ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ธันวาคม 22, 2024, 09:44:32 pm
หน้าแรก
•
ช่วยเหลือ
•
ค้นหา
•
เข้าสู่ระบบ
•
สมัครสมาชิก
สถานีวิทยุออนไลน์
สายสัมพันธ์
ท่านสามารถขอเพลงฟังได้
ที่กล่องขอเพลงด้านซ้ายมือ
แต่อาจไม่ได้รับฟังทุกเพลง
เนื่องจากจะรองรับเพลงตามขอ
ของสมาชิกภายในก่อน
สายสัมพันธ์
>
บันทึกประวัติศาสตร์
>
ประวัติของนักแต่งเพลง และ นักปั้นมือทอง
(ผู้ดูแล:
กระต่าย
) >
ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติผู้ร่วมแต่งเพลง ภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ผู้เขียน
หัวข้อ: ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติผู้ร่วมแต่งเพลง ภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา (อ่าน 7825 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
midroad
บุคคลทั่วไป
ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติผู้ร่วมแต่งเพลง ภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา
«
เมื่อ:
ตุลาคม 30, 2009, 03:46:05 pm »
บุรุษผู้มีผลงานยิ่งใหญ่กว่ารูปร่างคนนี้ คือ ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติหนึ่งในศิลปินผู้ร่วมแต่งเพลง ภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา
รางวัลต่าง ๆ ที่เขาเคยได้รับ ล้วนเป็นผลมาจากภูมิความรู้ทางดนตรีเดิมที่ได้รับจากการเรียนรู้ผ่านตัวบุคคล แต่จากการแสวงหา และการค้นคว้าด้วยตัวเอง ทำให้เขาก้าวไปสู่จุดสำเร็จในชีวิตและดนตรีได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพากระดาษคุณวุฒิใด ๆ ในสถาบันการศึกษาไทยมาการันตีความรู้และฝีมือ
ยอดผลงานเด่น
จากหนังสือศิลปินแห่งชาติ 2532 กาสัก เต๊ะขันหมาก บันทึกประวัติชีวิตและผลงาน นายประสิทธิ์ พยอมยงค์ ไว้ว่า หลากหลายเพลงที่เขาแต่งทำนอง และได้รับความนิยม อาทิ เพลงฆ่าฉันให้ตายดีกว่า ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธ์ เพลงบ้านเรา ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์คำแหง นอกจากนี้ ยังมีเพลงคนเดียวในดวงใจ เดือนเอ๋ย หนี้รัก และเพลงข้าวนอกนา
...ผลงานเพลงส่วนใหญ่ อาจารย์ประสิทธิ์ อุทิศให้กับสังคมการศึกษาดนตรี ตลอดจนการกุศลต่าง ๆ เป็นทั้งผลงานแต่งเพลง ผลงานด้านเรียบเรียงเสียงประสานนับเป็นจำนวนหลายพันเพลง รวมทั้งการอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ มาทำการแยกและเรียบเรียงเสียงกับนักแต่งคำร้องชื่อดัง เช่น ชาลี อินทรีวิจิตร, อุทิตย์ ทินกร ณ อยุธยา, สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ และ สุรพล โทณวนิก เป็นต้น...
นั้นคือผลสำเร็จของชีวิตของผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางดนตรี และเสียงเพลงมาตั้งแต่วัยเด็ก ที่กาลเวลา และประสบการณ์ทางอ้อมขัดเกลาภูมิปัญญา จนแน่นแฟ้นก่อนจะเข้าสู่การปรับปรุงวิธีคิด ในขั้นการศึกษาตรง
เข็มชีวิตที่พลิกผัน
เด็กชายประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พุทธศักราช 2469 ที่กรุงเทพมหานครในครอบครัวคาทอลิกของคุณพ่อสุธรรม-แม่นิล เขาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เข้าเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมืองรุ่น 5 ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เรียนได้เพียง 2 ปี ต้องหยุดการศึกษาในสถาบันการศึกษาไว้เท่านั้นเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
วัยเด็กในบ้านเขามีน้าชาย ชัยวัฒน์ เลาหบุตร อยู่ด้วยพร้อมกับเปิดสอนเปียโนในบ้าน ทำให้เขาสนใจในการเล่นเปียโน แต่การเรียนเปียโนคลาสสิกกับน้าชาย ไม่บรรลุผลเพราะพรสวรรค์ด้านกายภาพ รูปร่างและนิ้วมือของเขาสั้น จึงหันไปเอาดีทางพรแสวงกับการฝึกเปียโนแนวป๊อปปูลาร์
เมื่ออายุ 15 ปี เขาเริ่มออกเล่นดนตรีเป็นบางครั้งระหว่างเรียน หน้าที่แต่งเพลงไทยสากล และเรียบเรียงเสียงประสาน จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาจำเป็นต้องหยุดการศึกษาในสถาบันไว้เพียงเท่านั้น
ทิ้งอนาคตนักบัญชี นำภูมิความรู้และประสบการณ์ดนตรี ก้าวสู่อาชีพตามเส้นทางสายนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภูมิเพียรไม่สิ้น
ทักษะการแยกและเรียบเรียงเสียงประสานให้วงดนตรีไม่ใช่เรื่องที่ใครก็ทำได้ เพราะตำราหายาก หลังจากหันมาฝึกฝนเปียโนแนวป๊อปปูลาร์แล้ว เขายังฝึกฝนการเล่นกีตาร์ โดยเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงสอนการจับคอร์ดให้ และตั้งเป็นวงเล็ก ๆ เล่นกัน
ผลการฝึกคอร์ดกีตาร์ผสานกับดนตรีในแต่ละชิ้นในวงเล่นกันคนละเสียง จะออกมาเป็นเสียงคอร์ด และหากนำมาใช้กับมือซ้ายกับเปียโนจะได้เสียงประสานที่สอดคล้องกับทำนองอย่างน่าฟัง
เพื่อความกระจ่างใจเขานำผลงานเพลงของ ครูนารถ ถาวรบุตร นักเรียบเรียงเสียงประสานระดับแนวหน้ายุคนั้นมาศึกษาโดยละเอียดจนเขาถือว่าครูนารถ ถาวรบุตร เป็นครูสอนการเรียบเรียงเสียงประสาน แก่เขาทางอ้อม นอกจากนั้นเขาได้นำผลงานของครูกิติ ตีตากร (ชาวฟิลิปปินส์) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในนักเรียบเรียงเสียงประสานชั้นแนวหน้าเช่นกันมาศึกษา
เขาทดลองนำผลงาน Orchestra Sheet ของต่างประเทศ มาย่อยลงเป็น Music Score จนฝีมือของเขาพัฒนาขึ้นถึงระดับกลายเป็นมืออาชีพด้านการเรียบเรียงเสียงประสานอีกคนหนึ่งของเมืองไทย แต่การศึกษายังไม่สิ้น ประมาณปี 2517 ที่ครูแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ กลับมาจากเบิร์กเลย์ คอลเลจ และเปิดสอนด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ที่โรงเรียนสยามกลการ เขาเป็นศิษย์รุ่นแรก
ชีวิตในบรรทัดห้าเส้น
เมื่อปี 2490 เขาพาความหนุ่มฉกรรจ์ของวัย 21 ปี รับงานเล่นดนตรียามค่ำคืน บอลรูม ขณะช่วงกลางวัน เขารับงานเล่นเปียโน และผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ให้กับบริษัทแผ่นเสียง อาทิ บ.อัศวินการละครและแผ่นเสียง, บ.ดีคูเปอร์ แอนด์จอห์นสัน และบ.แบล แอนด์ไวท์
ถัดมาอีก 6 ปี ยุค พ.ต.อ.พุฒ บูรณสมภพ (ยศขณะนั้น) เป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ตั้งวงดนตรีวงใหญ่นาม ประสานมิตร ขึ้น มีเครื่องดนตรีรวมถึง 17 ชิ้น โดยมีเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงดนตรีวงนี้ ในฐานะนักเปียโน นักเรียบเรียงเสียงประสาน ร่วมกับนักดนตรีมีชื่อคนอื่น ๆ อาทิ สมาน กาญจนผะลิน, สง่า ทองธัช และ เล็ก ชอุ่มงาม เป็นต้น
ภายหลังเขาเข้ารับราชการอยู่กับวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ นำโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวง ได้ 3 ปี ก็ลาออกไปรับราชการกับเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร เล่นดนตรีกับวงดนตรีเทศบาลแห่งนี้นานถึง 10 ปี ก่อนจะออกไปเป็นอาจารย์สอนการเรียบเรียงเสียงประสานให้กับโรงเรียนสยามกลการ ในปี 2531 ก่อนจะหยุดสอนเมื่ออายุมากขึ้น
แน่นอนเขาได้รับผลภูมิและประสบการณ์ จากการค้นคว้าการศึกษาด้วยตัวเอง รวมทั้งประสบการณ์ในการร่วมทีมงานกับนักดนตรีอาชีพเหล่านี้ จนสามารถผลักดันออกมาเป็นผลงานนำเสนอต่อสังคม จนได้รับการเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เมื่อปี 2532 ปัจจุบันเขามีความสุขกับการสอน
,
prisana
,
กระต่าย
,
สะบันงา
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
สะบันงา
มีสูง..มีต่ำ..เรื่องธรรมดา..
ปลดออกจากสมาชิก
คำขอบคุณ: 2740
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 884
สมาชิก ID: 1734
Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com
Level 24 : Exp 14%
HP: 0%
บนเวทีละครชีวิต ไม่มีใครได้รับแจกบทการแสดงล่วงหน้า
Re: ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติผู้ร่วมแต่งเพลง ภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา
«
ตอบ #1 เมื่อ:
มีนาคม 14, 2012, 03:14:34 am »
ขออนุญาติเพิ่มเติม
รางวัลและเกียรติคุณ
ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์มีผลงานที่ได้รับยกย่องและเชิดชูเกียรติ ดังนี้
พ.ศ. 2509 รางวัลแผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ครั้งที่ 2 เพลงดาวประดับเมือง
พ.ศ. 2514 รางวัลแผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ครั้งที่ 3 เพลง ลมหวน
พ.ศ. 2516 รางวัล ตุ๊กตาเงิน เพลงประกอบดีเด่น จากภาพยนตร์ เรื่อง ชู้ ของ เปี๊ยก โปสเตอร์
พ.ศ. 2519 รางวัล เสาอากาศทองคำ ครั้งที่ 2 เพลง ข้าวนอกนา
พ.ศ. 2532 ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล - เรียบเรียงเสียงประสาน)
ถึงแก่กรรม
ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ได้ล้มป่วยเป็นอัลไซเมอร์ และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มาเป็นเวลานาน จนกระทั่ง
ถึงแก่กรรมด้วยอาการระบบทางเดินหายใจและระบบเลือดล้มเหลว เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553
เวลา 18.00 น. ณ สถานพยาบาลศุขเวช เนอร์สซิ่งโฮม รามคำแหง 21 สิริรวมอายุได้ 84 ปี
กระต่าย
สมาชิกใหม่ทุกท่าน >>> กดที่นี่
ท่านเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? 1 login ... เข้าเวป 2 หาเพลงโหลด 3 มีให้โหลด ตอบเพื่อโหลด ไม่มีให้โหลด ไปข้อ4 4 logout ... ไปดีกว่า
อา-ราย-หว่า ???
บันทึกการเข้า
.. ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย ....
"ใจ"
ในร่างกายกลับไม่เจอ ..
ทุกข์ที่เกิดซ้ำเพราะใจนำพร่ำเพ้อ .. หา
"หัวใจ"
ให้เจอก็เป็นสุข
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ห้องฟังเพลง
-----------------------------
=> ห้องฟังเพลง
===> ฟังเพลงจากแผ่นครั่ง
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง)
===> ฟังเพลงเก่า(ลูกทุ่ง+ลูกกรุง)
===> ฟังเพลงลูกทุ่งลูกกรุงใหม่ๆ หรือเก่าดนตรีใหม่
===> ฟังเพลงนานาชาติ (เก่ามาก - ปี 1960)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1961-1990)
===> ฟังเพลงนานาชาติ (ปี 1991-ปัจจุบัน)
===> ฟังเพลงบรรเลง
===> ฟังเพลงเพื่อชีวิต
===> ฟังเพลงไทยสากล(สตริง)
===> ฟังเพลงพื้นบ้าน
===> MV
===> ฟังเพลงจากสมาชิกขับร้อง
=====> preem
=====> หมื่นกระบี่ไร้พ่าย
=====> lakkana
=====> J.R.
=====> ดาวิกา
=====> nirutboon
=====> เมธา
=====> ป๋องศักดิ์
=====> petcharat
=====> sonka
=====> ป้าเขียว
-----------------------------
ห้องทั่วไป
-----------------------------
=> แวดวงบันเทิง
=> เรื่อง/ภาพ ทั่วไป
=> เรื่องเล่า/ภาพ ขำขำ
=> เรื่องเล่าอื่นๆ
=> เรื่องของศิลปะ/ภาพจิตรกรรม/ประติมากรรม
-----------------------------
ห้องธรรมะ
-----------------------------
=> ธรรมะและพระสูตร
=> นิทานบันเทิงธรรม
-----------------------------
Health Advice (สุขภาพ)
-----------------------------
=> พลานามัย
=> รักษาตัวให้ห่างจากโรคร้าย
=> โภชนาการ
-----------------------------
บันทึกประวัติศาสตร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ เรื่องชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง
===> ชื่อเพลง+ชื่อนักร้อง ได้รับคำตอบแล้ว
=> เรื่องของบทเพลง (ไทย)
=> เรื่องของบทเพลง (เพลงไทยเดิม)
=> เรื่องของบทเพลง (สากล)
=> ผลงานเพลงของนักร้องแต่ละท่าน
=> ประวัติของนักร้องลูกทุ่ง-ลูกกรุง
=> ประวัติของนักร้อง ศิลปินสากล
=> ประวัติของนักแต่งเพลง และ นักปั้นมือทอง
=> รูปภาพนักร้อง+นักแต่งเพลง+นักแสดง
=> ภาพปกแผ่นเสียง
-----------------------------
คอมพิวเตอร์
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ ปัญหาคอม
=> เทคนิคและเครื่องเสียง
-----------------------------
เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
-----------------------------
=> เว็บไซด์เพื่อนบ้าน
Your browser does not support iframes.
Saisampan.net
สายสัมพันธ์ - เพลงลูกทุ่งเก่า (เก่ากว่าที่ท่านคิด)
กำลังโหลด...