ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 03:59:09 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  (อ่าน 2904 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongna
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 1731
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 589
สมาชิก ID: 1301


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 19 : Exp 68%
HP: 0%

สวัสดีค่ะ


« เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 11:20:20 am »

หลักเมืองเป็นประเพณีพราหมณ์ มีมาแต่อินเดีย ไทยตั้งหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์
ที่จะเกิดหลักเมืองนั้นคงจะเป็นด้วยประชาชนประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มีหมู่บ้านหลายๆหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบล
ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอหลายๆอำเภอเรียกว่าเมือง เมืองหลายๆเมืองรวมกันเป็นเมืองใหญ่
เมืองใหญ่หลายๆเมืองเป็นมหานคร คือเมืองมหานคร"





         ในเมื่อแตกต่างกันอย่างนี้
ก็ต้องมี "หลัก" เอาไว้เมื่อมีการสถาปนาเมืองมหานคร
หรือเมืองหลวงขึ้นไว้ให้เกิดความรู้สึกเป็นปึกแผ่นมั่นคง เมื่อไทยรับประเพณีหลายๆ
อย่างมาจากอินเดียก็ได้รับคติข้อนี้มาด้วย หลักเมืองจึงปรากฏอยู่ในตำนานการสร้างเมืองหลวงหลายแห่ง
บนดินแดนแหลมทองของเรา อย่างใน ตำนานสิงหนวัต
บอกไว้ว่าขุนลังสร้างเมืองใหม่ขึ้นหลังจากเมืองโยนกเกิดแผ่นดินไหว จนเมืองถล่มจมกลายเป็นหนองน้ำ
ได้ตั้งหลักเมืองขึ้นในวันอังคารเดือนแปดขึ้นเจ็ดค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. ๑๐๓๗ ส่วนใน ตำนานจามเทวีวงศ์
พระฤาษีเนรมิตเขลางค์นครให้เจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวี แล้วเอาแผ่นผาศิลาบาตก้อนหนึ่งมาตั้งไว้กลางเมือง
ศิลานี้ก็คือหลักเมือง และเขลางค์นครก็คือเมืองลำปางในปัจจุบัน ส่วนสุโขทัยเองก็มีหลักเมืองเหมือนกัน
ศิลาก้อนนั้นคือที่มาของตำนานเรื่องพระร่วงและขอมดำดินนั่นเอง

         หลักเมืองของกรุงเทพฯ ทำพิธียกเมื่อวันอาทิตย์เดือนหก
ขึ้นสิบค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕
ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งห้าสิบสี่นาที นับเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญอย่างหนึ่งของเมืองหลวงเมื่อแรกตั้งกรุง

         พาย้อนอดีต ชวนลูกทัวร์กลับไปดูว่าเมืองหลวงของเราตอนนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร
จากคำบรรยายตอนชมเมืองในพระราชนิพนธ์ อิเหนา

ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ

บ้านช่องสองข้างมรรคา

เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี

เรือนริมรัถยาฝากระดาน

สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา

ศาลเทพารักษ์หลักเมือง

   ลำดับดาดอิฐแผ่นแน่นหนา

ล้วนเคหาหน้าถังนั่งร้าน

มั่งมีสมบัติพัสถาน

ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง

ก่อผนังหลังคามุงกระเบื้อง

นับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร 




        ในศาลหลักเมือง มี "หลักเมือง"
ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๙. ๑/๒ นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนแท่นกว้าง
๖๙.๑/๒ นิ้ว ปลายเสาเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ข้างในเป็นช่องบรรจุเทวรูปเทพารักษ์พระหลักเมือง
และพระสุพรรณบัตรจารึกดวงชะตาเมือง ดังนั้น ที่ว่านับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร ก็คือการนับถือเทพารักษ์นี่เองค่ะ
ไม่ใช่นับถือตัวศาลหรือตัวเสาหลักเมือง

         เทพารักษ์มาจากไหน ก็มาจากความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามายังไงล่ะคะ
คือลัทธิการนับถือผีสางเทวดา เชื่อว่าทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งพิบัติต่างๆ เกิดจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น
ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่มองไม่เห็นนี้ก็อาจบันดาลให้เกิดความสุขความเจริญได้เช่นกัน
ก็เพราะเหตุนี้เองคนไทยจึงมีพิธีกรรมบวงสรวง อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาคุ้มครองป้องกันภัย
และเกื้อกูลให้เจริญรุ่งเรืองเมื่อตั้งถิ่นที่อยู่

         เทวดาที่ไทยถือว่ามีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองมี
๔ องค์ใหญ่ๆด้วยกันคือ พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง และ พระกาฬไชยศรี

         ในรัชกาลที่ ๑ พระหลักเมืองอยู่ในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
องค์อื่นๆท่านก็มีศาลของท่านเองแยกไปต่างหาก และยังมีเทพารักษ์อื่นๆนอกเหนือจากนี้ด้วย
แต่ต่อมาบ้านเมืองมีสิ่งก่อสร้างทางราชการเพิ่มขึ้นทุกทีตามยุคสมัย ก็จำต้องรื้อถอนศาลเทพารักษ์หลายศาลออกไป
เทวรูปประจำศาลทั้งหลายจึงได้รับการอัญเชิญมาอยู่รวมกันที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
คือ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี
และ เจ้าพ่อเจตคุปต์





         เจ้าพ่อหอกลอง
ลักษณะเป็นรูปเทวดาสวมมงกุฎ หล่อด้วยโลหะปิดทองสูง ๑๐๕ ซ.ม.ยกกรทั้งสองขึ้นสูง
มีนาครัดอยู่ เดิมมีศาลอยู่ใกล้หอกลองหน้าว้ดโพ หรือวัดพระเชตุพน แต่รื้อลงเพื่อทำกรมทหารหรือกรมรักษาดินแดนในปัจจุบัน

         พระเสื้อเมือง
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง เป็นเทวดาทรงเครื่องประดับสังวาล ทับทรวง พาหุรัด ทองกร
สวมมงกุฎ พระหัตถ์ซ้ายกุมคทา พระหัตถ์ขวายกสูงเสมอพระนลาฏ เข้าใจว่าเดิมถืออาวุธแต่หักหายไป

         พระทรงเมือง
แต่งองค์แบบเดียวกับพระเสื้อเมืองแต่ต่างอิริยาบถออกไป พระหัตถ์ซ้ายกุมพระขรรค์ยกขึ้นที่เอว
พระหัตถ์ขวายกสูงเหมือนถืออาวุธแต่หักหายไปเช่นกัน

         พระกาฬไชยศรี
เป็นเทวรูปสี่กร ประทับนั่งบนหลังนกแสก ถืออาวุธต่างๆแต่หักหายไปอีกเหมือนองค์อื่นๆ
ศาลเดิมอยู่ใกล้เจ้าพ่อหอกลองแต่ถูกรื้อลงในคราวเดียวกันค่ะ

         เจ้าพ่อเจตคุปต์
ลักษณะคล้ายเจ้าพ่อหอกลอง แต่กรหักหายไปทั้งสองข้าง เดิมอยู่ที่ศาลหน้าหับเผยข้างคุกมหันตโทษ
ชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนว่า "เจ้าพ่อเจตคุก"





         พระกาฬไชยศรีและพระเจตคุปต์เดิมเป็นเทวดาอินเดียระดับกลางๆ
ไม่ใหญ่โตนัก เป็นบริวารของพระยม พระกาฬหรือพระกาลเป็นเทวทูตมีหน้าที่นำวิญญาณคนตายไปยมโลก
ส่วนพระเจตคุปต์เป็นนายทะเบียนคนตาย มีหน้าที่สำรวจว่าใครถึงที่ตาย ก็จะส่งมรณบัตรให้พระกาฬมารับเอาตัวไป
แต่เมื่อทั้งพระกาฬกลายมาเป็นเทวดาไทย ก็ได้รับการยกย่องนับถือเป็นเทพชั้นปกครอง
ผู้คนกลัวกันมาก จนเกิดสำนวนใช้ในการสบถสาบานว่า "ให้พระแก้วพระกาฬหักคอซิเอ้า"


         จบคำอธิบาย ถึงเวลาเข้าไปในศาล
ไหว้เจ้าพ่อกันแล้วค่ะ ขอให้ท่านคุ้มครองบ้านเมือง ให้รอดพ้นจากสงครามเศรษฐกิจเสียที




สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

สวัสดีค่ะคุณผู้เยี่ยมชมยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!