ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
เมษายน 17, 2024, 04:55:45 AM

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: จังหวะหน้าทับของเพลงไทยเดิม  (อ่าน 14365 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 06:16:15 PM »



การกำกับจังหวะของเพลงไทยหรือเพลงไทยเดิมนั้น มี “ฉิ่ง” เป็นเรื่องกำกับจังหวะในระยะสั้น กล่าวคือกำกับเพียงครึ่งห้องเพลงสำหรับเพลงชั้นเดียว หนึ่งห้องเพลงสำหรับเพลงสองชั้น และ ๒ ห้องเพลงสำหรับเพลงสามชั้น ซึ่งหมายความว่าเพลงชั้นเดียวนั้นครึ่งห้องเพลงจะตีฉิ่ง ๑ ครั้ง ส่วนเพลงสองชั้น ๑ ห้องเพลงตีฉิ่ง ๑ ครั้ง เพลงสามชั้น ๒ ห้องเพลงจึงจะตีฉิ่ง ๑ ครั้ง (อ่านบันทึก “จังหวะฉิ่งของเพลงไทยเดิม” ได้ที่ http://103.246.17.59/~saisampan/index.php?topic=54143.0)
   
ดนตรีไทยยังมีการกำกับจังหวะในระยะยาวอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประโยคของเพลงด้วย การกำกับจังหวะในระยะยาวกำกับด้วยเครื่องหนัง ได้แก่ทับ โทน รำมะนา กลองแขก ตะโพน กลองทัด เป็นต้น เราเรียกจังหวะที่เครื่องหนังเหล่านี้ตีกำกับจังหวะของเพลงว่า “จังหวะหน้าทับ”

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 06:19:23 PM »

 

เครื่องหนังที่ใช้ทำจังหวะหน้าทับพื้นฐานในวงดนตรีไทยประเภทวงเครื่องสาย วงมโหรี และวงปี่พาทย์เพื่อการบรรเลงและขับร้องเพลงทั่ว ๆ ไปนั้นนิยมใช้โทนคู่กับรำมะนา หรือใช้กลองแขกซึ่งมีกลองแขกตัวผู้กับกลองแขกตัวเมียเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ส่วนการบรรเลงและขับร้องเพลงหน้าพาทย์นั้นใช้ตะโพนและกลองทัดเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
   
เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ สำหรับจังหวะหน้าทับของเพลงไทยเดิม ขอแบ่งเพลงไทยเดิมเป็น ๒ ประเภท คือเพลงที่มีประโยคสั้น และเพลงที่มีประโยคยาว และขอสมมุติเสียงของกลองแขก (ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับที่นิยมใช้กันมากที่สุด) ว่ามี ๔ เสียงคือ “โจ๊ะ” “จ๊ะ” “ติง” และ “ทั่ง” โดยนำตัวอย่างเพลงอัตราจังหวะสองชั้น (อัตราจังหวะปานกลาง) มาอธิบาย

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 06:24:59 PM »

 

จังหวะหน้าทับของเพลงประโยคสั้น
   
เพลงประโยคสั้นเป็นเพลงที่มีทำนอง ๔ ห้องเพลงต่อ ๑ ประโยคสำหรับอัตราจังหวะสองชั้น ขอยกตัวอย่างเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น ตามทำนองที่ตัดมาเพียง ๘ ห้องเพลงซึ่งแสดงด้วยโน้ตข้างล่าง ทำนองจากห้องที่ ๑ ถึงห้องที่ ๔  (---โด ---เร ---มี ---ซอล) เป็นทำนองประโยคแรกของเพลง ทำนองจากห้องที่ ๕ ถึงห้องที่ ๘ (---- ซอลมีเรโด –เรโดลา –โด-เร) เป็นทำนองประโยคที่ ๒ ของเพลง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอีก ขอถอดทำนองมาเป็นเพลงเนื้อเต็ม โดยเพลงไทยสากลที่ดัดแปลงทำนองทยอยญวนที่ดังที่สุดคือเพลงเรียกพี่ได้ไหม เนื้อร้อง “---เรียก ---พี่ ---ได้ ---ไหม” คือประโยคแรกของเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น ส่วนเนื้อร้อง “---- แล้วพี่จะให้ –กินขนม –หมื่น-ห้า” เป็นประโยคที่ ๒ ของเพลง เพลงประโยคสั้นแบบทยอยญวนจะมีหน้าทับ “--โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ติง –โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ทั่ง(ติง)” แบบนี้ไปจนจบเพลงครับ (เสียงติงที่อยู่ในวงเล็บนั้นตีเพิ่มเข้ามาเรียกว่าจังหวะยกครับ จะไม่ตีก็ได้) จังหวะหน้าทับแบบนี้เรียกว่า “หน้าทับสองไม้” หรือ “หน้าทับสองไม้ไทย” ครับ

ห้อง ๑   ห้อง ๒   ห้อง ๓   ห้อง ๔   ห้อง ๕   ห้อง ๖   ห้อง ๗   ห้อง ๘
---โด   ---เร   ---มี   ---ซอล   ----   ซอลมีเรโด   -เรโดลา   -โด-เร
---เรียก   ---พี่   ---ได้   ---ไหม   ----   แล้วพี่จะให้   -กินขนม   -หมื่น-ห้า
--โจ๊ะจ๊ะ   –ติง-ติง   –โจ๊ะจ๊ะ   –ติง-ทั่ง(ติง) -โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ติง –โจ๊ะจ๊ะ   –ติง-ทั่ง(ติง)


ทดลองฟังเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น เพื่อจับจังหวะหน้าทับสองไม้ไทย แสดงความคิดเห็นหน่อยค่ะ  

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 06:56:46 PM »

 

สำหรับเพลงไทยเดิมสำเนียงลาว เช่นลาวดวงเดือน ลาวจ้อย ลาวคำหอม เป็นเพลงประโยคสั้นเหมือนกัน แต่ไม่ใช้หน้าทับสองไม้ไทย โดยใช้หน้าทับสองไม้ลาวแทน เรียกย่อ ๆ ว่า “หน้าทับลาว” มีทำนอง “-ติง-โจ๊ะ -ติง-ติง –(ติง)-ทั่ง -ติง-ทั่ง” (เสียง (ติง) ที่ในวงเล็บนั้นบางทีก็ตีบางทีก็ขี้เกียจตีครับ)

ลองฟังเพลงลาวดวงเดือน ๒ ชั้น เพื่อจับจังหวะหน้าทับสองไม้ลาว แสดงความคิดเห็นหน่อยค่ะ 

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 07:00:44 PM »

 

จังหวะหน้าทับของเพลงประโยคยาว   

เพลงประโยคยาวเป็นเพลงที่มีทำนอง ๘ ห้องเพลงต่อ ๑ ประโยคสำหรับอัตราจังหวะสองชั้น ขอยกตัวอย่างเพลงสร้อยเพลง ๒ ชั้น ตามทำนองที่ตัดมาเพียง ๘ ห้องเพลงซึ่งแสดงด้วยโน้ตข้างล่าง ทำนองจากห้องที่ ๑ ถึงห้องที่ ๘  (---ฟา –ซอลซอลซอล ---ลา   -ซอลซอลซอล -โดํ-ลา -ซอล-ฟา –ลาซอล ฟาซอล-ลา) เป็นทำนองประโยคแรกของเพลง ทำนองไทยเดิมสร้อยเพลงมีการดัดแปลงเป็นเพลงไทยสากลหลายเพลง ที่ดังที่สุดคือเพลงลมจ๋าลมที่จินตนา สุขสถิตย์ขับร้อง เนื้อร้องตั้งแต่  “---- ---ลม ---จ๋า –ลมรำเพย -พบ-ใคร -เขา-เอ่ย –เฉลย –ฝากวาจา” เท่ากับ ๑ ประโยคของเพลงสร้อยเพลง ๒ ชั้น สำหรับหน้าทับของเพลงประโยคยาวคือ “--ทั่งติง -โจ๊ะ-จ๊ะ   -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ   -ติง-ทั่ง -ติง-ติง -ทั่ง-ติง   -ติง-ทั่ง” อาจตีแตกต่างไปจากนี้บ้างแล้วแต่ลูกเล่นของผู้ตี วงการเพลงไทยเดิมเรียกหน้าทับแบบนี้ว่า “หน้าทับปรบไก่” ครับ

ห้อง ๑   ห้อง ๒   ห้อง ๓   ห้อง ๔   ห้อง ๕   ห้อง ๖   ห้อง ๗   ห้อง ๘
---ฟา    -ซอลซอลซอล   ---ลา   -ซอลซอลซอล   -โดํ-ลา   -ซอล-ฟา   --ลาซอล   ฟาซอล-ลา
----   ---ลม   ---จ๋า   -ลมรำเพย   -พบ-ใคร   -เขา-เอ่ย   --เฉลย   -ฝากวาจา
--ทั่งติง   -โจ๊ะ-จ๊ะ   -โจ๊ะ-จ๊ะ   -โจ๊ะ-จ๊ะ   -ติง-ทั่ง   -ติง-ติง   -ทั่ง-ติง   -ติง-ทั่ง


ฟังเพลงสร้อยเพลง ๒ ชั้น เพื่อจับจังหวะหน้าทับปรบไก่ แสดงความคิดเห็นหน่อยค่ะ 

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 07:03:17 PM »

 

สำหรับหน้าทับของเพลงชั้นเดียว ถ้าเป็นเพลงประโยคสั้นซึ่งใช้หน้าทับสองไม้มีดังนี้ “- โจ๊ะจ๊ะ -ติง-ทั่ม(ติง)” ส่วนเพลงสามชั้นมีหน้าทับดังนี้ “--ทั่มติง -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ -ติง-ติง -ทั่งติงทั่ง -ติง-ติง –ทั่งติงทั่ง”

เพลงประโยคยาวซึ่งใช้หน้าทับปรบไก่ อัตราชั้นเดียวมีหน้าทับ “--ติงทั่ง -ติง-- ติงทั่ง-ติง –ทั่งติงทั่ง” อัตราสามชั้นใช้หน้าทับ “--ทั่งติง -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ ---- -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ -โจ๊ะ-จ๊ะ -ติง-ติง -ทั่งติงทั่ง ติงทั่ง-ติง -โจ๊ะ-จ๊ะ -ติง-ทั่ง -ติง-ติง -ทั่ง-ติง -ติง-ทั่ง

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 07:05:06 PM »

 

เพลงไทยเดิมนิยมบอกความยาวของเพลงด้วยการนับจังหวะหน้าทับ เช่น เพลงทยอยญวน ๒ ชั้น ซึ่งใช้จังหวะหน้าทับสองไม้ เป็นเพลงท่อนเดียวมี ๑๐ จังหวะ (คือ ๑๐ จังหวะหน้าทับสองไทยในอัตราสองชั้นนั่นเอง) ส่วนเพลงสร้อยเพลง ๒ ชั้น ซึ่งใช้หน้าทับปรบไก่ เป็นเพลงท่อนเดียว ๔ จังหวะ (หมายถึง ๔ จังหวะหน้าทับปรบไก่อัตราสองชั้น)

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 07:07:05 PM »

 

นอกจากหน้าทับสองไม้ หน้าทับลาว หน้าทับปรบไก่ แล้ว ยังมีหน้าทับอีกมากแบบ เช่น หน้าทับสดายง หน้าทับเขมร หน้าทับมอญ หน้าทับจีน หน้าทับญวน หน้าทับพม่า หน้าทับเจ้าเซ็น หน้าทับฝรั่ง เพื่อใช้บรรเลงเพลงออกภาษาต่าง ๆ ให้ได้รสชาติบรรยากาศของชาติภาษานั้น ๆ

สำหรับเพลงทยอยญวน ชื่อบ่งชี้สำเนียงญวน แต่ที่จริงเป็นเพลงสำเนียงไทยแท้ จึงใช้หน้าทับสองไม้ ไม่ใช้หน้าทับญวน

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3714
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1124
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 23%
HP: 0.2%


« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 07:10:18 PM »

 

โดยสรุปแล้ว จังหวะหน้าทับของเพลงไทยเดิมมีหลากหลายเหมือน ๆ กับที่ดนตรีสากลมีจังหวะช่ะช่ะช่ะ กัวลาช่า โบเลโร่ นั่นแหละครับ

ท่านทั้งหลายอ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ถ้ายังไม่เคยได้รับทราบมาก่อน พอจะทำความเข้าใจได้บ้างไหมครับ

สำหรับท่านที่เป็นผู้รู้กรุณาช่วยตกเติมด้วยจะขอบคุณมากครับ

เรามาช่วยกันทำความเข้าใจเพลงไทยเดิมอันเป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของไทยให้กระจ่างแจ้ง เพื่อเพลงไทยเดิมจะได้อยู่คู่คนไทยไปนาน ๆ ครับ

ขอบคุณครับ

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
ป๋องศักดิ์
สายสัมพันธ์.
*

คำขอบคุณ: 2552
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597
สมาชิก ID: 1982


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 19 : Exp 81%
HP: 0%


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 11:14:39 PM »

ขอรับฟังตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจหน่อยครับ  เวลาไปร้องเพลงที่มีดนตรีสด  เคยได้ยินนักดนตรี(ไวโอลินกับเปียโน)นัดแนะกันเหมือนกันในเพลงประเภทสังคีตว่าจังหวะหน้าทับสองไม้  ต่อไปจะได้เข้าใจมากขึ้นคุยกับนักดนตรีได้บ้างครับ  ขอบคุณครับ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!