โรงเรียนประชาบาล(local school) คือ โรงเรียนที่ขึ้นกับส่วนการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ในประเทศไทยในอดีตประชาชนสามารถจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลได้โดยกฎหมายกำหนดให้มีกรรมการจัดการไม่เกิน 5 คน ต้องจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่และมีฐานะเป็นนิติบุคคล (พ.ร.บ. ประถมศึกษา พ.ศ. 2464) ต่อมา พ.ร.บ. ประถมศึกษา พ.ศ. 2478 ได้บัญญัติไว้ว่าประชาชนอาจรวมกันจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลโดยมีคณะกรรมการจัดการมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 3 คนและไม่เกิน 5 คน โรงเรียนประชาบาลที่ประชาชนจัดตั้งนี้ให้เป็นนิติบุคคล คณะกรรมการจัดการมีหน้าที่เก็บเงิน จัดการเงิน ทำงบประมาณรายได้รายจ่าย รักษาดำรงโรงเรียนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และจัดการโรงเรียนอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ต่อมา พ.ร.บ. ประถมศึกษา พ.ศ.2523 ได้ยกเลิก พ.ร.บ. ประถมศึกษาฉบับก่อนๆ ทั้งหมด และบัญญัติในมาตรา 5 ว่า"การจัดตั้ง การบริหาร การปรับปรุงและการเลิกล้มโรงเรียนประถมศึกษา รวมทั้งการกำหนดเกี่ยวกับเวลาเรียน ภาคเรียน หลักสูตร แบบเรียน อุปกรณ์ทางการศึกษา และการวัดผลการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น "และได้โอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และโรงเรียนประถมศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นโรงเรียนประชาบาลที่ประชาชนจัดตั้งและดำรงตามกฎหมายฉบับก่อน จึงไม่อาจทำได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะเปิดโอกาสให้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลโดย ประชาชนดำเนินการขึ้นได้ แต่ในทางปฏิบัติก็มีอยู่น้อยมาก โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอจัดตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินช่วยการประถมศึกษาของกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการในปัจจุบัน)
เพลง : ครูประชาบาล
ศิลปิน : ยอดรัก สลักใจ
คำร้อง-ทำนอง : ยอดธง บุญูธูป
ชีวิตหดหู่ ครูประชาบาล
เปรียบเรือโดยสาร เหมือนสะพานหนอชีวิตครู
สอนเด็กให้เรียน พากเพียรให้มีความรู้
ใครบ้างจะเห็นใจครู มาดูครูประชาบาล
บ้างครั้งครูว่า ก็หาว่าร้าย
ถูกสั่งให้ย้าย ย้ายไปในถิ่นกันดาร
ลำบากลำบน ต้องทนแสนทรมาน
ถึงไกลต้องไปเพื่องาน ต้องการสอนเด็กให้ดี
นี่แหละหนา เกิดมาเป็นครูสอนคน
แต่บางคน ข้ามคนเป็นครูเสียนี่
ไม่บูชา แล้วยังกลับมาย่ำยี
ถึงศิษย์จะไม่ปราณี แต่ครูนี้ยังมีเมตตา
ถึงใครลบหลู่ โถครูอย่างเรา
ตื่นนอนตอนเช้า ก็เฝ้าแต่สอนวิชา
เหน็ดเหนื่อยเพียงใด ใกล้ไกลครูไม่เคยว่า
ขอเพียงให้มีวิชา ที่ปรารถณา...ของครู...