จังหวะหน้าทับของเพลงประโยคสั้น เพลงประโยคสั้นเป็นเพลงที่
มีทำนอง ๔ ห้องเพลงต่อ ๑ ประโยคสำหรับอัตราจังหวะสองชั้น ขอยกตัวอย่างเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น ตามทำนองที่ตัดมาเพียง ๘ ห้องเพลงซึ่งแสดงด้วยโน้ตข้างล่าง ทำนองจากห้องที่ ๑ ถึงห้องที่ ๔ (---โด ---เร ---มี ---ซอล) เป็นทำนองประโยคแรกของเพลง ทำนองจากห้องที่ ๕ ถึงห้องที่ ๘ (---- ซอลมีเรโด –เรโดลา –โด-เร) เป็นทำนองประโยคที่ ๒ ของเพลง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอีก ขอถอดทำนองมาเป็นเพลงเนื้อเต็ม โดยเพลงไทยสากลที่ดัดแปลงทำนองทยอยญวนที่ดังที่สุดคือเพลง
เรียกพี่ได้ไหม เนื้อร้อง “---เรียก ---พี่ ---ได้ ---ไหม” คือประโยคแรกของเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น ส่วนเนื้อร้อง “---- แล้วพี่จะให้ –กินขนม –หมื่น-ห้า” เป็นประโยคที่ ๒ ของเพลง เพลงประโยคสั้นแบบทยอยญวนจะมีหน้าทับ
“--โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ติง –โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ทั่ง(ติง)” แบบนี้ไปจนจบเพลงครับ (เสียงติงที่อยู่ในวงเล็บนั้นตีเพิ่มเข้ามาเรียกว่าจังหวะยกครับ จะไม่ตีก็ได้) จังหวะหน้าทับแบบนี้เรียกว่า
“หน้าทับสองไม้” หรือ “หน้าทับสองไม้ไทย” ครับ
ห้อง ๑ ห้อง ๒ ห้อง ๓ ห้อง ๔ ห้อง ๕ ห้อง ๖ ห้อง ๗ ห้อง ๘---โด ---เร ---มี ---ซอล ---- ซอลมีเรโด -เรโดลา -โด-เร---เรียก ---พี่ ---ได้ ---ไหม ---- แล้วพี่จะให้ -กินขนม -หมื่น-ห้า--โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ติง –โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ทั่ง(ติง) -โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ติง –โจ๊ะจ๊ะ –ติง-ทั่ง(ติง)ทดลองฟังเพลงทยอยญวน ๒ ชั้น เพื่อจับจังหวะหน้าทับสองไม้ไทย
แสดงความคิดเห็นหน่อยค่ะ