จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่ทายารูปแบบดังกล่าวที่ผิวหนังจะได้รับไอโอดีนในปริมาณที่สามารถป้องกัน ไอโอดีน 131 ได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังขาดข้อมูลสนับสนุนทางคลินิกเกี่ยวกับ ปริมาณโพวิโดน ไอโอดีน และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อใช้ป้องกันสารกัมมันตรังสีชนิดไอโอดีน 131 ดังนั้นจึงไม่แนะนำการใช้ยาดังกล่าวในข้อบ่งใช้นี้
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
สวัสดีค่ะคุณผู้เยี่ยมชมยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ห้องฟังเพลง
-----------------------------
=> ห้องฟังเพลง
===> ฟังเพลงจากแผ่นครั่ง
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง+ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงลูกทุ่งลูกกรุงใหม่ๆ หรือเก่าดนตรีใหม่
===> ฟังเพลงนานาชาติ (เก่ามาก - ปี 1960)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1961-1990)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1991-ปัจจุบัน)
===> ฟังเพลงบรรเลง
===> ฟังเพลงเพื่อชีวิต
===> ฟังเพลงไทยสากล(สตริง)
===> ฟังเพลงพื้นบ้าน
===> MV
===> ฟังเพลงจากสมาชิกขับร้อง
=====> preem
=====> หมื่นกระบี่ไร้พ่าย
=====> lakkana
=====> J.R.
=====> ดาวิกา
=====> nirutboon
=====> เมธา
=====> ป๋องศักดิ์
=====> petcharat
=====> sonka
=====> ป้าเขียว
-----------------------------
ห้องทั่วไป
-----------------------------
=> แวดวงบันเทิง
=> เรื่อง/ภาพ ทั่วไป
=> เรื่องเล่า/ภาพ ขำขำ
=> เรื่องเล่าอื่นๆ
=> เรื่องของศิลปะ/ภาพจิตรกรรม/ประติมากรรม
-----------------------------
ห้องธรรมะ
-----------------------------
=> ธรรมะและพระสูตร
=> นิทานบันเทิงธรรม
-----------------------------
Health Advice (สุขภาพ)
-----------------------------
=> พลานามัย
=> รักษาตัวให้ห่างจากโรคร้าย
=> โภชนาการ
-----------------------------
บันทึกประวัติศาสตร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ เรื่องชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง
===> ชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง ได้รับคำตอบแล้ว
=> เรื่องของบทเพลง (ไทย)
=> เรื่องของบทเพลง (เพลงไทยเดิม)
=> เรื่องของบทเพลง (สากล)
=> ผลงานเพลงของนักร้องแต่ละท่าน
=> ประวัติของนักร้องลูกทุ่ง-ลูกกรุง
=> ประวัติของนักร้อง ศิลปินสากล
=> ประวัติของนักแต่งเพลง และ นักปั้นมือทอง
=> รูปภาพนักร้อง+นักแต่งเพลง+นักแสดง
=> ภาพปกแผ่นเสียง
-----------------------------
คอมพิวเตอร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ ปัญหาคอม
=> เทคนิคและเครื่องเสียง
-----------------------------
เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
-----------------------------
=> เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
Your browser does not support iframes.
Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
กำลังโหลด...