วันครู(ประเทศไทย)
จัดมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา ปี พ.ศ.2488
ที่ระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่าคุรุสภา เป็นนิติบุคคลอละให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา
โดยมีหน้าที่1.เรื่องของสถาบันวิชาชีพครู 2.ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ
3.ควบคุมจรรยาและวินัยของครู 4.รักษาผลประโยชน์รวมทั้งส่งเสริมฐานะของครู 5.จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวให้ได้รับ
ความช่วยเหลือตามสมควร 6.ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ทุกปีคุรุสภาจะจัดการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมาและ
ชักถามปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ สถานที่ในการประชุม
สมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ.2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อ
ที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า..
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่าเนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเรา
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณ
ทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญทำทาน คนที่สอง
รองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่เรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็น
ผู้เสียสละประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้มีมติเห็นควรให้มี
วันครูขึ้น โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจ
อันดีระหว่างครูกับประชาชน
งานวันครูจัดครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ.2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของ
กรีฑาสถานแห่งชาติจัดงาน กำหนดหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู
และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา
ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
* กิจกรรมทางศาสนา
* พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
* กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี/มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ
จาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลง : แม่พิมพ์ของชาติ
ศิลปิน : วงจันทร์ ไพโรจน์
คำร้อง-ทำนอง : สุเทพ โชติสกุล
แสงเรืองๆ ที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย
คือแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่ โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง
เหนื่อยยากอย่างไร ไม่เคยบ่นไปให้ใครเขามอง
ครูนั้นยังลำพอง ในเกียรติของตนเสมอมา
ที่ทำงานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร
ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้ เร่งรุดไปให้ทันเวลา
กลับบ้านไม่ทันบางวันต้องไปอาศัยหลวงตา
ครอบครัวคอยท่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน
ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา
เห็นศิษย์รออยู่พร้อมหน้า ต้องรีบมาทำการสอน
ไม่มีเวลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน
โรงเรียนในดงป่าดอน ให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา
ชื่อของครูฟังดูก็หรูชวนชื่นใจ งานที่ทำก็ยิ่งใหญ่
สร้างชาติไทยให้วัฒนา
ฐานะของครูใครๆ ก็รู้ว่าด้อยหนักหนา
ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี
นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยู่รอบเมืองไทย
หวังสิ่งเดียวคือขอให้เด็กของไทยในผืนธานี
ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี
ครูก็ภูมิใจที่สมความเหนื่อยยากตรากตรำมา...
ดวงจันทร์ ไพโรจน์หรือ วงจันทร์ ไพโรจน์ มีชื่อเล่นว่าจิ๋ม เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิด'เมื่อ 18 กรกฎาคม 2478 เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในปี 2500
จากผลงานเพลง''ช่างร้ายเหลือ'' เพลง''สาวสะอื้น''ของครูสมาน กาญจนะผลิน,''ไทรโยคแห่งความหลัง"ของครูนคร มงคลายน ''เสียงสะอื้นจากสาวเหนือ''
ของครูสุรพล สมบัติเจริญ และ''แม่พิมพ์ของชาติ'' เพลงที่มีผลทำให้ผู้คนในยุคนั้นมากมายอยากจะเป็นครู
ปัจจุบันวงจันทร์ หันมาทำงานฝีมือประเภทศิลปะการร้อยสร้อยประดับลวดลายไทยจากดินญี่ปุ่น ส่งออกตามออร์เดอร์ลูกค้าที่มีจำนวนมาก และเขียนเพลง
อยู่กับบ้านที่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ กับสามี วิภาค สุนทรจามร ทายาทเจ้าของมรดกบทเพลงดังของครูเวส สุนทรจามร ซึ่ง วงจันทร์ ไพโรจน์ ได้
บันทึกเสียงเพลงเอาไว้ทั้งสิ้น 1,117 เพลง..
********
ครูหมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ดอกไม้ประจำวันครู คือ“ดอกกล้วยไม้”จากการที่มีคุณลักษณะ และความหมายคล้ายคลึงกับสภาพชีวิตครู นั่นคือ กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผล
ให้เราชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เปรียบกับครูแต่ละคน กว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงาม
ก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังเป็นพืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย
เปรียบเสมือนครูทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ ดังกลอนของหม่อนหลวงปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติที่ว่า
“กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวใด งานเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”
เพลง : แม่พิมพ์ของชาติ
ศิลปิน : พุ่มพวง ดวงจันทร์
คำร้อง-ทำนอง : สุเทพ โชติสกุล