ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 23, 2024, 03:00:52 am

 


  หน้าแรก  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก



สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์





ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตัดแปะโดย เจ เหน่งบา : แร่กายสิทธิ์ สุวรรณขีด  (อ่าน 5795 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เจ เหน่งบา
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 2452
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 520
สมาชิก ID: 1250


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 18 : Exp 48%
HP: 0%

รักหญิงหนึ่ง ตรึงใจ ไม่ประมาณ


« เมื่อ: กันยายน 09, 2013, 01:32:45 am »


สุวรรณขีด...แร่กายสิทธิ์ หายากที่สุด คือสุวรรณเขต หรือขีด ยังไม่มีใครบอกได้ว่า รูปพรรณเป็นฉันใด บอกได้แต่คุณสมบัติว่า ขีดไปที่โลหะอะไร โลหะนั้นจะกลายเป็นทอง (คำ)

ใน สมัยรัชกาลที่ 3 ร่ำลือกันว่า สุวรรณขีด ฝังอยู่ในบริเวณพระเศียรหลวงพ่อโต (หน้าตัก 9 ศอก 21 นิ้ว) พระประธานวัดสระตระพาน เมืองเพชรบุรี (ตอนนี้เป็นวัดร้าง)

นักเลง ประวัติศาสตร์โบราณคดีรุ่นอาจารย์ล้อม สืบเสาะจนได้ความ ตามโฉนดที่ดิน ชื่อเดิมวัดนี้คือ วัดสัตตพาน ชื่อพระองค์นี้ มีสองชื่อ พระศรีสรรเพชญ์สัตตะพันพาน ชื่อหนึ่ง

พระพุทธสุวรรณเขต (หรือขีด) อีกชื่อหนึ่ง

ชื่อแรก เล่าสืบกันมาว่า โลหะที่หล่อองค์หลวงพ่อ ใช้พานถึงเจ็ดพันใบ

ชื่อสอง พระพุทธสุวรรณเขต (หรือขีด) บอกนัยว่า ช่างหล่อได้ฝัง “สุวรรณขีด” ก้อนแร่กายสิทธิ์ไว้

ชื่อสองนี่เอง ก่อเหตุเภทภัยให้กับองค์หลวงพ่อ

ผู้ มีบุญบารมีในยุคนั้น เกิดอยากนิมนต์ท่านจากเพชรบุรีไปไว้ในกรุงเทพฯ ตอนอยู่เมืองเพชร เม็ดพระศกสัญลักษณ์ศิลปะสมัยทวาราวดี ก็สวยงามดีอยู่

แต่มาอยู่กรุงเทพฯ ก็มีช่างฝีมือทักว่า เม็ดพระศกท่านใหญ่ไป...ไม่งาม

จัดการเลาะเม็ดพระศกเก่าออก แล้วเติมเม็ดพระศกใหม่ ขนาดเล็กกว่าแทน

ใคร อยากดูว่า เม็ดพระศกหลวงพ่อโตองค์นี้ ใหญ่เล็ก งามไม่งามยังไง...ก็ไปขอพระท่านดูได้ ในโบสถ์วัดบวรนิเวศ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่อยู่หลังพระชินสีห์...องค์นั้นแหละ

การ เลาะเม็ดพระศกหลวงพ่อโตครั้งกระนั้น จะพบแร่กายสิทธิ์หรือไม่? พบแล้วเอาไปขีดโลหะอื่นเป็นทองไปแล้วหรือเปล่า? เป็นเรื่องที่สืบหาไม่ได้

อาจารย์ล้อมท่านแค่ตั้งข้อสังเกต นี่คือตัวอย่างให้ประจักษ์ว่า

ความละโมบของคนนั้น...สามารถทำได้ทุกอย่าง

อาจ เป็นเพราะข่าวการเลาะเม็ดพระศกเศียรพระ แต่ครั้งกระนั้นแพร่หลาย ชื่อและความเชื่อแร่กายสิทธิ์สุวรรณขีด ก็เริ่มสร่างซาและหายไป จนวันนี้ ไม่มีปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฯ

อ้างอิง(ลอก)ข้อมูลจาก บ้านธรรมะรักโข และ นสพ.ไทยรัฐปีที่ 58 ฉบับที่ 18168 ประจำวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

...รักสูญสิ้นภิณฑ์พรากจากเหน่งบา.....
เจ เหน่งบา
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 2452
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 520
สมาชิก ID: 1250


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 18 : Exp 48%
HP: 0%

รักหญิงหนึ่ง ตรึงใจ ไม่ประมาณ


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2014, 05:44:31 pm »


ภาพหลวงพ่อเพชร(หลวงพ่อโต หรือพระสุวรรณเขต)
คือองค์ที่อยู่ข้างหลังพระพุทธชินสีห์ องค์จริงใหญ่โตอลังการมากครับ

สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

บันทึกการเข้า

...รักสูญสิ้นภิณฑ์พรากจากเหน่งบา.....
เจ เหน่งบา
สายสัมพันธ์
*

คำขอบคุณ: 2452
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 520
สมาชิก ID: 1250


Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 18 : Exp 48%
HP: 0%

รักหญิงหนึ่ง ตรึงใจ ไม่ประมาณ


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 08:01:37 am »

อันนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับวัดบวรฯ และพระสุวรรณเขต ซึ่งเป็นข้อมูล"เบื้องหน้า" อันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ไม่ใช่ข้อมูล"เบื้องหลัง"อย่างที่ผมเอามาเป็นหัวข้อกระทู้

งานนี้ตัดแปะเต็มๆจากกระทู้ของคุณตั้งฉ่าย เว็บบ้านใบไม้ครับ ขออโหสิ...เอ๊ย...ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย 


วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

     วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ) ได้มีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง

     ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร

     ระหว่างผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูป วันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธนาราวันตบพิตร




พระประธานในพระอุโบสถ

พระสุวรรณเขต

พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา  หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์

พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า "พระโตองค์นี้ ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชร" ชื่อท่านมีอยู่แล้วว่า "พระสุวรรณเขต" ไม่เรียก เมื่อเชิญมา รื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม อัญเชิญลงแพ มาคุมเข้าเป็นองค์เดิมอีก ลักษณะที่คุมเข้าใหม่เป็นฝีมือของช่างกรุงเทพฯ โดยมาก แต่ยังพอสังเกตได้ว่าเดิมเป็นลักษณะพระขอม พระศกของพระพุทธรูปนี้ เดิมโตอย่างของพระพุทธชินสีห์ พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรมพระราชวังบวรฯ เลาะออกเสีย ทำพระศกของพระโตนี้ใหม่ด้วยดินเผาให้เล็ก ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง พระองค์ใหญ่ มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง หน้าตักสองศอกถ้วนเป็นพระปั้น

พระพุทธชินสีห์

ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต  เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔

ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช  ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๐ แล้วได้ติดทองกะไหล่พระรัศมี  ฝังพระเนตร และฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป  ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว  ในพุทธศักราช ๒๓๙๔   โปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม  ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศ พุทธศักราช ๒๓๘๙  โปรดเกล้าฯให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่มีการสมโภช  พุทธศักราช ๒๔๐๙  ทรงสมโภชอีครั้งและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย

พระพุทธชินสีห์นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคมานมัสการและถวายต้นไม้เงินและต้นไม้ทองเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแต่ครั้งสุโขทัย นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากที่สุดพระองค์หนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาจากพระวิหารทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ในมุขหลังของพระอุโบสถ ซึ่งก่อขึ้นใหม่ อัญเชิญลงแพมาทั้งพระองค์ เมื่อฤดูน้ำ พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ได้ยินกันมาโดยมากว่ามุขหลังคามีมาแต่เดิม จึงรวมเป็น ๔ มุข ตามรูบเมรุของเจ้าจอมมารดา ของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงรจนาตำนานวัด ทรงสันนิษฐานว่า มุขหลังก่อทีหลัง ในเมื่อปรารภว่าจะเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมา เดิมคงมีแต่หลังหน้าซึ่งเป็นพระอุโบสถ หลังขวางซึ่งเป็นพระวิหาร แต่สร้างติดกันจึงดูเป็น ๓ มุข

พระพุทธชินสีห์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน สร้างขึ้นพร้อมกับพระชินราชและพระศาสดาเมื่อก่อน พ.ศ. ๑๕๐๐ มีเรื่องโดยย่อว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสนยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัชนาลัย (อยู่ในเมืองสวรรคโลกสมัยนั้น) แล้วสร้างเมืองพิษณุโลก พร้อมกับพระพุทธรูป ๓ พระองค์ โดยให้พวกช่างที่มีฝีมือในเมืองต่างๆมาประชุม ช่วยกันปั้นหุ่นเพื่อจะให้ได้งดงามผิดกับพระพุทธรูปสามัญแต่ท่านสันนิษฐานว่า พระเจ้าพระศรีมหาธรรมไตรปิฎกผู้สร้าง คือพระมหาะรรมราชาที่๑ รัชการที่๕แห่งราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรียกโดยพระนามว่า พระเจ้าลือไทหรือลิไท ข้อที่ทำให้สันนิษฐานเช่นนั้นมีหลายประการ คือสอบสวนไม่ได้ความจริงว่า มีเจ้านครเชียงแสนองค์ใด มีความรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก จนควรแก่พระนามนั้น และได้แผ่อำนาจลงมาทางใต้ในสมัยที่อ้างนั้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ปรากฏว่าทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ทรงแต่งหนังสือเรื่องตรภูมิ ซึ่งในทุกวันนี้เรียกันว่าไตรภูมิพระร่วง พระเกียรติยศที่ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก คงเลื่องลือแพร่หลาย จึงเรียกพระนามเฉลิมพระเกีรยติว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก และเมื่อก่อนแต่ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระเจ้าเลอไทพระราชบิดาสวรรคต เกิดจราจลขึ้นในพระนครสุโขทัย ต้องยกทัพลงมาปราบปรามจนราบคาบแล้วจึงได้เสวยราชย์ เรื่องนี้ตรงกับเค้าเรื่องพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัยในพงศาวดารเหนือ อีกประการหนึ่ง ลักษณะพระชินราช พระชินสีห์ ก็ด่างจากพระพุทธรูปอื่น ในบางอย่างเช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว พระบาททั้ง ๔ นิ้วยาวเสมอกัน ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลัง ได้ถือเป็นแบบสืบมาทุกวันนี้ พระพุทธรูปที่สร้างในเมืองเมืองไทยแต่ก่อนนั้น ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้ ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกันเหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทยหรือลือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม ได้เสด็จฯไปถวายนมัสกาหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี กล่าวเฉพาะพระพุทธชินสีห์เมื่อเมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อทรงเสด็จมาผนวชอยู่ครองวัดนี้ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อัญเชิญย้ายจากมุขหลังออกสถิตหน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ ปิดทองก้าไหล่พระรัศมีฝั่งพระเนตรใหม่ และติดพระอุนาโลม ส่วนมุขหลังอัญเชิญพระไสยาสน์เข้าไว้แทน ต่อมาได้รื้อมุขหลัง น่าจะเพื่อขยายทักษิณพระเจดีย์ออกมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพระไสยาสน์น่าจะคงยังอยู่หลังพระอุโบสถ ณ ที่ติดพระบาทจำลองในบัดนี้ ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารพระศาสดาเมื่อทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ตรัสให้แผ่ทองคำทำพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิมอีกชั้นหนึ่ง ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้นถวายผ้าทรงสพักตาด ต้นไม้ทองเงิน เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดหล่อ ด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองใหม่ มีการสมโภช เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ ทรงสมโภชอีกและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย ( แหวนที่นิ้วหัวแม่มือซ้าย) เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในรัชการที่ ๕ก็ได้ทรงปิดทองและโปรดให้มีการสมโภช พร้อมด้วยการฉลองพระอารามที่ทรงปฎิสังขรณ์ใหม่ และทรงสร้างเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระพุทธชินสีห์ มีพระอัครสาวกยืนคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างภายหลัง
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่

ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ?
1 login ... เข้าเวป
2 หาเพลงโหลด
3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4
4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2014, 08:15:46 am โดย เจ เหน่งบา » บันทึกการเข้า

...รักสูญสิ้นภิณฑ์พรากจากเหน่งบา.....
หน้า: [1]
 
 
กระโดดไป:  






Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!