1.ความพันทางของเพลง
อุษาคเนย์ส่วนที่ผืนแผ่นดินใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุด ถือเป็นแกนของภูมิภาค ผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์
มีพื้นที่กว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ แต่มีผู้คนชน
หลายเผ่าเหล่ากอตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกระจัดกระจายไม่มากนัก จึงเปิดที่ว่างจำนวนมากให้กลุ่มชนหลากหลายจาก
ที่ต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
การเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งดังกล่าว เข้ามาสู่บริเวณที่เป็นประเทศไทยไม่ได้มีทางเดียว แต่มีทั้งทางบกและทาง
ทะเลตลอดเวลา นับแต่ช่วงเวลา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สืบจนสมัยหลังๆ อย่างต่อเนื่องยาวนานมากและเรียกแผ่นดินแถบนี้
ว่า สุวรรณภูมิ หรือ สุวรรณทวีป
สุวรรณภูมิ นั้นปะปนไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ กรุงศรีอยุธยา ก็เป็นส่วนหนึ่งในบริเวณแผ่นสุวรรณภูมิ
ชาวต่างชาติเรียกกรุงศรีอยุธยาว่าราชอาณาจักรสยามหรือเมืองไทย เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์เรียกชื่อประเทศว่ากรุงสยามและ
ประเทศสยาม สมัยแรกมีธงช้างเป็นสัญลักษณ์ ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
ที่ได้แบบอย่างมาจากยุโรป
หลังเปลี่ยนแกลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ รัฐบาลสมัยหนึ่งให้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย ซึ่งเป็นชื่อ
ที่เกิดขึ้นจากสำนึกชาตินิยม ผูกพันกับความเชื่อเรื่องชนชาติไทยถูกขับไล่มาจากทางเหนือของจีน แม้ความเชื่ออย่างนี้จะ
คลาดเคลื่อนจากความจริง แต่ยังทรงอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้
ผลของการเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดกระแสความรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ผู้คนเผ่าพันธุ์ อื่นๆ ที่
ไม่ใช่ไทย เกิดการดูถูกทางสังคมและวัฒนธรรมจนเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองเป็นเวลายาวนาน
สยามประเทศ หรือ ประเทศไทย ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในแผ่นดินสุวรรณภูมิผสมผสานกันอยู่แบบที่เรียกว่า “ร้อยพ่อพันแม่”
ซึ่งประชากรในกรุงเทพฯ มีอย่างน้อยๆ 3 กลุ่ม เช่น คนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกกลุ่มหนึ่งที่ในปัจจุบันซึ่ง
สำเนียงพูดต่างจากสำเนียงกรุงศรีอยุธยาซึ่ง เป็นสำเนียงหลวง สำเนียงเยี่ยงนี้เรียกว่าการพูด “เยื่อง” ไม่ออกสำเนียง “เหน่อ”
อย่างสำเนียงสุพรรณบุรี – อยุธยา จังหวัดรอบข้างใกล้เคียงอย่าง เพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี เป็นอาทิ
และคนกลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มที่ 3 คือ คนต่างชาติภา หรือพวกนานาชาติ เช่น ลาว คนเมือง คนอีสาน มอญ เขมร กูย แต้จิ๋ว
กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ จาม ชวา มลายู ซาไก มอแกน ทมิฬ เปอร์เซีย อาหรับ ฮ่อ พวน ไทดำ ผู้ไท ขึน เวียด ยอง ลั๊วะ
ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอร์ อะข่า ขะมุ มลาบรี ชอง ญากูร์ ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก(ชาติต่างๆ) ลูกครึ่ง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในชื่อบทเพลงต่างๆ เช่น มอญร้องไห้ ,เขมรกล่อมลูก,แขกต่อยหม้อ ,พราหมณ์ดีดน้ำเต้า,ญวน-
ทอดแห, ลาวดวงเดือน,ฝรั่งรำเท้า, พม่าห้าท่อน ฯลฯ
เพลงลูกทุ่ง จึงเป็นการปรับขึ้นใหม่แทนที่ ลิเก ซึ่งมีกำเนิดอยู่ในกรุงเทพฯ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขณะที่ ลิเก นั้น ก็ยังคงอยู่
คู่กับสังคมปัจจุบัน และยังไม่ได้จางหายไป เพียงแต่ปรับวิธีการนำเสนอใหม่เป็นลักษณะแบบเพลงลูกทุ่งซึ่งผสมผสานมหรสพปบบ
ใหม่ขึ้นในกรุงเทพ โดยอาศัยรากฐานเดิมจากการเล่นต่างต่างปรับเข้าดนตรีฝรั่งที่มีมาในรัชสมัย รัชกาลที่ 4 ในการปรับแถวทหาร
ที่เรียกอย่างชาวบ้านว่าแตรฝรั่ง
แตรฝรั่งเหล่านี้ กลายมาเป็นต้นแบบให้กลายเป็นแตรวง ตามงานๆ แล้วพัฒนาเป็นวงลูกทุ่ง หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นต้นมา ซึ่งมีวิวัฒนาการร่วมกับมหรสพ
โดย มหรสพ นั้น แบ่งได้ในสองระดับ ระหว่าง ชนชั้นราชสำนัก กับ ราษฎร ทั่วไป แต่มีความสัมพันธ์กันในความต่างกัน
บางอย่าง ซึ่งส่งทอดอิทธิพลให้กันและกันไม่ขาดสาย เช่น โขน ละคร ทั้ง ละครนอก และ ละครใน รวมทั้ง ละครพันทาง
ก่อนจะกลายเป็น ละครพันทาง ใน วงดนตรีลูกทุ่ง ในยุคต่อมาซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลากหลายที่หลอมรวมเป็นภูมิสังคม-
วัฒนธรรมแล้ว ปรับเปลี่ยนใช้มาตามยุคตามสมัย จากสำเนียงเสียงต่างๆ พันทางมาอย่างร้อยพ่อพันแม่ จึงปรับมาเป็นเพลง
ลุกทุ่งและส่งให้การเล่นร้องรำทำเพลงภูมิภาคอื่นปรับตัวไป ด้วย เช่น หมอลำ กันตรึม ในภาคอีสาน
รวมทั้งกลิ่นอายเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรีที่ปรากฏในบทเพลงของวงคาราบาว และกลิ่นอายเพลงตะวันตกในวงคาราวาน