ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 02:24:12 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สืบเนื่องมาจากภาพกูเกิ้ลวันนี้ มารี คูรี ชีวิตนี้อุทิศเพื่อเยียวยามนุษยชาติ  (อ่าน 5013 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tanay2507
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 5543
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1931
สมาชิก ID: 27


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 35 : Exp 73%
HP: 0%


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 02:49:58 pm »


    ถ้าใครได้เปิดเข้ากูเกิ้ลในวันนี้ (7 พ.ย. 2554) จะเห็นเป็นภาพนักวิทยาศาสตร์หญิงคนหนึ่ง กำลังคร่ำเคร่งกับงานทดลองของเธออย่างใจจดจ่อ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของเธอ มารี คูรี ผู้ที่อุทิศทั้งชีวิตเพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารกันตรังสี


   ชื่อเดิมของ มารี  คูรี  (Marie  Curie) คือ มารียา สโคลดอฟสกา (Marja Sklodowska) เธอ เกิดที่กรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 เป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 5 คน บิดาของเธอคือ ศาสตราจารย์วลาดิสลาฟ สโคลดอฟสกา เป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งใน กรุงวอร์ซอร์ ทำให้เธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก ด้วยการติดสอยห้อยตามบิดาเข้าไปในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนด้วย เสมอ ทำให้เธอซึมซับและหลงใหลในวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่วัยเด็ก

         โชคร้ายของคนโปแลนด์ เมื่อรัสเซียได้เข้ามายึดโปแลนด์ไว้เป็นเมืองขึ้น มีการกดขี่ข่มเหงชาวโปแลนด์อย่างมาก ทั้งการบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว ทำให้ชาวโปแลนด์รวมทั้งครอบครัวของมาเรียได้รับความลำบากมากในการใช้ชีวิต และการศึกษาอย่างมาก

        มาเรียขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กเรียนเก่งมีความจำเป็นเลิศ เธอจบชั้นมัธยมด้วยรางวัลเหรียญทองในวัย 16 ปี แต่ด้วยความที่บิดาขาดทุนจากกิจการที่ทำอยู่ มาเรียและพี่จึงขัดสนเงินทองเกินกว่าจะศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสตามที่หวังได้ เมื่อเธอเรียนจบการศึกษาระดับต้นแล้ว มาเรียกับพี่สาวจึงต้องหยุดเรียนแต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส เพราะมหาวิทยาลัยในโปแลนด์ไม่รับนักศึกษาหญิง มาเรียจึงได้มาทำงานเป็นครูอนุบาลสอนหนังสือให้กับเด็กที่บ้านชนชั้นผู้ดี เพื่อหาเงินส่งพี่สาว คือ โบรเนีย (Bronia) ไปเรียนต่อด้านแพทย์ศาสตร์ ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสก่อน เพื่อที่เมื่อพี่สาวเรียนจบเเล้วจะได้ส่งเสียเธอเรียนต่อเป็นการตอบแทน และระหว่างรอมาเรียนก็ศึกษาด้วยตัวเองไปพลางๆ
โบรเนีย จบในปี ค.ศ. 1889 และแต่งงานกับเพื่อนที่เรียนแพทย์มาด้วยกัน  ต่อมาในปี ค.ศ. 1891 ขณะมาเรียอายุได้ 23 ปี ก็ถึงเวลาโบยบินของเธอ มาเรียโดยสารรถไฟไปยังกรุงปารีส เพื่อศึกษาต่อสมใจเสียที และเมื่อมาถึงฝรั่งเศสมาเรียก็เปลี่ยนชื่อตัวเองว่า มารี ตามสำเนียงภาษาฝรั่งเศส มารีเข้าเรียนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่ซอร์บอน (Sorbonne) เธอเรียนหนังสือด้วยความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง จนสอบได้ที่ 1 ในสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1893 และปีถัดมาก็สามารถสอบได้ที่ 2 ในสาขาคณิตศาสตร์

        ด้วยเงินส่งเสียอันน้อยนิดจากพี่สาว  ประกอบกับการที่มารีชอบที่จะแยกตัวออกไปอยู่ที่อื่นทำให้เงินที่ได้มาไม่พอ ต่อค่าใช้จ่าย เธอจึงดิ้นรนหางานทำ และในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1894 มารีก็ได้งานเป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ คูรี (Pierre Curie) ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศสในคณะฟิสิกส์ ผู้ซึ่งในอนาคตจะเป็นสามีและผู้ร่วมงานที่อยู่เคียงข้างเธอ และในที่สุดทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในปีถัดมา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม


       ต่อมาใน กุมภาพันธ์ค.ศ. 1895  เมื่อนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี แบ็กเกอแรล (Henri Becquerel) ซึ่ง เป็นเพื่อนสนิทของปิแอร์ ได้บังเอิญค้นพบปรากฏการณ์ธาตุยูเรเนียมมีการปล่อยพลังงานออกมาได้เองตาม ธรรมชาติในอัตราคงที่ ซึ่งต่างกับรังสีเอกซ์ที่ได้จากการผลิตขึ้นมา ทำให้มารีที่กำลังหาหัวข้อวิจัยทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกสนใจที่จะศึกษาสมบัติ ของปรากฏการณ์นี้  มารีและปิแอร์จึงได้ค้นคว้าเกี่ยวกับรังสียูเรเนียมอย่างจริงจัง และต่อมาทั้งสองก็ค้นพบว่า มีพลังงานถูกปล่อยออกมาจากแร่พิตช์เบลนด์ (Pitchblende) ซึ่งเป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียม

        เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์แเบลนด์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ที่แผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเดียมเพียง 4 เท่า   มารีให้ชื่อแร่ที่พบว่า โปโลเนียม (Polonium) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศโปแลนด์อันเป็นบ้านเกิดของมารี   ทั้งสองยังหาสาเหตุต่อไปว่ายังมีสารกัมมันตภาพรังสีอื่นใดอีกในสินแร่ พิตช์เบลนด์

      และต่อมา ในปี ค.ศ.1902 ก็สามารถแยกเรเดียม (Radium)  ได้ตามมา  ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า มีสมบัติหลายประการ ได้แก่ ทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน นอกจากนี้เมื่อเรเดียมแผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับเรเดียม และที่สำคัญด้วยคุณสมบัติ ของรังสีที่จะทำให้รู้สึกร้อนต่อผิวหนังนี้เอง ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดและโรคมะเร็งได้  จาก การค้นพบครั้งนี้ทำให้ทั้งคู่ได้รับรางวัลเหรียญทองเดวี่ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอนของอังกฤษ และโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ. 1903 รวมกับ แบ็กเกอแรล ผู้ค้นพบรังสีจากธาตุยูเรเนียม อย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็ไม่ได้นำผลงานชิ้นนี้ไปจดทะเบียนสิทธิบัตร แต่กลับเลือกเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างละเอียดแทน

      แต่ทว่าชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ของทั้งสองก็ต้องพบกับความเศร้าสด เมื่อเช้าของวันที่ 19 เมษายน 1906 ปีแอร์ คูรี ประสบอุบัติเหตุรถม้าบรรทุกคันหนึ่งวิ่งเข้ามาขนเขาล้มลง และทับศีรษะ ทำให้ปิแอร์เสียชีวิตทันที ข่าวร้ายนี้ทำให้มารีเศร้าโศก และกระทบต่อการทำงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ของเธออย่างมาก แต่สุดท้ายมารีก็ลุกกลับขึ้นมาทำการศึกษาทดลองต่อไปโดยปราศจากผู้ที่เป็น ทั้งเพื่อร่วมงานที่เก่งกาจและผู้ร่วมชีวิตที่รักมาก

         ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารี ในการจัดสร้างสถาบันเรเดียม เพื่อทำการทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ มารีได้อุทิศตนค้นคว้าอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่เกี่ยวกับธาตุเรเดียมอย่างจริงจัง ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลครั้งที่สอง สาขาเคมี ในปี ค.ศ.1911 จากการศึกษาทางด้านเคมีที่ค้นคว้าหาประโยชน์จากเรเดียมเพิ่มเติม และเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง

         แต่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ก็ต้องหยุดชะงักลงเมื่อ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ชายที่ทำงานในสถาบันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร มารีเองก็ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครร่วมกันกับลูกสาวคนโต (อีแรน) จัดตั้งแผนกเอกซเรย์ประกอบรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ เพื่อตระเวนรักษาทหารที่บาดเจ็บตามหน่วยต่างๆ และใช้รังสีเอกซ์เหล่าทหารที่ได้รับบาดเจ็บ

        ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 มารีได้กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง แต่ผลกระทบจากการสัมผัสกัมมันตภาพรังสีของเรเดียมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้สุขภาพของเธอเริ่มทรุดโทรม มีอาการอ่อนเพลีย และหมดแรงอย่างรวดเร็ว ไขกระดูกเธอถูกทำลาย และในที่สุดการค้นพบที่ช่วยชีวิตผู้คน กลับต้องแลกด้วยชีวิตของเธอ มารีเสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934

สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
ดาวิกา
Global
*

คำขอบคุณ: 12060
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 3972
สมาชิก ID: 1468


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 51 : Exp 30%
HP: 85.3%


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 05:09:42 pm »

ร่วมรำลึกถึง มารี คูรี ด้วยคนค่ะ
ขอบคุณ คุณtanay 2507 ที่นำประวัติ และผลงานของมารี คูรี
มาให้อ่าน และรำลึกถึงคุณความดีของท่านนะคะ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!