ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 08:35:13 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: การบันทึกทำนองเพลงไทยเดิม  (อ่าน 7563 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3715
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 12%
HP: 0.2%


« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 03:30:54 pm »

 

เพลงไทยเดิมยึดทำนองเพลงที่ฆ้องวงใหญ่เล่นโดยไม่พลิกแพลงที่เรียกว่า “ลูกฆ้อง” หรือ “เนื้อฆ้อง” หรือ “Basic Melody” เป็นทำนองหลักของเพลง เครื่องดนตรีอื่นจะเล่นโดยนำทำนองหลัก “ลูกฆ้อง” มาแปรทำนองไปตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีชนิดนั้นประกอบกับความสามารถของผู้เล่นเอง เมื่อบรรเลงผสมผสานกันแล้วจะเกิดความไพเราะเพราะพริ้งตามแบบฉบับของดนตรีไทยเดิม แต่ถ้าหากเล่นไป ๆ แล้วทำท่าจะหลงทำนองก็เงี่ยหูฟังเสียงฆ้องวงใหญ่ ก็จะกลับมาเล่นได้ตรงตามทำนองหลักต่อไปได้ ฆ้องวงใหญ่จึงมีความสำคัญต่อวงดนตรีไทยประเภทปี่พาทย์หรือมโหรีมาก ผู้เล่นฆ้องวงใหญ่ต้องมีความแม่นยำในทำนองหลักของเพลงเป็นอย่างดีเพื่อเป็นหลักให้เครื่องดนตรีอื่น ๆ ในวง เว้นแต่วงเครื่องสายที่ไม่มีฆ้องวงใหญ่ เครื่องทุกเครื่องจึงต้องจดจำทำนองเพลงให้ได้เพื่อเล่นประสานกันไปให้ได้ โดยมีซอด้วงเป็นผู้นำวงซึ่งต้องมีความแม่นยำในทำนองเป็นพิเศษ

ทดลองฟังตัวอย่างทำนองหลัก (หรือลูกฆ้อง) เพลงโหมโรงมหาราช http://www.finearts.go.th/node/5066
ทดลองฟังเพลงโหมโรงมหาราชซึ่งบรรเลงครบทุกเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง http://musicthai.patakorn.com/?p=441
ทดลองฟังเพลงโหมโรงมหาราชซึ่งบรรเลงครบทุกเครื่องดนตรีในวงมโหรี http://www.youtube.com/watch?v=6ntFj2El9o4

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3715
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 12%
HP: 0.2%


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 03:32:40 pm »

 

การสืบทอดเพลงไทยเดิมแต่ก่อนใช้วิธีสอนลูกฆ้องให้จดจำทำนองไว้ในความทรงจำ หรือบอกเสียงสูงต่ำด้วยคำต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรี เช่น น้อด น้อย นอย หน่อย แต่ง ติง แนง แต๊ง ติง ตือ แฮ แตร๋ง แตรง แตร่ง แตร้ง นานนานเข้าเพลงเพี้ยนไปก็มี สั้นไปก็มี ยาวไปก็มี แต่ที่น่าเสียดายมากคือเพลงสูญหายไปเป็นจำนวนมาก น่าจะเป็นพัน ๆ เพลง ทั้งนี้ เพราะเพลงไทยเดิมไม่มีการบันทึกทำนองเป็นลายลักษณ์อักษรไว้

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3715
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 12%
HP: 0.2%


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 03:34:25 pm »

 

บรมครูทางดนตรีไทยท่านหนึ่งคือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๙๗) ได้ริเริ่มคิดโน้ตสำหรับเครื่องดนตรีไทยขึ้น โดยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านได้คิดเครื่องหมายแทนเสียงในการสอนดนตรีไทย โดยใช้ตัวเลขเป็นตัวโน้ตแทนเสียง สำหรับซอด้วงและซออู้ ใช้เลข ๑ ถึงเลข ๗ สำหรับจะเข้ใช้ตัวเลข ๑ - ๑๑ การใช้ตัวเลขแบบนี้ทำให้สะดวกในการเรียนมากขึ้นแต่ไม่ได้แพร่หลายเพราะใช้สอนเฉพาะบุตร หลานและลูกศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3715
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 12%
HP: 0.2%


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 03:36:00 pm »

 

ต่อมามีการกำหนดตัวเลข ๐, ๑, ๒, ๓, ๔ สำหรับบันทึกโน้ตสำหรับซอด้วง ซออู้ ซึ่งมีความหมายคือ ๐ ให้สีสายเปล่า ๑ ให้ลงนิ้วชี้ ๒ ให้ลงนิ้วกลาง ๓ ให้ลงนิ้วนาง ๔ ให้ลงนิ้วก้อย เครื่องดนตรีชนิดอื่นก็มีความพยายามกำหนดโน้ตตัวเลขเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่ค่อยสะดวกอยู่ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องการจำทำนองเพลงต้องใช้คำ หนอย นอย หน่อย น้อย มาท่องจำอยู่ดี โน้ตแบบนี้เรียกว่า “โน้ตนิ้ว”

 

สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
woraphon
Moderator
*

คำขอบคุณ: 3715
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115
สมาชิก ID: 1760


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 27 : Exp 12%
HP: 0.2%


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 03:46:28 pm »

 

ในที่สุด ดนตรีไทยก็นำเอาเสียงดนตรีสากล “โด เร มี ฟา ซอล ลา ที” มาใช้ โดยกำหนดให้มีตัวอักษรซึ่งเป็นพยัญชนะต้นแทนเสียงนั้น ๆ คือ

ด = โด
ร = เร
ม = มี
ฟ = ฟา
ซ = ซอล
ล = ลา
ท = ที

ถ้าเป็นเสียงในช่วงเสียงที่สูงขึ้นไป เช่น โดํ ก็จะใส่เครื่องหมายจุดข้างบนตัวอักษรเช่น ดํ
ถ้าเป็นเสียงในช่วงเสียงที่ต่ำลงมา เช่น โดฺ ก็ใส่เครื่องหมายจุดด้านล่างตัวอักษรเช่น ดฺ

โน้ตตัวอักษรแบบนี้เรียกว่าโน้ตแบบซอลฟา ซึ่งทางดนตรีสากลก็มีใช้อยู่บ้างเหมือนกัน

ในห้องเพลงหนึ่งของดนตรีไทยเดิม ปกติจะบรรจุเสียงได้ ๔ เสียง (๑ เสียงที่จะบรรจุในห้องเพลงเทียบเท่าโน้ตตัวเขบ็ต ๑ ชั้นของดนตรีสากล) ใน ๑ บรรทัดจะมี ๘ ห้องเพลง ถ้าตรงไหนไม่มีเสียงบรรจุก็จะใช้เครื่องหมาย – บรรจุลงไปแทน

(หมายเหตุ เนื่องจากการทำตารางในเว็บไซต์นี้ยากเหลือเกิน ผมจึงขอใช้เครื่องหมาย , และการเว้นวรรคแทนห้องเพลงก็แล้วกัน)

โปรดดูตัวอย่างโน้ตเพลงลาวจ้อย ๒ ชั้น
---,   รมซ,   ----,   -ม-,   ---,   รมซ,   มรด,   -ม-,
---,   ซลดํ,   ---,   รดร,   --ซ,   -ดํ-รํ,   มํรํดํ,   -ดํ-,
----,   ----,   -ซ-,   ดํรํมํ,   --ซมํ,   --ซ,   --ซ,   ดํรํดํ,
----,   ----,   ซํมํรํดํ,   -รํ-มํ,   ----,   -ดํ-รํ,   มํรํดํรํ,   -มํ-ดํ,

โน้ตดังกล่าวอ่านได้ดังนี้
---โด,   เรมีซอลเร,   ----,   -มี-เร,   ---โด,   เรมีซอลเร,   มีเรโดเร,   -มี-ซอล,
---มี,   ซอลลาโดํซอล,   --- มี,   เรโดเรมี,   --ซอลลา,   -โดํ-เรํ,   มีเรํโดํลา,   -โดํ-ซอล,
----,   ----,   -ซอล-ลา,   โดํเรํมีลา,   --ซอลมี,   --ซอลลา,   --ซอลลา,   โดํเรํโดํซอล,
----,   ----,   ซํอลมีเรํโดํ,   -เรํ-มี,   ----,   -โดํ-เรํ,   มีเรํโดํเรํ,   -มี-โดํ,

(หมายเหตุ จังหวะฉิ่งจะลงที่ตัวโน้ตท้ายห้องซึ่งมีสีแดงครับ)

การนำโน้ตแบบซอลฟามาใช้สำหรับดนตรีไทยเดิม มีข้อมูลว่าอาจารย์สงัด ภูเขาทอง (พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๕๔๖) อาจารย์สอนดนตรีไทยของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้ริเริ่ม ต่อสู้และผลักดันอยู่นานพอสมควรจนกว่าจะได้รับการยอมรับและนิยมใช้อยู่กันในปัจจุบัน

ท่านผู้สนใจโน้ตดนตรีไทยแบบซอลฟา ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
เว็บเด็กดี http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=446621
เว็บโสภณ http://www.sopon.ac.th/sopon/thaimusic/content.html
เว็บนุ่มละมุน http://www.noomlamoon.com/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=13&id=952&Itemid=180   

 
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาอ่าน แสดงความคิดเห็น และตอบกระทู้ครับ
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!