ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 02:38:04 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ปราสาทเมืองสิงห์ ที่มาของ นิทรานคร ใน เพชรพระอุมา  (อ่าน 7408 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เจ เหน่งบา
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 2452
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 520
สมาชิก ID: 1250


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 18 : Exp 48%
HP: 0%

รักหญิงหนึ่ง ตรึงใจ ไม่ประมาณ


« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2012, 05:48:02 am »


ข้อมูลจากหนังสือ เจาะลึก เพชรพระอุมา  โดย พนมเทียน สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
และ วิกิพีเดีย


จินตนาการ 'แฟนตาซี' อันเพริดพลิ้วของนักเขียนชื่อพนมเทียน

     มีภาคที่เกี่ยวกับ 'แฟนตาซี' อยู่ภาคหนึ่ง คือตอน 'อาถรรพ์นิทรานคร' เกี่ยวกับเรื่องราวของ
'นิทรานคร' อันเป็นอาณาจักรที่ถล่มทลายแล้ว  โดยไม่สามารถจะบอกถึงอายุของมันได้ว่า นครแห่งนี้
เกิดขึ้นเมื่อใด ยุคใด สมัยไหน
     และก็ได้ผูกขึ้นให้เป็นเรื่องราวอัศจรรย์ดังได้ปรากฎอยู่ในท้องเรื่อง


     สาเหตุก็มาจากที่ครั้งหนึ่ง ผมได้นำนักโบราณศาสตร์อเมริกัน เข้าไปสำรวจถิ่นมนุษย์ยุคหิน
เมืองกาญจน์ทางเขาเขียว ด้านหลังของน้ำตกเอราวัณขึ้นไป

     ยอดเขาที่ผมนำฝรั่งไต่ขึ้นไปสูงกว่าระดับน้ำทะเลตามลำดับ ลูกแล้่วลูกเล่านั้น แต่ละลูก มีป่าซ้อนป่า
มีเขาซ้อนเขา มีทุ่งซ้อนทุ่ง  คือเราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า  เหนือยอดเขาลูกนั้นลูกนี้ที่บ่่่ายหน้าไต่ขึ้นไปนั้น
มันจะมีสภาพเป็นป่าพื้นที่โล่งกว้างไม่ผิดอะไรกับป่าชั้นล่างที่ผ่านมาแล้ว  จนทำให้เราลืมไปเสียแล้วว่า
ก่อนที่เราจะมาพบป่าใหญ่เข้าอีกนั้น เราได้ไต่ระดับขึ้นมาช่วงหนึ่งแล้ว

     ครั้นพอทิ้งระดับเดิม  เริ่มไต่ต่อไปอีก  พอสุดทางของมัีน ก็ไปพบทุ่งโล่งและดงทึบเข้าอีก
เป็นอยู่เช่นนี้นับครั้งไม่ถ้วน

     และเป้าหมายแหล่งสุดท้ายนั้นเอง  ผมได้ไปพบเข้ากับบริเวณเนินอันกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่ง
มีพยานวัตถุหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงสภาพที่เคยเป็นอาณาจักรมาก่อนในอดีต  ลักษณะของมัน
มีคูเมือง มีตัวเมือง  ปราการมีสิ่งก่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่จมหายไปใต้พื้นดิน  บางส่วนอันเป็น
ลักษณะกำแพงเมืองและสิ่งก่อสร้าง  ลักษณะป้อมค่ายมันผุดโผล่ขึ้นมาให้เห็น  เป็นบ้านเมือง
ของใครในสมัยไหน  ผมก็ไม่อาจจะเดาได้เหมือนกัน

     ระหว่างที่พวกฝรั่งกำลังเพียรพยายามที่จะหาเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสมัยหิน
โดยไม่สนใจกับอาณาจักรรกร้างที่พบนั้น  ผมก็พิจารณาพิเคราะห์ไปอีกลักษณะหนึ่ง
ผมไม่สนใจเรื่อง 'ขวานหิน' หรือซากเรือโบราณที่พบอยู่ในถ้ำบริเวณใกล้เคียงกัน
อันแสดงให้เห็นว่า เป็นสมบัติของมนุษย์ยุคหิน แต่ผมกลับสนใจในอาณาจักรรกร้าง
ลักษณะประหลาดที่ไปพบเห็นจมดินอยู่บนเนินเขากว้างใหญ่ลูกนั้น

     ตั้งคำถามว่า มันเป็นอาณาจักรอะไรในยุคสมัยใดกันแน่

     หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่เคยบันทึกไว้ก่อน


     ผู้คนที่จะผ่านไปมาในละแวกนี้  ก็ยากนักที่จะมีได้  นอกจากกะเหรี่ยงเดนตาย
ที่หาของป่าเพียงไม่เกินสองสามคน ที่เคยหนีโขลงช้างดุเตลิดพลัดเข้ามาติดอยู่
ในบริเวณนี้โดยบังเอิญ

     ไม่มีร่องรอยของมนุษย์หรือชาวป่าอื่นๆใดจะใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาเลย
เพราะมันเปลี่ยวกันดารและรกทึบจริงๆ สาเหตุแห่งการพบซากเมืองร้าง หาที่มาไม่ได้
กลางป่าลึกในครั้งนั้นเอง  ทำให้เกิดเรื่องราวของ 'นิทรานคร' และ 'ผีดิบมันตรัย' กับ
'นางพญาพันธุมวดี' ขึ้น...

                 
                        ******************************


เมื่อเทียบเคียงกับข้อมูลโบราณสถานปัจจุบัน  โบราณสถานของขอมที่มีอยู่ในเขตกาญจนบุรี
และมีแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานของชุมชนมนุษย์โบราณ ก็จะเป็นที่นี่ครับ...ปราสาทเมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ       ลักษณะผังเมืองเป็นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง     กว้างประมาณ 800 เมตร       หมายถึงส่วนกว้างของเมือง
ยาวประมาณ 850 เมตร     และกำแพงสูง 7 เมตร      มีประตูเข้าออก 4 ด้าน        มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ
ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ประวัติ

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุด
ตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478     แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517
แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้      ปราสาทเมืองสิงห์นี้
กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม    คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 - 1780)
กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม   จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร  พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูป
นาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร    และ นางปรัชญาปารมิตา     และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
เปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย   พระวีรกุมาร พระราชโอรสของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7[ต้องการอ้างอิง] จารึกชื่อเมือง 23 เมือง  ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ
ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์   นี่เอง  และยังมีชื่อของเมือง
ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคม   ในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ      โดย
ไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย   เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่า
อโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งปัจจุบันได้แยก
เป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิงตรงข้ามกับ
บรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่
แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่า
น่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้
ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์
แต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล


โบราณสถาน

ปราสาทเมืองสิงห์  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย    พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขา
ขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม   คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้      ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ
สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม       รอบนอกกำแพง
จะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่      โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น    กำแพงและคูดินนี้
จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน
สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

โบราณสถานหมายเลข 1
ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน    องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วย
สิ่งสำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลาง
ของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20
ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออก
ยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ปรานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคด
เป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและ
ด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม โคปุระหรือซุ้มประตูเข้า
เป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะ  
ซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร
ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธานประตุบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก
สันนิษฐานว่า    บรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ    ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้ว
เป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร
มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร

ภาพปรางค์ประธาน และรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีที่ประดิษฐานอยู่กึ่งกลาง








ภาพ โคปุระ(ซุ้มประตู)ด้านทิศตะวันตกที่สภาพยังสมบูรณ์ที่สุด








โบราณสถานหมายเลข 2
ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย สถานที่ขุดพบเทวรูป
โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถาน
หมายเลข1และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน    ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 33.90 เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้า
ไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถาน
ที่สำคัญ    มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและ       เป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย
การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้
ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตาม
ปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือ
ส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่ง
เป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลง
และเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา





โบราณสถานหมายเลข 3
ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐ
และศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่า
เป็นเจดีย์ 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร
ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐ
โดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond   คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก
ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง...ฐานเจดีอีกองค์หนึ่ง
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน...ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมาก
จึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4
โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
โบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วน
เรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร
โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร
บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้
ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้อยคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่า
ชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา 2,000 ปีแล้ว
คงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่า



ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ  http://www.thaizest.com/article.php?id=12
^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ศรีศักร วัลลิโภคม รองศาสตราจารย์. พัฒนาการทางสังคม
-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ, 2554. หน้า76
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 25, 2012, 09:14:32 pm โดย เจ เหน่งบา » บันทึกการเข้า

...รักสูญสิ้นภิณฑ์พรากจากเหน่งบา.....
สะบันงา
มีสูง..มีต่ำ..เรื่องธรรมดา..
ปลดออกจากสมาชิก


คำขอบคุณ: 2740
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 884
สมาชิก ID: 1734


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 24 : Exp 14%
HP: 0%

บนเวทีละครชีวิต ไม่มีใครได้รับแจกบทการแสดงล่วงหน้า


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 03:29:00 am »

ปราสาทเมืองสิงห์ ที่มาของ นิทรานคร ใน เพชรพระอุมา
เคยมีโอกาสไปเที่ยวเมือ่ประมาณ15 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งสวยงามและบ่งบอกความมหัศจรรย์ของมันสมองมวลมนุษยชาติจริงๆ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2012, 03:29:14 am โดย สะบันงา » บันทึกการเข้า

.. ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย .... "ใจ"ในร่างกายกลับไม่เจอ ..
 ทุกข์ที่เกิดซ้ำเพราะใจนำพร่ำเพ้อ .. หา"หัวใจ"ให้เจอก็เป็นสุข
ป๋าเบิร์ด
สมาชิก
*

คำขอบคุณ: 190
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 54
สมาชิก ID: 2161


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 94%
HP: 0%


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2013, 08:13:58 pm »

เป็นแฟนเพชรพระอุมามานาน ตั้งแต่เรียน ปว.ส.
พอเห็นภาพประกอบจากปราสาทเมืองสิงห์ นี่ใช่เลย
อารมณ์ในตัวหนังสือมันผุดขึ้นมาทันที เดี๋ยวต้องหาโอกาสอ่านอีกสักรอบ อิอิ
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!