ในที่สุด ดนตรีไทยก็นำเอาเสียงดนตรีสากล “โด เร มี ฟา ซอล ลา ที” มาใช้ โดยกำหนดให้มีตัวอักษรซึ่งเป็นพยัญชนะต้นแทนเสียงนั้น ๆ คือ
ด = โด
ร = เร
ม = มี
ฟ = ฟา
ซ = ซอล
ล = ลา
ท = ที
ถ้าเป็นเสียงในช่วงเสียงที่สูงขึ้นไป เช่น โดํ ก็จะใส่เครื่องหมายจุดข้างบนตัวอักษรเช่น ดํ
ถ้าเป็นเสียงในช่วงเสียงที่ต่ำลงมา เช่น โดฺ ก็ใส่เครื่องหมายจุดด้านล่างตัวอักษรเช่น ดฺ
โน้ตตัวอักษรแบบนี้เรียกว่า
โน้ตแบบซอลฟา ซึ่งทางดนตรีสากลก็มีใช้อยู่บ้างเหมือนกัน
ในห้องเพลงหนึ่งของดนตรีไทยเดิม ปกติจะบรรจุเสียงได้ ๔ เสียง (๑ เสียงที่จะบรรจุในห้องเพลงเทียบเท่าโน้ตตัวเขบ็ต ๑ ชั้นของดนตรีสากล) ใน ๑ บรรทัดจะมี ๘ ห้องเพลง ถ้าตรงไหนไม่มีเสียงบรรจุก็จะใช้เครื่องหมาย – บรรจุลงไปแทน
(หมายเหตุ เนื่องจากการทำตารางในเว็บไซต์นี้ยากเหลือเกิน ผมจึงขอใช้เครื่องหมาย , และการเว้นวรรคแทนห้องเพลงก็แล้วกัน)
โปรดดูตัวอย่างโน้ตเพลงลาวจ้อย ๒ ชั้น
---
ด, รมซ
ร, ---
-, -ม-
ร, ---
ด, รมซ
ร, มรด
ร, -ม-
ซ,
---
ม, ซลดํ
ซ, ---
ม, รดร
ม, --ซ
ล, -ดํ-
รํ, มํรํดํ
ล, -ดํ-
ซ,
---
-, ---
-, -ซ-
ล, ดํรํมํ
ล, --ซ
มํ, --ซ
ล, --ซ
ล, ดํรํดํ
ซ,
---
-, ---
-, ซํมํรํ
ดํ, -รํ-
มํ, ---
-, -ดํ-
รํ, มํรํดํ
รํ, -มํ-
ดํ,
โน้ตดังกล่าวอ่านได้ดังนี้
---โด, เรมีซอลเร, ----, -มี-เร, ---โด, เรมีซอลเร, มีเรโดเร, -มี-ซอล,
---มี, ซอลลาโดํซอล, --- มี, เรโดเรมี, --ซอลลา, -โดํ-เรํ, มีเรํโดํลา, -โดํ-ซอล,
----, ----, -ซอล-ลา, โดํเรํมีลา, --ซอลมี, --ซอลลา, --ซอลลา, โดํเรํโดํซอล,
----, ----, ซํอลมีเรํโดํ, -เรํ-มี, ----, -โดํ-เรํ, มีเรํโดํเรํ, -มี-โดํ,
(หมายเหตุ จังหวะฉิ่งจะลงที่ตัวโน้ตท้ายห้องซึ่งมีสีแดงครับ)
การนำโน้ตแบบซอลฟามาใช้สำหรับดนตรีไทยเดิม มีข้อมูลว่า
อาจารย์สงัด ภูเขาทอง (พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๕๔๖) อาจารย์สอนดนตรีไทยของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้ริเริ่ม ต่อสู้และผลักดันอยู่นานพอสมควรจนกว่าจะได้รับการยอมรับและนิยมใช้อยู่กันในปัจจุบัน
ท่านผู้สนใจโน้ตดนตรีไทยแบบซอลฟา ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
เว็บเด็กดี
http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=446621 เว็บโสภณ
http://www.sopon.ac.th/sopon/thaimusic/content.html เว็บนุ่มละมุน
http://www.noomlamoon.com/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=13&id=952&Itemid=180