ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 07:53:07 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ครูพรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)  (อ่าน 22586 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อำนวย
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 24593
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4852
สมาชิก ID: 362


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 56 : Exp 72%
HP: 3.1%

คนไทยโชคดีที่สุดในโลก ที่มีพระเจ้าอยู่หัว


« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2017, 09:46:01 pm »

ครูพรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา)


       ครูพรานบูรพ์มีชื่อเดิมว่า นายจวงจันทร์ จันทร์คณา เป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทร์) และนางสร้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีน้องสาวร่วมบิดามารดาหนึ่งคน คือ นางสังวาล มณิปันติ เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการซึ่ง่ต้องโยกย้ายไปรับราชการตามจังหวัดต่างๆ เมื่อถึงวัยที่จะต้องเข้ารับการศึกษา บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี ด.ช.จวงจันทร์จึงได้เข้าเรียนที่วัดสัตนาถ เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นอายุได้ ๗ ปี มารดาได้พาไปอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เรียนหนังสือต่อจนอายุ ๑๑ ปี จึงได้เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
       ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบจากสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในคณะรัฐประศาสน์ (รัฐศาสตร์) แต่เรียนไม่สำเร็จเพราะสนใจในด้านการประพันธ์และดนตรีมากกว่า
       ระยะนั้นเป็นระยะที่คณะละครชาตรีพัฒนาเดินทางกลับจากอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทอยู่หลังฉาก ขณะเดียวกันก็เริ่มบทกวีในนาม “อำแดงขำ” เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา “รักร้อย” ลงในหนังสือยุคนั้น และนามปากกา “ศรี จันทร์งาม” ในหนังสือ “เนตรนารี” ต่อมาได้แต่งบทละครเรื่อง “ทะแกล้วสามเกลอ” ขึ้นเป็นเรื่องแรกได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครเองและกำกับการแสดงเอง และได้ใช้นามปากกา “พรานบูรพ์” เป็นครั้งแรกเมื่อเขียนเรื่อง “เหยี่ยวทะเล”
       เนื่องจากบทละครของพรานบูรพ์เป็นที่นิยมของคนดู พรานบูรพ์จึงได้ดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับมาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับละครร้องยุคนั้นทีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องให้เต็มแทนลูกคู่ ใช้ดนตรีคลอฟังทันหูทันใจ จึงเป็นที่นิยมของประชาชนคนดูมาก
       เมื่อคณะละครราตรีพัฒนายุบคณะลง เพราะเจ้าของมีภารกิจด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น พรานบูรพ์จึงได้เข้าทำงานหนังสือพิมพ์ โดยประจำกองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน และเขียนเรื่องสั้น, เรื่องยาว และบทพากย์การ์ตูนในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วัจันทร์
       ต่อมาได้จัดตั้งละครขึ้นคณะหนึ่งให้ชื่อว่า “ศรีโอภาส” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “จันทโรภาส” ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเรื่อง “จันทร์เจ้าขา”
พรานบูรพ์เป็นผู้ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ การพากย์ในยุคแรกนั้นเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้ผู้ดูฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาก็เป็นการพากย์แบบโขนให้แก่หนังแขก เรื่องแรกที่เข้ามาฉายคือเรื่องรามเกียรติ์ และต่อมาก็เป็นการพากย์แบบปัจจุบันโดยมีดนตรีประกอบด้วย ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการพากย์แบบใหม่คือ อาบูหะซัน มีทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) เป็นผู้พากย์เป็นคนแรก
       ในด้านภาพยนตร์ พรานบูรพ์ได้สร้างบทภาพยนตร์ให้กับบริษัทภาพยนตร์ “ศรีกรุง” หลายเรื่อง เช่น ในสวนรัก, อ้ายค่อม, ค่ายบางระจัน และบทภาพยนตร์ สนิมในใจ, สามหัวใจ, แผลเก่า ให้กับบูรพาศิลป์ภาพยนตร์ และได้สร้างภาพยนตร์เอง เช่น วังหลวง-วังหลัง ฯลฯ ในระยะหลังแม้จะสูงวัยก็ยังคงทำบทพากย์ภาพยนตร์ สคริพท์หนังไทย และบทละคร
       ทางด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรธิดา ๔ คน คือ
       ๑ นายจารุ จันทร์คณา                              
       ๒ น.ส.จุไร จันทร์คณา                              
       ๓ น.ส.จามรี จันทร์คณา                              
       ๔ น.ส.จริยา จันทร์คณา                              
และมีบุตรที่เกิดจากนางเทียมน้อย นวโชติ ๑ คนคือ นายจงรัก จันทร์คณา
       ภายหลังเมื่อภรรยา (ศรี จันทร์คณา) ถึงแก่กรรม สุขภาพก็ทรุดโทรมเรื่อยมา แต่ก็ยังพยายามเขียนบทละครเรื่อง “ขวัญใจโจร” ให้คณะละครคณะหนึ่งที่มาขอไว้เพื่อจะนำไปแสดงทางโทรทัศน์จนจบ และถึงแก่กรรมด้วยระบบลมหายใจล้มเหลว เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๙ อายุได้ ๗๔ ปี บริบูรณ์



ข้อมูลจากหนังสืออนุสรณ์งานศพพรานบูรพ์ (๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙)
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2020, 08:21:23 pm โดย อำนวย » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!