ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
เมษายน 25, 2024, 03:54:44 PM

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.ลำพูน  (อ่าน 2740 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อนันต์648
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 9166
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1983
สมาชิก ID: 1296


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 36 : Exp 21%
HP: 0%


« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2011, 12:40:23 AM »



วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.ลำพูน


วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ที่อยู่
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ชื่อสามัญ    วัดพระธาตุหริภุญชัย
ประเภท    พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกาย    เถรวาท
ความพิเศษ    พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 27 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา


    1 เจ้าอาวาส
    2 พระราชาคณะ
    3 คณะ
    4 อาณาเขตติดต่อ
    5 ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัย
    6 โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
    7 ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
    8 แหล่งข้อมูลอื่น

เจ้าอาวาส

    พระมหาราชโมฬีสารีบุตร
    พระราชโมฬี
    พระคัมภีร์ คมฺภีโร
    พระวิมลญาณมุนี พ.ศ. 2476 - 2486
    พระครูจักษุธรรมประจิตร พ.ศ. 2486 - 2489
    พระธรรมโมลี (พระสุเมธมังคลาจารย์ อมร อมรปญฺโญ) พ.ศ. 2489 - 2533
    พระเทพมหาเจติยาจารย์ พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน

พระราชาคณะ

    พระสุเมธมังคลาจารย์ (อมร อมรปัญโญ, ปธ.๗) รองสมเด็จพระราชาคณะ - มรณภาพ
    พระเทพญาณเวที (สุเธียร อคฺคปญฺโญ, ปธ.๔) - มรณภาพ
    พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุโล, นธ.เอก, พธ.ม.) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลำพูน
    พระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ, ปธ.๗) เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
    พระศรีธรรมโสภณ (บุญโชติ ปุญฺญโชติ, ปธ.๙, พธ.ม.)

คณะ

    คณะหลวง ทิศตะวันออกเฉียงใต้
    คณะเชียงยัน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
    คณะอัฏฐารส ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    คณะสะดือเมือง ทิศตะวันตกเฉียงใต้

อาณาเขตติดต่อ

    ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส
    ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี
    ทิศตะวันออก จรดถนนรอบเมืองใน
    ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ

ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัย


วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ตัวพระบรมธาตุ ประกอบด้วย

    ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้
    สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม
    เจดีย์เชียงยันหรือเจดีย์เชียงยืน เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่นอกกำแพงทางทิศเหนือของพระธาตุหริภุญชัย ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยของพญาอาทิตยราช สำหรับเจดีย์ในปัจจุบัน เป็นเจดีย์ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าติโลกราช และกรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่ด้วยลักษณะทาสถาปัตยกรรมตรงส่วนของฐานล่างเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนขึ้นไปสี่ชั้น เหนือขึ้นไปทำเป็นบัวคว่ำและบัวถลาเป็นส่วนรองรับฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านทำเป็นซุ้มจระนำ แต่ก่อนคงประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ตรงเหนือ ส่วนของเรือนธาตุขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมซ้อนขึ้นไปรองรับองค์สถูปที่เป็นทรงระฆังแบบลังกา เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์จำลองทรงสี่เหลี่ยมตรงมุมทั้งสี่ เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์แต่ทำเป็นยอดบัวกลุ่มสลับกับบัวลูกแก้วลดหลั่นกันไปถึงส่วนยอดลวดลายที่ประดับและประกอบซุ้มจระนำ และผนังย่อเก็จประกอบไปด้วยลายบัวคอเสื้อประจำยามและบัวเชิงล่างมีลักษณะเป็นลายดอกเบญจมาศและใบไม้ประดิษฐ์ ล้อมรอบในกรอบเส้นลวดซึ่งเป็นรูปแบบของลวดลายที่นิยมทำกันในสมัยพระเจ้าติโลกราช
    หอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. 2481 ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2403 ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย
    หอไตรหรือหอธรรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัยจากศิลาจารึก ลพ.15 (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยจังหวัดลำพูน) เป็นจารึกอักษรไทยล้านนา จารึกขึ้นในราว พ.ศ. 2043 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว จารึกหลักนี้ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย เรื่องราวในจารึกได้กล่าวถึงพระเมืองแก้ว กับพระราชมารดาของพระองค์ได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศล อันยิ่งใหญ่สถาปนาหอไตรปิฎกหรือหอพระธรรมมณเฑียร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง 85,000 พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาและอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็นคัมภีร์ 420 พระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานทั้งหมด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์ และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนา สำหรับหอไตร วัดพระธาตุหริภุญชัยหลังนี้ สร้างเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตร ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงห์โตหินประดับที่หัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้าทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนประตูทางเข้าชั้นล่าง ตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุก
    วิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2057 เป็นแบบพื้นเมืองทรงล้านนาสวยงามมาก ต่อมาวิหารได้ถูกลมพายุใหญ่พัดปรักหักพังอย่างยับเยิน ในปี พ.ศ. 2458 ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันบูรณะขึ้นมาใหม่ ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วขาว พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทอง อย่างสวยงาม
    วิหารพระละโว้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตัววิหารสร้างใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เรียกว่าพระละโว้
    วิหารพระพุทธ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทอง เรียกว่า พระพุทธ
    วิหารพระทันใจ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนซึ่งถือว่าเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้สมหวังได้ดังใจ
    วิหารพระพันตน ตั้งอยู่หลังวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก
    วิหารพระบาทสี่รอย ตั้งอยู่หลังวิหารพระพุทธ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองมาจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
    วิหารพระไสยาสน์ ตั้งอยู่เหนือวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง
    วิหารพระกลักเกลือหรือพระเจ้าแดง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระทันใจ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ทาด้วยสีแดง
    เขาพระสุเมรุจำลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ด้านหน้าหอไตร มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ขนาดเล็กทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน ส่วนยอดทำลดหลั่นกันขึ้นไปเจ็ดชั้น มีการประดับสำริดซึ่งหล่อเป็นชั้นๆ แล้วนำมาประกอบเป็นทรงกลมภายหลังส่วนฐานที่รองรับ ยอดปราสาทที่อยู่ด้านบนสุด คือ สัตตบริภัณฑ์หรือภูเขาที่ล้อมรอบพระสุเมรุทั้งเจ็ดชั้น โดยมีเกษียรสมุทรคั่นระหว่างเขาแต่ละชั้น สัตตบริภัณฑ์นี้ช่างได้ทำเป็นรูปป่าไม้ มีสัตว์ป่า มีต้นไม้ และเหล่าอสุร ที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุด้าน บนสุดทำเป็นปราสาทซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์เทวดาในศาสนาพุทธ ที่มีหน้าที่คอยดูแลความเป็นไปบนโลกและคอยช่วยเหลือคนดีที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยทำเป็นปราสาทหกเหลี่ยมเล็กๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาทมีลักษณะเหมือนยอดมณฑปโบราณสถาน ภายในวิหารคต ทั้งหมดของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และ เล่มที่ 96 ตอนที่ 185 ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2522

แหล่งข้อมูลอื่น

    เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัด
    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
        ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
        แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
        ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์


<a href="http://saisampan.net/demo/data/flash/lnnylm-128690.swf" target="_blank">http://saisampan.net/demo/data/flash/lnnylm-128690.swf</a>

หริภุญชัยเวียงฟ้า - บรรเลงทิพย์ ทิพย์เดโช

สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!