ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
เมษายน 25, 2024, 10:54:45 AM

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยทำสำเร็จ "ละมั่งหลอดแก้ว" ตัวแรกของโลก  (อ่าน 2619 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สะบันงา
มีสูง..มีต่ำ..เรื่องธรรมดา..
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 2740
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 885
สมาชิก ID: 1734


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 0%

บนเวทีละครชีวิต ไม่มีใครได้รับแจกบทการแสดงล่วงหน้า


« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2011, 05:47:55 AM »


ไทยทำสำเร็จ "ละมั่งหลอดแก้ว" ตัวแรกของโลก

ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก ผลงานของทีมนักวิทยาศาสตร์ไทย
และความร่วมมือกับต่างชาติ (ภาพทั้งหมดจากองค์การสวนสัตว์ฯ)

ครั้งหนึ่งเราเคยทำให้ “เนื้อสมัน” สัตว์ที่มีเขาสวยงามที่สุดสูญพันธุ์ไปจากโลก
และสัตว์ป่าอีกหลายชนิดกำลังลดจำนวนลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญสิ้นไปจากป่าเมืองไทย
แต่ความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการทำ “ละมั่งหลอดแก้ว” ตัวแรกของโลกได้จุด
ความหวังในการคืนสัตว์หายากสู่ป่าอีกครั้ง
       
       ทันทีที่เห็นหูเล็กๆ ของลูกละมั่งดุกดิกไปมาอยู่ใกล้ๆ ละมั่งตัวแม่ที่ได้รับการฝาก
ตัวอ่อนจากการผสมแบบปฏิสนธินอกร่างกายหรือการผลิตตัวอ่อนหลอดแก้วหรือไอวีเอฟ
(in vitro fertilization: IVF) น.สพ.สกนธ์ น้อยมูล สัตวแพทย์ผู้ดูแลละมั่งใน
โครงการผลิตละมั่งหลอดแก้วของส่วนอนุรักษ์วิจัยและการศึกษา ขององค์การสวนสัตว์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตื่นเต้นจนทำอะไรไม่ถูก ได้แต่โทรแจ้งผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่
ในโครงการ


เซอร์ไพรซ์! ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก
       ลูกละมั่งที่เกิดอยู่ในภายในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนี้คือสัตว์ป่าที่เกิดด้วยวิธีผลิต
ตัวอ่อนหลอดแก้วตัวแรกของไทย และยังเป็นละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก โดย
น.สพ.สกนธ์ บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่าเขามีส่วนร่วมใน
โครงการตั้งแต่การคัดเลือกแม่อุ้มบุญ คอยกำจัดโรคที่เป็นสาเหตุให้แท้ง จนแข็งแรงดี
ระหว่างท้องจะให้แคลเซียมและเกลือแร่เสริมเพื่อลดความเครียด ส่วนลูกละมั่งที่
เกิดมาได้รับการดูแลเรื่องการถ่ายพยาธิเพียงอย่างเดียวก่อน และเมื่อครบปีจะได้รับ
วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ส่วนวัคซีนอื่นไม่จำเป็นเพราะยังไม่มีประวัติการติดโรคอื่น
ที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน
       
       “หลังจากลูกละมั่งเกิดมาแล้วทีมสัตวแพทย์ต้องเฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
และเฝ้าดูว่าแม่ละมั่งเลี้ยงลูกหรือไม่ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เป็นแม่อุ้มบุญด้วย
ไม่ทราบว่าตัวเอง และมีสัญชาตญาณระวังภัย ทำให้อาจทิ้งลูก แต่แม่อุ้มบุญก็เลี้ยงลูก
ได้อย่างดี และลูกละมั่งแข็งแรงมาก เพราะได้ภูมิคุ้มกันจากนมแม่” น.สพ.สกนธ์กล่าว
พร้อมบอกด้วยว่าลักษณะภายนอกของละมั่งท้องนั้นเหมือนละมั่งทั่วไป การมองด้วย
ตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ นอกจากการเก็บมูลไปตรวจฮอร์โมนหาภาวะตั้งครรภ์ และ
ตอนออกลูกละมั่งหลอดแก้วนี้แม่อุ้มบุญได้แอบไปคลอดอยู่ตรงพุ่มไม้


รวมสุดทอดทีมวิจัย
       ความสำเร็จในการผลิตลูกละมั่งหลอดแก้วครั้งนี้ น.สพ.สุเมธ กมลนรนารถ
หัวหน้าโครงการกล่าวว่ามีนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากกว่า 30 คน โดยมีทั้ง
ทีมคนเลี้ยงสัตว์ให้สมบูรณ์ ทีมรีดน้ำเชื้อ โดยพ่อพันธุ์ละมั่งชุดนี้เป็นพ่อพันธุ์จาก
สวนสัตว์ที่นครราชสีมาที่ขนย้ายโดยการแช่แข็งมาผสมพันธุ์กับแม่ละมั่งที่เขาเขียว
ทีมสัตวแพทย์และผู้ช่วยสัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายสาขาและ
ระบบสนับสนุนต่างๆ อาทิ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลสัตว์ป่า และผู้บริหารเป็นต้น
       
       น.สพ.สุเมธกล่าวว่ามีนักวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญ 6 คน ซึ่งมี 2 คน
เป็นชาวต่างชาติได้แก่ ดร.ปิแอร์ โคมิซโซลี (Pierre Comizzoli) นักวิจัยเชื้อสาย
ฝรั่งเศส-อิตาลี จากสถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์สมิทโซเนียน (Smithsonian
Conservation Biology Institute) สหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะไข่หรือ
การดูดไข่จากระบบสืบพันธุ์สัตว์เพศเมีย โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลกวาง, ดร.เดบรา เบิร์ก
(Dr.Debra Berg) นักวิจัยหญิงชาวอเมริกันจากสถาบันเอจีรีเสิร์ช (AG Research)
นิวซีแลนด์ เธอเชี่ยวชาญเรื่องน้ำยาเพาะเลี้ยงในหลอดแก้วและการย้ายฝากตัวอ่อน
โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลกวางและกวางแดง (Red Deer) อีกทั้งยังทำการโคลนนิง
แกะและแพะด้วย


นักวิทยาศาสตร์ไทยอีก 4 คนที่เหลือซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลติละมั่งลหอดแก้ว
ได้แก่ ผศ.น.สพ.ธีรวัฒน์ ธาราศานิต จากคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ชำนาญด้านการแช่แข็งเซลล์สืบพันธุ์และการเลี้ยงเซลล์ไข่ไปปฏิสนธิในหลอดแก้ว
ที่ผ่านมามีประสบการณ์ในการแช่แข็งตัวอ่อนสัตว์ตระกูลแมว ม้าและสุกร และผลิต
ลูกแมวหลอดแก้วมาแล้วหลายตัว, น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ทองทพิย์ศิริเดช จากคณะ
สัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชี่ยวชาญด้านการแช่แช็งอสุจิ โดยเคยเป็น
หัวหน้าทีมวิจัยช้างและผสมเทียมช้างเชือกแรกได้สำเร็จคือ “พลายปฐมสมภพ”
และมีส่วนร่วมในการผสมเทียมละมั่งสายพันธุ์พม่าจากอสุจิแช่แข็งได้ละมั่งเพศผู้
ที่เกิดเมื่อ 14 ก.พ.52 ชื่อ “อั่งเปา”
       
       สพ.ญ.ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมงานสวนสัตว์เขาเขียว ผู้มีประสบการณ์โคลนนิง
แมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน และกำลังวิจัยเรื่องระบบสืบพันธุ์แมวป่าอีกหลายชนิด
โดยในการผลิตละมั่งหลอดแก้วนี้เธอมีส่วนในการผลิตตัวอ่อนละมั่งระยะ 7 วัน หรือใน
ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่ง น.สพ.สุเมธกล่าวว่า เธอประสานการทำงาน
ร่วมกับ ดร.เดบราได้เป็นอย่างดี


ทำไมต้อง “ละมั่ง”?
       “ละมั่งมีในหลายประเทศ แต่ไทยเป็นประเทศเดียวที่มีละมั่งถึง 2 สายพันธุ์ คือ
สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์พม่า โดยสายพันธุ์ไทยจะพบทางฝั่งตะวันออกและสายพันธุ์
พม่าจะพบทางฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่น่าเสียดายที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติหมด
ที่อินเดียมีละมั่งอินเดีย ที่พม่ามีละมั่งพม่า และที่ลาว เวียดนามและเขมรมีละมั่งไทย”
ดร.สุเมธกล่าว และบอกว่าการผลิตละมั่งหลอดแก้วเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งที่สถาบันสมิท
โซเนียนของสหรัฐฯ มีความพยายามทำละมั่งหลอดแก้วสายพันธุ์ไทย แต่ยังไม่ประสบ
ความสำเร็จในการฝากถ่ายตัวอ่อนในหลอดแก้วไปยังแม่อุ้มบุญ
       
       เหตุผลที่เราต้องผลิตละมั่งหลอดแก้วนั้น นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้อำนวยการองค์กา
รสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีสมันแต่สูญพันธุ์ไปหมดไม่เหลือ
จึงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอีกในละมั่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สัตว์สงวนของไทย และไม่เหลือ
ในธรรมชาติมา 50 ปีแล้ว แต่ข้อจำกัดในการขยายพันธุ์ละมั่งตามวิธีธรรมชาติคือได้ต้นพันธุ์
ที่มีปัญหาการผสมเลือดชิด (inbreeding) ทำให้ได้ละมั่งที่ไม่แข็งแรง จึงต้องคิด
เทคโนโลยีเพื่อหาสายพันธุ์ที่สมบูรณ์ และเมื่อวันที่ 30 มี.ค.53 ได้มีการประชุมเชิง
ปฏิบัติการเรื่องละมั่งเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 ก.พ.54 ได้ย้ายฝากตัวอ่อน
และเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54 จึงได้ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก


ตัวอ่อนหลอดแก้วแก้ปัญหาเลือดชิด
       การผลิตละมั่งหลอดแก้วแก้ปัญหาเลือดชิดได้อย่างนั้น ดร.น.สพ.บริพัตร หัวหน้า
ทีมวิจัยอธิบายว่า หากปล่อยให้ละมั่งขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ตัวผู้และตัวเมียที่เป็นพี่น้อง
กันนั้นมีโอกาสผสมพันธุ์กันได้ง่าย ทำให้ได้ลูกที่เลือดชิด อาจทะให้มีอาการปากแหว่ง
ตาบอดหรือตายได้ ดังนั้น จึงต้องทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยการผลิตตัวอ่อน
แบบหลอดแก้ว ซึ่งเราทราบว่าน้ำเชื้อตัวผู้นั้นมาจากไหน และการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นจะทำ
ให้ได้ไข่มากถึง 20 ใบ ซึ่งนำไปผสมกับเชื้อตัวผู้และคัดเลือกพันธุ์ที่ดีเพื่อขยายต่อไป
       
       “ส่วนเหตุผลที่ต้องฝากตัวอ่อนให้แม่อุ้มบุญนั้น เพราะแม่อุ้มบุญไม่จำเป็นต้องมี
สายพันธุ์ดี โดยเลือกตัวที่มีพี่น้องเยอะซึ่งแสดงว่าเป็นเลือดชิดเยอะแล้ว ควรหยุดได้แล้ว
จึงเอามาเป็นโรงงานผลิตลูกแทน” ดร.น.สพ.บริพัตรให้เหตุผล นอกจากนี้ ผศ.น.สพ.ดร.ธีรวัฒน์
ยังได้อธิบายเพิ่มเติมแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า หากให้ละมั่งที่เป็นแม่พันธุ์ทำหน้าที่ตั้งท้อง
ก็จะขยายพันะได้ครั้งละ 1 ตัว แต่ถ้าใช้แม่อุ้มบุญจะทำให้ขยายพันธุ์ได้ครั้งละหลายสิบตัว
       
       สำหรับละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลกนี้ทางทีมวิจัยได้เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเมื่อพิสูจน์แล้วว่าเทคโนโลยีในการขยายพันธุ์นี้ได้ผลดี ก็จะผลิตละมั่ง
หลอดแก้วเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป แต่การปล่อยคืนสู่ป่านั้นเป็นเรื่องซับซ้อน โดย
น.สพ.ดร.บริพัตรอธิบายว่าเราปล่อยละมั่งเพื่อไปเป็นเหยื่อ ต้องไปอยู่รวมกับเสือ งู หมาไน
และนักล่าอื่นๆ จึงเป็นเรื่องซับซ้อน สถานที่ปล่อยนั้นต้องเป็นป่าที่เหมาะสม มีอาหาร มีพื้นที่
ให้วิ่งหนีนักล่า โดยก่อนหน้านี้ทางองค์การสวนสัตว์ฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชปล่อยละมั่ง 70 ตัวสู่ป่าห้วยขาแข้ง และปัจจุบัน
เหลือประมาณ 10 ตัว


พลาดขั้นตอนเดียว...ทุกอย่างจบ
       ผศ.น.สพ.ดร.ธีรวัฒน์กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้กับสัตว์ป่าไม่ง่าย อย่างแรก
คือไม่มีข้อมูลเลยจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้าน โดยเลือกเทคโนโลยีที่มีโอกาส
ประสบความสำเร็จสูงมาใช้ใช้วิทยาการจากหลายภาคส่วนที่สามารถผลิตลูกสัตว์มาใช้ รวมถึง
ใช้เทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาในสัตว์หลายชนิดมาแล้ว ซึ่งแต่ละขั้นมีความสำคัญเท่ากันหมด
เพราะหากมีขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดทำไม่ได้ทุกอย่างก็จบ
       
       กว่าจะได้ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกนี้ทีมวิจัยเคยล้มเหลวครั้งหนึ่ง คือเมื่อวันที่ 30 มี.ค.53
ทีมวิจัยได้ย้ายฝากตัวอ่อนสู่ท่อนำไข่ของแม่ละมั่งอุ่มบุญ 3 ตัวเป็นครั้งแรก ณ สวนสัตว์เขาเขียว
และพบว่าแม่อุ้มบุญ 2 ตัวตั้งท้อง ซึ่งคิดเป็นความสำเร็จ 66.7% แต่ละมั่งทั้งสองได้คลอดลูก
ตายก่อนกำหนดเมื่อมีอายุการตั้งท้องประมาณ 7 เดือน จากนั้นจึงมีความพยายามในครั้งที่ 2 คือ
เมื่อเดือน ก.พ.54นี้ ซึ่งได้ย้ายฝากตัวอ่อนสุ่แม่อุ้มบุญ 8 ตัว และพบว่าแม่อุ้มบุญ 1 ตัวตั้งท้อง
       
       สอดคล้องกับคำอธิบายของ น.สพ.ดร.บริพัตรที่แจกแจงว่าแต่ละขั้นตอนนั้นมีความสำคัญ
และมีโอกาสล้มเหลวทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแช่แข็งเซลล์ทั้งไข่และอสุจิที่มีโอกาสตายและฝ่อได้
เมื่อปฏิสนธิแล้วก็ตายได้ หรือเมื่อย้ายฝากไปยังแม่อุ้มบุญก็มีโอกาสไม่สำเร็จสูงมาก เมื่อทำ
สำเร็จแล้วจึงอยากส่งต่อความภูมิใจไปยังคนไทยทุกคน นอกจากนี้แล้วทางทีมวิจัยยังมีห้อง
ปฏิบัติการผลิตตัวอ่อนที่มีมาตรฐานเทียบเท่าคลีนิคผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลเอกชน
ที่มีชื่อเสียงใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี


“เราคุยกันเรื่องละมั่งมาเป็น 10 ปี เรื่องจากการผสมเทียม มาจนถึงไอวีเอฟ วันหนึ่งๆ
เราผ่าตัด (ละมั่ง) กันเป็น 10 ตัว ไม่เคยมีใครในโลกทำได้มาก่อน ภูมิใจในงานนี้มาก”
น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ผู้มีบทบาทในการแช่แข็งน้ำเชื้อกล่าว
       
       ทางด้าน สพ.ญ.ดร.อัมพิกา ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีการ
สืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยงนั้นนำมาใช้ในสัตว์ป่าได้จริงๆ และเธอโชคดีที่ได้รับการผลักดันให้
ศึกษามาในเรื่องนี้ซึ่งคิดว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นหนทางในการอนุรักษ์ความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมและอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ ส่วนก้าวต่อไปคือการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้าง
ธนาคารพันธุกรรมเพื่อผลิตสัตว์พันธุ์ดีและผลิตสัตวแพทย์รุ่นใหม่ และอนาคตจะได้ก้าวต่อไป
สู่การขยายพันธุ์สัตว์ชนิดอื่นๆ
       
       สำหรับละมั่งหลอดแก้วในโครงการนี้เป็นละมั่งสายพันธุ์พม่า ซึ่งมีอยู่ในแหล่งเพาะเลี้ยง
เมืองไทยประมาณ 1,000 ตัว ส่วนสายพันธุ์ไทยเหลืออยู่ในสถานที่เลี้ยงประมาณ 40 ตัว
โดนทีมวิจัยไม่ทราบว่ายังมีอยู่ในสถานเลี้ยงสัตว์เอกชนอีกหรือไม่ ด้วยจำนวนละมั่งพม่าที่มี
เยอะกว่านี่เองทีมวิจัยจึงไม่อยากเสี่ยงทำวิจัยในละมั่งสายพันธุ์ไทย เมื่อได้ผลการทดลองที่ดี
ในสายพันธุ์พม่าแล้วจึงจะขยายสู่สายพันธุ์ไทยต่อไป
       
       พร้อมกันนี้ น.สพ.ดร.บริพัตรให้ข้อมูลทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
ด้วยว่า ยังมีละมั่งสายพันธุ์ไทยในธรรมชาติอยู่ที่ประเทศกัมพูชา 200 ตัวและมีอีก 5 ตัวอยู่ใน
สถานที่เพาะเลี้ยง ซึ่งทางทีมวิจัยพยายามที่จะประสานความร่วมมือเพื่อขยายพันธุ์ละมั่ง
สายพันธุ์ไทย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจา
     

ลูกละมั่งหลอดแก้วและแม่อุ้มบุญ

แข็งแรง

แม่-ลูกต่างสายเลือด

ขั้นตอนเจาะไข่จากแม่พันธุ์

ผสมเทียมในหลอดแก้ว

ทีมวิจัยละมั่งหลอดแก้ว
:pic: :pic: :pic: :pic: :pic:

ป่าลั่น - สุเทพ ประยูรพิทักษ์
<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1322515557.swf" target="_blank">http://www.swfcabin.com/swf-files/1322515557.swf</a>
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

.. ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย .... "ใจ"ในร่างกายกลับไม่เจอ ..
 ทุกข์ที่เกิดซ้ำเพราะใจนำพร่ำเพ้อ .. หา"หัวใจ"ให้เจอก็เป็นสุข
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!