ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 03:17:31 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: คำว่า บาท  (อ่าน 4321 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongna
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 1731
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 589
สมาชิก ID: 1301


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 19 : Exp 68%
HP: 0%

สวัสดีค่ะ


« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 12:49:06 pm »

ภาษาไทย คำว่า บาท บาด บาตร เป็นเสียงพ้อง มีความหมายต่างกัน และมีความหมายหลากหลาย

คำว่า บาท
บาท ความหมายที่ ๑ หมายถึง ตีน เท้า ราชาศัพท์ใช้ว่า พระบาท และมีคำผสมอีกหลายคำ เช่น บาทบงกช บัวบาท แปลว่า บัวรองเท้า หมายถึง เท้าพระพุทธเจ้า หรือพระเจ้าแผ่นดิน บาทบงสุ์ แปลว่า ละอองเท้า บาทมูล แปลว่า ที่ใกล้เท้า แทบฝ่าเท้า บาทยุคล แปลว่า เท้าทั้งคู่ บาทรช บาทรัช แปลว่า ละอองเท้า คำเหล่านี้ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน คือ คนสามัญเทิดทูนพระเจ้าแผ่นดิน จะพูดถึงหรือพูดด้วย ก็พูดกัน ส่วนล่างต่ำสุดหรือพูดกับละอองเท้าของพระองค์ท่าน และมีคำผสมอีกหลายคำ มีความหมายต่างๆ เช่น บาทมุทรา แปลว่า รอยเท้า บาทนิเกต แปลว่า ที่รองเท้า ม้ารองเท้า บาทภัฏ แปลว่า ทหารเดินเท้า บาทมูลิกากร แปลว่า หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน บาทบริจาริกา แปลว่า หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปรนนิบัติพระเจ้าแผ่นดิน

บาท ความหมายที่ ๒ หมายถึง มาตราเงิน มี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เขียนตามวิธีโบราณ ใช้เครื่องหมายประกอบ +๓ หมายความว่า ๓ บาท

บาท ความหมายที่ ๓ หมายถึง ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี เช่น ชั่งเงินชั่งทอง กำหนดน้ำหนักตาชั่ง ๑๔ กรัม เท่ากับ ๑ บาท

บาท ความหมายที่ ๔ หมายถึง ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น โคลงสี่สุภาพ ๑ บทมี ๔ บาท กลอนสุภาพ ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค และมีคำผสม เช่น บาทบูรณ์ หมายถึง คำที่เติมในบาทของบทกลอนเพื่อให้ครบตามฉันทลักษณ์ โดยเป็นคำที่ไม่ต้องมีความหมายก็ได้ เช่น ฉันท์ ๑๑ เมื่อแต่งด้วยคำ ๑๐ คำ ได้ความครบแล้ว อาจมีคำที่ ๑๑ ที่ไม่ต้องมีความหมายเติมให้ครบคณะฉันท์ เช่นคำว่า นา แล คำที่เติมเข้ามานี้เรียกว่า บาทบูรณ์

บาท ความหมายที่ ๕ เป็นคำที่ใช้นับช่วงเวลาตามการนับเวลาแบบโบราณ หมายถึง ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที เช่น ย่ำรุ่ง ๔ บาท ย่ำรุ่ง คือ ๖ นาฬิกา ๔ บาท คือ ๒๔ นาที เวลาย่ำรุ่ง ๔ บาท ก็คือ ๖ นาฬิกา ๒๔ นาที

นอกจากนี้ ยังมีคำผสม เช่น บาทภาค แปลว่า ส่วนที่ ๔ หรือ เสี้ยวหนึ่ง บาทสกุณี แปลว่า เท้านก หมายถึงชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง บาทหลวง หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก)

คำว่า บาด เป็นทั้งคำนามและกริยา คำกริยา บาด แปลว่า ทำให้เกิดเป็นแผล เช่น มีดบาด แก้วบาด หรือแปลว่า แผล ก็ได้ และมีคำผสมอีกหลายคำ เช่น บาดตา แปลว่า ขัดตาไม่สบอารมณ์ เห็นสีฉูดฉาดสะดุดตา บาดหมาง แปลว่า โกรธเคืองกัน บาดหู แปลว่า ขัดหู ระคายหู บาดหมาย แปลว่า บัตรหมาย บาดไหม แปลว่า ปรับ นอกจากนี้ยังมีคำว่าบาดที่เป็นชื่อโรค คือ บาดทะจิต เป็นชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน บาดทะพิษ หมายถึง แผลที่เชื้อโรคเข้าไปทำให้เลือดเป็นพิษ บาดทะยัก โรคเกิดจากเชื้อบาดทะยักเข้าสู่แผล มีอาการชักกระตุก ชักตัวแข็ง หลังแอ่น ถ้ารักษาไม่ทันก็ถึงตาย

ส่วนคำว่า บาตร หมายถึง ภาชนะที่ภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร เรียกว่า บิณฑบาต บาตรแก้ว หมายถึง บาตรใหญ่ ๓ ใบ มีเชือกถักรอบ ใช้ในพิธีกัตติเกยา บาตรใหญ่ ใช้คู่กับคำว่า อำนาจ หมายถึง ใช้อำนาจในทางข่มขี่
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2011, 12:49:21 pm โดย nongna » บันทึกการเข้า

สวัสดีค่ะคุณผู้เยี่ยมชมยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
Daotong
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 3334
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 793
สมาชิก ID: 976


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 22 : Exp 85%
HP: 0%

อย่าโศกเศร้ากับอดีตที่ผ่านมาอย่าหวาดผวากับอนาคต


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 09:57:09 am »

     
          :pic:เก่งเจงๆๆๆๆๆๆพี่สาวเรา...คุณครูดาวทอง..ขอคารวะ..ศิษย์พี่เด้อจร้าาาาา

                       :z22:ที่นำความรู้มาเผื่อแผ่ พี่น้องบ้านสายสัมพันธ์..ธุจ้า
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!