ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
มีนาคม 29, 2024, 12:14:14 PM

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: “เนเธอร์แลนด์” หนึ่งในตัวอย่างของการบริหารน้ำ  (อ่าน 5414 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สะบันงา
มีสูง..มีต่ำ..เรื่องธรรมดา..
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 2740
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 885
สมาชิก ID: 1734


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 15%
HP: 0%

บนเวทีละครชีวิต ไม่มีใครได้รับแจกบทการแสดงล่วงหน้า


« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2011, 04:39:29 AM »

 
“เนเธอร์แลนด์” หนึ่งในตัวอย่างของการบริหารน้ำ


“เนเธอร์แลนด์” ประเทศเล็กๆ ในยุโรป ตลอดแนวตะวันตกของประเทศติดกับทะเลเหนือ
เป็นปากแม่น้ำสำคัญของยุโรปหลายสาย มีผืนน้ำมากถึง 1 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งหมด และ
พื้นที่ 1 ใน 4 ของประเทศยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง
จึงประสบกับมหาอุทกภัย
มาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ กระทั่งได้เริ่มพัฒนาระบบชลประทานและการป้องกันน้ำท่วม
จนกลายเป็นโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ และได้รับการยกย่องจากสมาคมวิศวกรโยธา
แห่งสหรัฐอเมริกาให้เป็น 1 ใน 7 “สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่”สามารถปกป้องพื้นที่เกือบ
ครึ่งหนึ่งของประเทศไม่ให้ต้องจมน้ำ และยังสามารถทำการเกษตรจนกลายเป็นประเทศที่มีมูลค่า
สินค้าเกษตรส่งออกมากเป็นอันดับ 3 ของโลกได้ด้วย
  มีแนวทางการบริหารจัดการน้ำดังนี้

เปรียบเทียบพื้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่จะหายไปหากไม่มีการสร้างเขื่อน
(ภาพจาก www.deltawerken.com)

“ประเทศเนเธอร์แลนด์” หรือ “ฮอลแลนด์” ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้
ติดกับพื้นทวีป ส่วนด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของประเทศติดกับทะเลเหนือ
(North Sea) พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม
ในทะเลเหนือและเกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง (Storm surge) อยู่เป็นประจำ
คลื่นจากทะเลสูงหลายเมตรได้ซัดเข้าถล่มประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีพื้นที่ 25% ของประเทศ
อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (คำว่า “Netherlands” เพี้ยนมาจากภาษาดัตช์ คือ
“Nederland” และ “Neder” แปลว่า “ต่ำ”)
ดังนั้นในอดีตที่ผ่านมาประเทศเนเธอร์แลนด์
จึงต้องประสบกับมหาอุทกภัยจากมรสุมและคลื่นยักษ์ในทะเลอยู่หลายครั้ง เช่น

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1287 ได้เกิดน้ำท่วมทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้
มีผู้เสียชีวิต 50,000 - 80,000 ราย หรือในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1530 เกิดน้ำท่วม
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 100,000 ราย

อีกด้านหนึ่ง ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 41,543 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่า
ประเทศไทยถึง 12 เท่า) แต่เป็นผืนน้ำถึง 18.41% ของพื้นที่ทั้งหมด เพราะเนเธอร์แลนด์
เป็นจุดที่แม่น้ำสำคัญของยุโรปหลายสาย เช่น Rhine, Meuse และ Scheldt ไหลลงสู่
ทะเลเหนือ จนเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (Delta) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำจากการ
สะสมของตะกอน คล้ายกับปากแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย น้ำจากด้านในของทวีป
ยุโรปต้องมาไหลลงที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำให้เกิดน้ำท่วมทางตะวันออกและตอนกลาง
ของประเทศอยู่หลายครั้งด้วยเช่นกัน

แต่ด้วยระบบชลประทานที่ดี ทำให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีมูลค่าสินค้าเกษตรส่งออก
มากเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเฉพาะสินค้าประเภทดอกไม้ ประเทศเนเธอร์แลนด์ส่งออก
ได้เป็นจำนวนมากถึง 2 ใน 3 ของตลาดโลก ส่วนการป้องกันปัญหาน้ำท่วมนั้น
ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความสำคัญมาตั้งแต่อดีต จนสามารถพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม
และกลายมาเป็นโครงข่ายเขื่อนปกป้องพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศจากน้ำท่วมได้

วิศวกรรมด้านการบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์นั้นถือได้ว่าดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
จนได้รับการยกย่องจากสมาคมวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Society of
Civil Engineers) ให้เป็น “1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่” ถือเป็นแหล่งเรียนรู้
และเป็นต้นแบบให้กับหลายประเทศได้นำไปปฏิบัติตาม โดยแนวทางของเนเธอร์แลนด์นั้น
มี 2 โครงการยักษ์ แบ่งตามลักษณะภูมิประเทศทางตะวันตกเฉียงเหนือที่เป็นอ่าวใหญ่ และ
ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ดังนี้

*******

โครงการ Zuiderzeewerken (Zuiderzee Works)

ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นอ่าว Zuiderzee ซึ่งเชื่อมต่อกับ
ทะเลเหนือ ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นผืนดินและทะเลสาบปิดมาก่อน มีพื้นที่ประมาณ
5,000 ตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากมีความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงมัก
ถูกคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง (Storm surge) ซัดให้เกิดอุทกภัยอยู่เป็นประจำจนกระทั่ง
ทะเลสาบได้ขยายตัวท่วมผืนดินรอบข้างออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อมต่อกับ
ทะเลเหนือ กลายเป็นทะเลสาบเปิดไปในที่สุด

ที่ผ่านมามีการสร้างพนังกั้นคลื่นจากทะเลขึ้นหลายแห่งในบริเวณนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถ
ยับยั้งความรุนแรงของคลื่นได้ กระทั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ.1916 ได้เกิด
คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งขึ้นอีกครั้ง จนทำให้พนังกั้นคลื่นกว่า 12 แห่งพังทลาย
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงอนุมัติโครงการ Zuiderzee Works ในปี ค.ศ.1918
ให้สร้างเขื่อนขนาดยักษ์เพื่อแก้ปัญหา

เขื่อนยักษ์นี้ชื่อ Afsluitdijk สร้างขวางกั้นอ่าว Zuiderzee ที่บริเวณ
Den Oever จังหวัด North Holland ข้ามไปเชื่อมกับ Zurichในจังหวัด
Friesland มีความยาวทั้งหมด 32 กิโลเมตร สันเขื่อนกว้าง 90 เมตร
รถยนต์สามารถวิ่งได้ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 7.25 เมตร
ใช้คนงานก่อสร้างประมาณ 4,000 - 5,000 คน ซึ่งเป็นคนว่างงานจาก
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของโลก (Great Depression) สร้างเสร็จในปี
ค.ศ.1932 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ.1933

หลังจากการสร้างเขื่อน Afsluitdijk ทำให้อ่าว Zuiderzee ถูกแบ่งออกเป็น
2 ส่วน ส่วนนอกเขื่อนที่ติดกับทะเลเหนือ กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำ
ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Waddenzee (Wadden Sea)ส่วนในเขื่อนถูกล้อมรอบ
ด้วยผืนดินและกำแพงเขื่อน กลายเป็นทะเลสาบปิดที่เรียกว่า IJsselmeer

พื้นที่ 1 คือ Wieringermeer, พื้นที่ 2 คือ Noordoostpolder,
พื้นที่ 3 คือ Oostelijk Flevoland, พื้นที่ 4 คือ Zuidelijk Flevoland
และพื้นที่ 5 คือ Markerwaard(ภาพถ่ายดาวเทียมจาก www.wikipedia.org)

แผนขั้นต่อมาคือการกั้นแบ่งโซนภายในทะเลสาบ IJsselmeer แล้วสูบน้ำ
ออกจากแต่ละโซนจนแห้ง เพื่อนำฟื้นผืนดินบางส่วนที่เคยถูกน้ำท่วมตั้งแต่ในอดีต
ให้กลับคืนมาอีกครั้ง และสร้างผืนดินบางส่วนขึ้นมาใหม่ โดยเริ่มทดลองสูบน้ำ
ออกจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบ IJsselmeer ใกล้กับหมู่บ้าน Andijk เริ่มสูบน้ำ
ออกในปี ค.ศ.1926 ใช้เวลาประมาณหนึ่งปีก็แล้วเสร็จ เกิดผืนดินขึ้นมาใหม่
เป็นพื้นที่ประมาณ 0.4 ตารางกิโลเมตร

หลังจากการทดลองประสบผลสำเร็จ ก็ได้เริ่มแบ่งโซนเพื่อสูบน้ำออกจนเกิดเป็น
ผืนดินใหม่แห่งแรก มีขนาด 200 ตารางกิโลเมตร ที่เรียกว่า Wieringermeer
ในปี ค.ศ.1930 และทยอยแบ่งโซนสูบน้ำออกจนได้ผืนดินใหม่อีก 3 แห่ง คือ
Noordoostpolder (พื้นที่ 480 ตารางกิโลเมตร), Oostelijk Flevoland
หรือ Eastern Flevoland (พื้นที่ 540 ตารางกิโลเมตร) และ Zuidelijk
Flevoland หรือ Southern Flevoland (พื้นที่ 430 ตารางกิโลเมตร)
รวมแล้วเกิดผืนดินขึ้นใหม่เป็นพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร

ระหว่างปี ค.ศ.1963 - 1975 ยังได้มีการสร้างเขื่อน Houtribdijk ขึ้นกั้น
ทะเลสาบ IJsselmeer อีกหนึ่งเขื่อน เชื่อมจากบริเวณ Enkhuizen จังหวัด
North Holland ไปถึง Lelystad ในจังหวัด Flevoland มีความยาวทั้งหมด
30 กิโลเมตร สันเขื่อนกว้าง 68 เมตร รถยนต์สามารถวิ่งได้ พื้นที่ด้านตะวันออก
ของเขื่อนคือทะเลสาบ IJsselmeer ส่วนพื้นที่ด้านตะวันตกมีแผนจะสูบน้ำออก
เพื่อสร้างผืนดินแห่งใหม่ที่เรียกว่า Markerwaard มีขนาดพื้นที่ 410 ตาราง-
กิโลเมตร แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ

ผืนดินเกิดใหม่ได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรโดยรวม
ผืนดิน Noordoostpolder, Oostelijk Flevoland และ Zuidelijk Flevoland
ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ที่ชื่อว่า Flevoland มีประชากรรวมกันเกือบ 400,000 คน
ส่วนผืนดิน Wieringermeer ตั้งเป็นเทศบาลนคร ขึ้นกับจังหวัด North Holland
มีประชากรประมาณ 13,000 คน

ผลของโครงการ Zuiderzee Works สามารถป้องกันอุทกภัยจากคลื่น
พายุหมุนยกซัดฝั่งในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศได้ ลดการพังทลาย
ของหน้าดินชายฝั่งทะเล เกิดแหล่งน้ำจืดขึ้ินใหม่คือทะเลสาบ IJsselmeer
และยังเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย

*******

โครงการ Deltawerken (Delta Works)

บริเวณที่แม่น้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลจะมีการทับถมของเศษตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา
จนงอกกลายเป็นผืนดินใหม่ขึ้น เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ มีลักษณะ
เป็นที่ลุ่มต่ำเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง คล้ายกับบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย
แต่บริเวณจังหวัด Zeeland ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์มี
ปากแม่น้ำใหญ่ของยุโรปมากถึง 3 สาย คือ แม่น้ำ Rhine, แม่น้ำ Meuse และ
แม่น้ำ Scheldt ดังนั้นในบริเวณนี้จึงเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง จากอิทธิพลของ
ระดับน้ำทะเลและปริมาณน้ำจืดที่ไหลมาจากแม่น้ำมากเกินควบคุม

ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มคิดโครงการป้องกันอุทกภัยอย่างครบวงจรในปี
ค.ศ.1937 แต่ติดสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียก่อน โครงการจึงถูกพับไป กระทั่งเมื่อ
วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1953 ได้เกิดมหาอุทกภัยขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
เบลเยียม และอังกฤษ ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งขนาด-
ความสูงกว่า 5.6 เมตร ได้ซัดเข้าถล่มชายฝั่งจังหวัด Zeeland และเกิดน้ำท่วม
หนักทางตอนใต้ของประเทศ พื้นที่กว่า 1,500 ตารางกิโลเมตรต้องถูกน้ำท่วม
บ้านเรือนเสียหายไปกว่า 47,300 หลังคาเรือน และมีผู้เสียชีวิตถึง 1,836 ราย

หลังอุทกภัยใหญ่ในครั้งนั้น เนเธอร์แลนด์ต้องฟื้นโครงการป้องกันอุทกภัยขึ้นมา
อีกครั้ง โดยจัดตั้งคณะกรรมการสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (Delta Commission)
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1953 เพื่อเร่งดำเนินการโครงการพัฒนาระบบ
จัดการน้ำและควบคุมผลกระทบจากภัยพิบัติทางน้ำ ในชื่อ Delta Works

บริเวณปากแม่น้ำในจังหวัด Zeeland และที่ตั้งของเขื่อนทั้ง 14 แห่ง
(ภาพจาก www.deltawerken.com)

แผนของโครงการ Delta Works คือการสร้างเขื่อน, ประตูน้ำ, พนังกั้นน้ำ และ
กำแพงกั้นคลื่นจากทะเล (Storm Surge Barriers) รวมทั้งหมด 14 แห่ง ซึ่งกั้น
อยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำและตลอดลำน้ำในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทั้งแบบที่กั้นถาวร
และแบบที่สามารถเปิด - ปิดให้สัญจรทางน้ำได้ โดยบริเวณปากแม่น้ำซึ่งเชื่อมต่อ
กับทะเลเหนือจะสร้างเป็นเขื่อนและกำแพงกั้นคลื่นจากทะเล ถัดเข้ามาด้านใน
ตามแนวแม่น้ำจะสร้างเป็นพนังกั้นน้ำและประตูน้ำเพื่อควบคุมระดับความสูงของน้ำ
ในแม่น้ำ และกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้


โครงการ Delta Works จึงทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากปรากฏการณ์
คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง ควบคุมระดับความสูงของน้ำทะเลกับน้ำในแม่น้ำ ก่อเกิด
แหล่งกักเก็บน้ำจืดขึ้นใหม่และบางแห่งยังใช้แทนสะพานข้ามแม่น้ำสำหรับรถยนต์ด้วย

14 แห่งดังกล่าว ประกอบไปด้วย Stormvloedkering Hollandse IJssel
(ค.ศ.1958), Zandkreekdam (ค.ศ.1960), Veerse Gatdam (ค.ศ.1961),
Grevelingendam (ค.ศ.1965), Volkerakdam (ค.ศ.1969),
Haringvlietdam (ค.ศ.1971), Brouwersdam (ค.ศ.1971), Markiezaatskade
(ค.ศ.1983), Oosterscheldekering (ค.ศ.1986), Oesterdam (ค.ศ.1987),
Philipsdam (ค.ศ.1987), Bathse Spuisluis (ค.ศ.1987), Hartelkering
(ค.ศ.1997) และ Maeslantkering (ค.ศ.1997)

นับตั้งแต่มหาอุทกภัยเมื่อปี ค.ศ.1953 เป็นต้นมา โครงการ Zuiderzee Works
ทางเหนือ และโครงการ Delta Works ทางใต้ ก็ช่วยให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ไม่ต้อง
เผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่แบบอดีตอีกเลย มีการประเมินกันว่า หากประเทศเนเธอร์แลนด์
ไม่ทำโครงการทั้ง 2 นี้ พื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศในปัจจุบันจะจมหายอยู่ใต้ผืนน้ำ

แม้แต่สมาคมวิศวกรโยธาแห่งอเมริกา (American Society of Civil Engineers)
ยังยกย่องโครงการ Zuiderzee Works และ Delta Works ให้เป็น “1 ใน 7 สิ่ง
มหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่” ดังนั้นประเทศเนเธอร์แลนด์จึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง
การบริหารจัดการน้ำ และมีหลายประเทศได้นำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวนี้
ไปประยุกต์ใช้กับประเทศของตน

Maeslantkering (ซ้าย), Stormvloedkering Hollandse IJssel (กลาง)
และ Oosterscheldekering (ขวา)(ภาพจาก www.deltawerken.com)


สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

.. ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย .... "ใจ"ในร่างกายกลับไม่เจอ ..
 ทุกข์ที่เกิดซ้ำเพราะใจนำพร่ำเพ้อ .. หา"หัวใจ"ให้เจอก็เป็นสุข
หมื่นกระบี่ไร้พ่าย
Administrator
*

คำขอบคุณ: 17003
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2915
สมาชิก ID: 632


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 43 : Exp 93%
HP: 0%


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2011, 05:32:32 PM »

ผมเคยดูสารคดีเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ชอบมากๆเลยครับ อีกประเทศหนึ่งคือประเทศญี่ปุ่น เขาทำได้เยี่ยมยอดมากๆ หากเมืองไทยทำได้แบบนี้จะไม่ต้องมากังวลเรื่องน้ำท่วมอีกต่อไป
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!