..........กิโยติน (ฝรั่งเศส: guillotine) คือเครื่องมือที่ใช้ในการลงโทษโดยการตัดคอ กิโยตินประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตินฝรั่งเศส)
..........ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยติน นิโกลาส์ ชัก เปลติเยร์ (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจรถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันใน ประเทศอิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์
..........อองตวน หลุยส์ (Antoine Louis) สมาชิกของกลุ่ม Académie Chirurgical เป็นบุคคลที่คิดค้นการทำงานของเครื่องกิโยติน โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โฌเซฟ-อินแนซ กิโยแตง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต การใช้เครื่องกิโยตินแทนการประหารชีวิตแบบเก่า โดยเหตุผลว่าเป็นการประหารชีวิตของมนุษย์ ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่างๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผา หรือมัดกับล้อไม้) ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อย 20,000 คน โดยการประหารด้วยกิโยตินถือเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปเช่นกัน
..........กิโยตินถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินคือ ยูจีน เว็ดมันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพ โดยถูกตัดศีรษะเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เวลา 16.32 น. ภายนอกคุก Saint-Pierre rue Georges Clemenceau 5 ที่เมืองแวร์ซายส์
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี